การเปรียบเทียบพันธุ์มันสำปะหลังต่อการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอยรากปม (<I>Meloidogyne incognita</I> (Kofoid and White) Chitwood) และประสิทธิภาพของราปฏิปักษ์รูปการค้าในการควบคุม

Main Article Content

ภูมิ ต๊ะอุ่น
วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์
ศิวิลัย สิริมังครารัตน์
ดวงรัตน์ ธงภักดิ์

บทคัดย่อ

การทดสอบพันธุ์มันสำปะหลังที่นิยมปลูกจำนวน 10 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ระยอง 5, 7, 9, 11, 13, 72 และ 90, เกษตรศาสตร์ 50 ห้วยบง 60 และ 80 ต่อการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne inognita (RKN) ในสภาพเรือนทดลอง โดยปลูกมันสำปะหลังในกระถาง (Ø 15 เซนติเมตร) เมื่อมันสำปะหลังอายุ 21 วัน จึงราดไข่ไส้เดือนฝอย (3,000 ไข่/ต้น/กระถาง) หลังจากนั้น 45 วัน จึงประเมินค่าตัวชี้วัดปริมาณไส้เดือนฝอย (จำนวนปมต่อระบบราก, จำนวนไข่ต่อราก 1 กรัม และจำนวนตัวเต็มวัยเพศเมียต่อราก 1 กรัม) รวมทั้งตัวชี้วัดการเจริญเติบโตของพืช (ความสูงของต้น, น้ำหนักต้นและรากสด และน้ำหนักรากสด) ผลการทดสอบ พบว่าพันธุ์ระยอง 9 อ่อนแอต่อ RKN มากที่สุด ส่วนในการทดสอบประสิทธิภาพของราปฏิปักษ์รูปการค้า 4 ชนิด ได้แก่ Beauveria bassiana, Paecilomyces lilacinus, Metarhizium anisopliae และ Trichoderma harzianum เพื่อควบคุม RKN ของมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 ซึ่งปลูก 1 ต้นต่อกระถาง เปรียบเทียบกับการใช้สารเคมีกำจัดไส้เดือนฝอย carbosulfan, กรรมวิธีควบคุม 1 (ต้นมันสำปะหลังที่มีการราดไข่ไส้เดือนฝอยเพียงอย่างเดียว) และกรรมวิธีควบคุม 2 (ต้นมันสำปะหลังที่ไม่มีการใช้ทั้งเชื้อราปฏิปักษ์และสารเคมี carbosulfan รวมทั้งไม่มีการราดไข่ไส้เดือนฝอย) โดยใช้ราปฏิปักษ์รูปการค้าทั้ง 4 ชนิด ตามอัตราแนะนำในฉลาก ให้กับต้นมันสำปะหลังที่ 7, 5, 3 และ 0 วันก่อนการราดไข่ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มี 19 กรรมวิธี 4 ซ้ำ หลังจากนั้น 45 วัน จึงประเมินค่าตัวชี้วัดปริมาณไส้เดือนฝอยและตัวชี้วัดการเจริญเติบโตของพืช ผลการทดลอง (16 มีนาคม -
1 พฤษภาคม 2561) พบว่า ราปฏิปักษ์รูปการค้าทั้ง 4 ชนิดและสารเคมี carbosulfan มีค่าจำนวนกลุ่มไข่ต่อระบบรากอยู่ระหว่าง 60.35 - 276.80 กลุ่มไข่ สามารถลดการเกิดปมลงได้ 60.28 - 91.34%  ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่ากรรมวิธีควบคุม 1 อย่างชัดเจน (696.96 กลุ่มไข่) (P<0.05) ในการควบคุม RKN ทั้งการใช้ที่ 7, 5, 3 และ 0 วัน ก่อนการราดไข่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้รา T. harzianum 7 วัน ก่อนการราดไข่ มีค่าตัวชี้วัดปริมาณ RKN ทุกค่าน้อยกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ ทั้งหมดที่มีการทดสอบด้วยไข่ RKN และสามารถลดการเกิดปมลงได้มากที่สุด 91.34%

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Begum, K., N. Hasan, S. Khandker, F.M. Aminuzzaman, M. Asaduzzaman and N. Akhtar. 2014. Evaluation of brinjaI cultivars (Solanum melongena) against root-knot nematode Meloidogyne spp. Applied Science Reports 7(3): 129-134.

Byrd, D.W., T. Kirkpatrick and K.R. Barker. 1983. An improved technique for clearing and staining plant tissue for detection of nematodes. Journal of Nematology 15(1): 142-143.

Chupraphawan, Y., W. Saksirirat, A. Hiransalee and N. Sanaomuang. 2007. Evaluation of soil fungi for suppressing root-knot nematode Meloidogyne incognita of chilli in microplot trials. Khon Kaen Agriculture Journal 35(2): 189-195. (in Thai)

Coyne, D.L. 1994. Nematode pests of cassava. African Crop Science Journal 2(4): 355-359.

Ekanayake, H.M.R.K. and N.J. Jayasundara. 1994. Effect of Paecilomyces lilacinus and Beauveria bassiana in controlling Meloidogyne incognita on tomato in Sri Lanka. Nematologia Mediterranea 22: 87-88.

Greenfield, M., M.I. Gomez-Jimenez, V. Ortiz, F.E. Vega, M. Kramer and S. Parsa. 2016. Beauveria bassiana and Metarhizium anisopliae endophytically colonize cassava roots following soil drench inoculation. Biological Control 95: 40-48.

Kagoda, F., D. Coyne, C. Kajumba and J. Dusabe. 2004. Early screening of cassava for resistance to root knot nematodes. Uganda Journal of Agricultural Sciences 9: 574-577.

Lertsuchatavanich, U. 2015. Efficiency of chemical and bioproduct on controlling root-knot nematode of cassava. pp. 1-7. In: Proceedings of the 53rd Conference of Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Maneechote, C., S. Sahaya, P. Ekkathin and Y. Anantanamanee (eds.). 2016. Handbook of Integrated Pest Management of Cassava. Guarantee Co., Bangkok. 67 p. (in Thai)

Martinez-Medina, A., I. Fernandez, G.B. Lok, M.J. Pozo, C.M.J. Pieterse and S.C.M. Van Wees. 2016. Shifting from priming of salicylic acid- to jasmonic acid-regulated defences by Trichoderma protects tomato against the root knot nematode Meloidogyne incognita. New Phytologist 213(3): 1363-1377.

Office of Expert, Department of Agriculture. 2019. Plant Pest. (Online). Available: http://www.expertdoa.com/km_plant_info.php?ProductID=16 (May 10, 2019). (in Thai)

Sahebani, N. and N. Hadavi. 2008. Biological control of the root knot nematode Meloidogyne javanica by Trichoderma harzianum. Soil Biology and Biochemistry 40(8): 2016-2020.

Saksirirat, W. 2017. Antagonistic Fungi for Biological Control of Plant Diseases. Klung Nana Partnership, Khon Kaen. 212 p. (in Thai)

Sharon, E., M. Bar-Eyal, I. Chet, A. Herrera-Estrella, O. Kleifeld and Y. Spiegel. 2001. Biological control of the root-knot nematode Meloidogyne javanica by Trichoderma harzianum. Phytopathology 91(7): 687-693.

Sonthirat, S., K. Suthisuk, W. Norasing, S. Ratchatha and C. Suwannasarn. 1978. Plant parasitic nematode in the northeast. Research Paper No.3, Agricultural Office of the Northeast, Khon Kaen. 50 p. (in Thai)

Tangchitsomkid, N., P. Mulchanta, U. Lertsuchatwanit and O. Boonseng. 2015. Selection and evaluation of cassava germ plasm resistant to root-knot nematode. Full Report. NSTDA, Bangkok. 69 p. (in Thai)

Tranier, M.-S., J. Pognant-Gros, R.D.C. Quiroz, C.N.A. Gonzalez, T. Mateille and S. Roussos. 2014. Commercial biological control agents targeted against plant-parasitic root-knot nematodes. Brazilian Archives of Biology and Technology 57(6): 831-841.

van Vuuren, R.J. and B. Woodward. 2001. The response of cassava cultivars to root-knot nematode infestation: an in vitro method. Euphytica 120(1): 109-113.