การจำแนกครัวเรือนเกษตรกรที่มีระบบการทำฟาร์มแบบปลูกข้าวเป็นพืชหลักในจังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

สุชนีย์ ทรัพย์สมบูรณ์
เบญจพรรณ เอกะสิงห์
ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์
จิรวรรณ กิจชัยเจริญ
พนมศักดิ์ พรหมบุรมย์

บทคัดย่อ

การจัดการระบบฟาร์มให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลขึ้นอยู่กับกิจกรรมการส่งเสริมเกษตรในกลุ่มเกษตรกรที่มีความคล้ายกันในด้านทรัพยากรและคุณลักษณะของเกษตรกรในด้านต่าง ๆ การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกกลุ่มของเกษตรกรตามลักษณะขององค์ประกอบของตัวแปรที่สำคัญทางด้านกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจและสังคม โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor analysis) จำแนกกลุ่มตัวแปรที่มีความสำคัญก่อนทำการจำแนกกลุ่มเกษตรกรด้วยการวิเคราะห์จัดกลุ่ม (cluster analysis) กลุ่มตัวอย่างเป็นครัวเรือนเกษตรกรในจังหวัดกำแพงเพชรที่มีการปลูกข้าวเป็นหลัก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มของตัวแปรที่มีอิทธิพล มี 10 กลุ่มตัวแปรที่สำคัญ ซึ่งได้มาจากตัวแปรเริ่มต้น 49 ตัวแปร กลุ่มของตัวแปรที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ รายได้จากการทำฟาร์ม  และนำมาจัดกลุ่มเกษตรกร ตามที่ดินและทรัพย์สินอื่น ได้ 6 กลุ่ม เรียงลำดับจากกลุ่มที่มีที่ดินและทรัพย์สินอื่นมากไปกลุ่มที่มีที่ดินและทรัพย์สินอื่นน้อยมาก ผลของการจัดกลุ่มทำให้สามารถระบุกลุ่มของครัวเรือนเกษตรกรที่ควรได้รับการพัฒนา และสามารถใช้ตัวอย่างของครัวเรือนที่ดีเด่นในกลุ่มเป็นตัวอย่างให้แก่ครัวเรือนเกษตรกรอื่นในการพัฒนาการผลิตและสร้างรายได้ให้สูงขึ้นได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. 2551. การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. ธรรมสาร, กรุงเทพฯ. 520 หน้า.

พหล ศักดิ์คะทัศน์ และ สุรชัย กังวล. 2559. การใช้วิธีวิเคราะห์การจัดกลุ่มหมู่บ้าน เพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 32(2): 201-207.

สมโภชน์ ศรีสมุทร. 2553. การจำแนกกลุ่มตัวแปรด้วยเทคนิค Cluster Analysis. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.saruthipong.com/ port/document/299-705/299-705-10.pdf (11 พฤศจิกายน 2555).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2558. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: hhttp://www.nesdb.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=6363 (20 ตุลาคม 2560).

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2547. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความยากจนของครัวเรือนเกษตร. สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 15 หน้า.

Ansoms, A. and A. McKay. 2010. A quantitative analysis of poverty and livelihood profiles: The case of rural Rwanda. Food Policy 35(6): 584-598.

Babu, S.C., S.N. Gajanan and P. Sanyal. 2014. Food Security Poverty and Nutrition Policy Analysis: Statistical Methods and Applications. 2nd ed. Academic Press, Amsterdam. 615 p.

Hair, J.F.Jr., W.C. Black, B.J. Babin and R.E. Anderson. 2010. Multivariate Data Analysis. 7th ed. Pearson Education Limited, Harlow. 816 p.

Kaufman, L. and P.J. Rousseeuw. 2005. Finding Groups in Data. An Introduction to Cluster Analysis. John Wiley & Sons, Hoboken. 342 p.

Kline, J. and D. Wichelns. 1996. Public preferences regarding the goals of farmland preservation programs. Land Economics 72(4): 538-549.

Mooi, E. and M. Sarstedt. 2011. A Concise Guide to Market Research. Springer-Verlag, Berlin.

Nie, F.Y., J.Y. Bi and X.B. Zhang. 2010. Study on China’s food security status. Agriculture and Agricultural Science Procedia 1: 301-310.

Petrovici, D.A. and M. Gorton. 2005. An evaluation of the importance of subsistence food production for assessments of poverty and policy targeting: evidence from Romania. Food Policy 30(2): 205-223.

Winters, P., B. Davis and L. Corral. 2002. Assets, activities and income generation in rural Mexico: factoring in social and public capital. Agricultural Economics 27(2): 139-156.

Zorom, M., B. Barbier, O. Mertz and E. Servat. 2013. Diversification and adaptation strategies to climate variability: A farm typology for the Sahel. Agricultural Systems 116: 7-15.