ผลของอัตราและความถี่ในการให้ปุ๋ยทางใบต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้แวนดาพันธุ์แพ็ทดีไลท์

Main Article Content

ทีปกร รื่นเริงใจ
ชัยอาทิตย์ อิ่นคำ
โสระยา ร่วมรังษี

บทคัดย่อ

ในการผลิตกล้วยไม้แวนดา การให้ปุ๋ยเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อคุณภาพของพืช งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการให้ปุ๋ยทางใบต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้แวนดาพันธุ์แพ็ท ดีไลท์ ดำเนินการโดยคัดเลือกต้นแวนดาพันธุ์แพ็ท ดีไลท์ ที่มีอายุ 5 ปี ให้พืชได้รับปุ๋ยเกร็ดละลายน้ำเกรด 21-21-21 ตามปัจจัยดังนี้ ปัจจัยที่ 1 อัตราความเข้มข้นของปุ๋ย 3 ระดับ ได้แก่ 1) ให้ปุ๋ย 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร 2) ให้ปุ๋ย 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร และ 3) ให้ปุ๋ย 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ปัจจัยที่ 2 ความถี่ในการให้ปุ๋ย 2 แบบ ได้แก่ ให้ปุ๋ย 1 ครั้ง ต่อสัปดาห์ และ ให้ปุ๋ย 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ครั้งละ 100 มิลลิลิตรต่อต้น วางแผนการทดลองแบบปัจจัยร่วมในสุ่มสมบูรณ์ จำนวน (3x2)+1 กรรมวิธี (กรรมวิธีควบคุม) จำนวนซ้ำ 10 ซ้ำ บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโตเป็นระยะเวลานาน 12 เดือน ได้แก่ ความสูงของลำต้น (วัดจากโคนต้นถึงปลายยอด) ค่าความเขียวของใบ จำนวนดอกย่อยต่อช่อ เส้นผ่าศูนย์กลางของดอก ความยาวช่อดอก และปริมาณธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในใบ ราก และลำต้น ผลการทดลองพบว่ากรรมวิธีที่ได้รับปุ๋ยอัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร สัปดาห์ละ 1 ครั้ง (กรรมวิธีที่ 2) ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตทางลำต้น คุณภาพดอกดี ไม่แตกต่างจากกรรมวิธีที่ได้รับปุ๋ยมากกว่าในกรรมวิธีที่ 3-6 แต่มีปริมาณธาตุอาหารในรากและลำต้นน้อยกว่า อย่างไรก็ตามปริมาณธาตุอาหารในใบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับกรรมวิธีที่ 6 (ได้รับปุ๋ย 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สัปดาห์ละ 2 ครั้ง)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Charoenkitprasert, N. 2008. Handbooks for Growing Orchids. Kasetsiam Books, Bangkok. 272 p. (in Thai)
Davidescu, D. and V. Davidescu. 1972. Evaluation of Fertility by Plant and Soil Analysis. Abacus Press, London. 560 p.
Department of International Trade Promotion. 2018. World orchid situation. (Online). Available: http;//www.ditp.go.th (June 15, 2018). (in Thai)
Luangchosiri, N. 2004. Effects of media size and fertigation frequency on growth and flower quality of Dendrobium Sonia “Bom Jo”. M.S. Thesis. King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, Bangkok. 46 p. (in Thai)
Mizukoshi, K., T. Nishiwaki, N. Ohtake, R. Minagawa, K. Kobayashi, T. Ikarashi and T.Ohyama. 1994. Determination of tungstate concentration in plant materials by HNO3- HClO4 digestion and colorimetric method using thiocyanate. Bull. Fac. Agric., Niigata Univ. 46: 51-56.
Ohyama, T., M. Ito, K. Kobayashi, S. Araki, S. Yasuyoshi, O. Sasaki, T. Yamazaki, K. Sayoma, R. Tamemura, Y. Izuno and T. Ikarashi. 1991. Analytical procedures of N, P, K content in plant and manure materials using H2SO4 - H2O2 Kjeldahl digestion Method. Bull. Fac. Agric. Niigata Univ. 43: 111-120.
Oilitsaranukul, B. 2004. Study on relationship between leaf greenness, chlorophyll content, leaf nitrogen content and net leaf photosynthetic rate of Dendrobium Sonia ‘Bom Jo’. B.S. Special Problem, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)
Panjama, K., C. Inkham and S. Ruamrungsri. 2017. Effects of nitrogen levels on growth and nutrition content of Vanda hybrid. Journal of Agriculture 34(1): 1-10. (in Thai)
Potapohn, N. 2005. Orchidology 1. Handout. Department of Horticulture, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University, Chiang Mai. 215 p. (in Thai)
Pridgeon, A. 1992. The Illustrated Encyclopedia of Orchids. Timber Press, Inc., Portland, Oregon. 304 p.
Ruamrungsri, S., W. Khongkhaw, A. Payakaihapon and R. Kijkar. 2008. Effect of nitrogen, phosphorus and potassium on growth and development of Curcuma petiolata Roxb. Journal of Agriculture 24(3): 179-186. (in Thai)
Sitthisatchatham, S. 2006. Wild Orchid of Thailand. Home and Garden, Bangkok. 491 p. (in Thai)