ผลของการขาดธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตและความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบพริกหวาน

Main Article Content

วันเพ็ญ โลหะเจริญ
ศีลวัต พัฒโนดม
ปราณี เกียรติประทับใจ
วีรดา ธงงาม
อิทธิสุนทร นันทกิจ
โสระยา ร่วมรังษี
จุฑามาส คุ้มชัย

บทคัดย่อ

ศึกษาผลกระทบของการขาดธาตุ N P K Ca และ Mg ต่อการเจริญเติบโตและปริมาณธาตุอาหารสะสมในใบพริกหวาน โดยปลูกพริกหวานภายใต้โรงเรือนและใช้เปลือกมะพร้าวสับเป็นวัสดุปลูก ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม 2552 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก (Randomized Complete Block Design; RCBD) จำนวน 6 กรรมวิธี 5 ซ้ำ 9 ต้นต่อซ้ำ กรรมวิธีที่ 1 กรรมวิธีควบคุม ให้พืชได้รับสารละลายธาตุอาหารตามสูตรของ Hoagland and Arnon (Jones, 1997) กรรมวิธีที่ 2 สารละลายขาดธาตุไนโตรเจน (-N) กรรมวิธีที่ 3 สารละลายขาดธาตุโพแทสเซียม (-K) กรรมวิธีที่ 4 สารละลายขาดธาตุแคลเซียม (-Ca) และกรรมวิธีที่ 5 สารละลายขาดธาตุแมกนีเซียม (-Mg) ผลการทดลองพบว่าหลังจากย้ายปลูก 42 วัน ใบเริ่มแสดงอาการเหลือง โดยเฉพาะในกรรมวิธีที่ขาดไนโตรเจนมีค่าความเข้มของสีใบที่บริเวณปลายยอดและความสูงต้นน้อยกว่ากรรมวิธีควบคุม อย่างไรก็ตามพื้นที่ใบในทุกกรรมวิธีไม่แตกต่างกันทางสถิติ น้ำหนักแห้งของใบในกรรมวิธีที่ขาดไนโตรเจนและโพแทสเซียมน้อยกว่ากรรมวิธีอื่นอย่างมีนัยสำคัญ การขาดโพแทสเซียมทำให้พืชมีน้ำหนักแห้งรวมน้อยที่สุดเฉลี่ย 203.2 กรัม การขาดไนโตรเจน โพแทสเซียม และแคลเซียมทำให้ได้ผลผลิตน้อยกว่ากรรมวิธีควบคุม  กรรมวิธีที่ขาดธาตุอาหารมีผลต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม  โดยพบว่าความเข้มข้นของไนโตรเจนในใบลดลงในกรรมวิธีที่ขาดธาตุไนโตรเจนและเพิ่มขึ้นในกรรมวิธีที่ขาดธาตุฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม  ความเข้มข้นของโพแทสเซียมในกรรมวิธีที่ขาดโพแทสเซียมและขาดไนโตรเจนน้อยกว่ากรรมวิธีอื่น ความเข้มข้นของแคลเซียมในกรรมวิธีที่ขาดแคลเซียมและขาดไนโตรเจนน้อยกว่ากรรมวิธีอื่น  ความเข้มข้นของแมกนีเซียมในกรรมวิธีที่ขาดแมกนีเซียมและขาดไนโตรเจนน้อยกว่ากรรมวิธีอื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2544. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 547 หน้า.
ชาตรี สิทธิกุล จิราพร ตยุติวุฒิกุล อิทธิสุนทร นันทกิจ อังสนา อัครพิศาล และชูชาติ สันธทรัพย์. 2552. การพัฒนาระบบการปลูกพริกหวานในโรงเรือนเพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพสูงและปลอดภัย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 179 หน้า.
นิพนธ์ ไชยมงคล. 2546(ก). “พริกหวาน/พริกยักษ์” (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www. agric-prod.mju.ac.th/vegetable/File_link/ pepper.pdf (16 มกราคม 2550).
นิพนธ์ ไชยมงคล. 2546(ข). เทคโนโลยีการปลูกพืชผักในเรือนโรง (Protected Culture). หน้า 227 - 233. ใน: อัญชัญ ชมภูพวง (บก.). คู่มือการปลูกผักบนพื้นที่สูง. สำนักพัฒนาเกษตรที่สูง สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์, เชียงใหม่.
พิทยา สรวมศิริ. 2554. ธาตุอาหารในการผลิตพืชสวน. วนิดาการพิมพ์, เชียงใหม่. 314 หน้า.
ศรีสม สุวรรณวงศ์. 2544. การวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 141 หน้า.
โสระยา ร่วมรังษี. 2544. การผลิตพืชสวนแบบไม่ใช้ดิน. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 88 หน้า.
หทัย กฤษดาวาณิชย์ และ โสระยา ร่วมรังษี. 2548. การขาดธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในฟรีเซีย. วารสารเกษตร 21(3): 197-204.
Das, B. K. and S. P. Sen. 1981. Effect of nitrogen, phosphorus and potassium deficiency on the uptake and mobilization of ions in Bengal gram (Cicer arietinum). J. Biosci., vol 3: 249-258.
Grundon N. J., A. D. Robson, M. J. Lambert and K. A. Snowball. 1997. Nutrient Deficiency and Toxicity Symptoms. pp. 37-51. In: D.J. Reuter and J.B. Robinson. Plant Analysis: an Interpretation Manual 2nd edition. CSIRO publishing, Australia.
Huett, D. O., N. A. Maier, L. A. Sparrow and T. J. Piggott. 1997. Vegetables Crop. pp. 383-464. In: D.J. Reuter, and J.B. Robinson. Plant Analysis: an Interpretation Manual 2nd Ed. CSIRO publishing, Australia.
Jones, J. B. Jr. 1997. Hydroponics A Practice Guide for the Soilless Grower. St. Lucie Press, Boca Raton. FL. 230 p.
Kelley, T. W., G. E. Boyhan and D. M. Granberry. 2006. Pepper history, scope, climate and taxonomy. pp. 3-7. In: University of Georgia (eds.). Commercial Pepper Production Hand Book. University of Georgia, Athens.
Lavon, R., R. Salomon and E. E. Goldschmidt.1999. Effect of potassium, magnesium, and calcium deficiencies on nitrogen constituents and chloroplast components in Citrus leaves. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 124(2): 158-162.
Martinez, F. E., J. Sarmiento, G. Fischer and F. Jiménez. 2008. Effect of N, P, K, Ca, Mg and B deficiency on production and quality components of cape gooseberry (Physalis peruviana L.). Agronomía Colombiana 26(3): 389-398.
Ohyama, T., M. Ito. K. Kobayashi. S. Araki, S. Yasuyoshi, O. Sasaki, T. Yamazaki, K. Soyama, R. Tanemura, Y. Mizuno and T. Ikarashi. 1991. Analytical procedures of N, P, K contents in plant and manure materials using H2SO4-H2O2 Kjeldahl digestion method. Bull. Fac. Agric., Niigata Univ., 43: 111-120. (in Japanese with English summary)
Roychoudhury, A., R. Chatterjee and S. K. Mitra. 1990. Effect of different doses of nitrogen, phosphorus, potassium, magnesium, calcium and iron on growth and development in chilli. Indian Cocoa, Arecanut and Spices Journal 13(3): 96-99.