การตรวจสอบการแสดงออกของยีนที่ต่างกันในใบประดับของบัวชั้นโดยเทคนิคดีดีอาร์ที-พีซีอาร์

Main Article Content

ทิพย์วรรณ ใจภา
โสระยา ร่วมรังษี
วีณัน บัณฑิตย์

บทคัดย่อ

บัวชั้น (Curcuma petiolata Roxb.) เป็นพืชที่อยู่ในกลุ่มกระเจียว (Eucurcuma) ลักษณะทางสัณฐานของพืชในกลุ่มนี้ใกล้เคียงกัน เช่น สีของช่อดอก ความยาวช่อดอก รวมทั้งสัดส่วนสีของใบประดับส่วนล่าง (bract) และใบประดับส่วนบน (coma bract) การจัดจำแนกโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานเพียงอย่างเดียวทำได้ยาก ในงานวิจัยนี้จึงได้นำเทคนิค ดีดีอาร์ที-พีซีอาร์ มาศึกษาการแสดงออกของยีนที่แตกต่างกันในบัวชั้นสองกลุ่ม ที่มีลักษณะช่อดอกแตกต่างกัน โดยสกัด อาร์เอ็นเอจากใบอ่อน ใบประดับส่วนล่าง และใบประดับส่วนบน ในระยะช่อดอกตูม ช่อดอกบาน และดอกจริงดอกแรกบาน จากนั้นนำมาทำ reverse transcription ให้เป็น cDNA วิเคราะห์ความแตกต่างของการแสดงออกของยีนโดยใช้ ไพรเมอร์ จำนวน 58 ไพรเมอร์ พบว่ามีไพรเมอร์เพียง 2 คู่ คือ OPD 08 และ OPD 20 ร่วมกับ oligo dT12VA เพิ่มปริมาณดีเอ็นเอที่จำเพาะต่อบัวชั้นที่มีสัดส่วนสีในช่อดอกต่างกันได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา วงค์ปัญญา. 2548. การจำแนกสายพันธุ์ข่าโดยเทคนิคเอเอฟแอลพี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 72 หน้า.
จิรพิพรรธ แพรไพศาล. 2549. การจำแนกยืนที่ต้านทานต่อเชื้อ Escherichia coli สาเหตุของโรคท้องร่วงในสุกรก่อนหย่านม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 57 หน้า.
นันทวรรณ์ ฉิมพลี. 2549. การจำแนกสายพันธุ์ขมิ้นชันในประเทศไทยโดยใช้ Microsatellite markers. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชไร่นา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 143 หน้า.
พิชัย มณีโชติ. 2547. ปทุมมาและกระเจียว. ข่าวสารสมาคมพืชสวน. 19(3): 14-15.
ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี. 2542. โรครากปมของปทุมมาและกระเจียว. กสิกร 72(2): 121- 124.
สุรวิช วรรณไกรโรจน์. 2539. ปทุมมาและกระเจียว (Curcuma), ไม้ดอกไม้ประดับ. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ. 128 หน้า.
สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล. 2545. จีโนมและเครื่องหมายดีเอ็นเอ: ปฏิบัติการอาร์เอพี่ดีและเอเอฟแอลพี. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 115 หน้า.
สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล. 2552. เครื่องหมายดีเอ็นเอ: จากพื้นฐานสู่การประยุกต์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 269 หน้า.
หทัยรัตน์ โชคทวีพานิชย์. 2545. การจัดกลุ่มขมิ้น (วงศ์ขิง) โดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและรูปแบบไอโซ ไซม์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 95 หน้า.
อดิศร กระแสชัย. 2541. การรวบรวมพืชพื้นถิ่นเพื่อพัฒนาเป็นไม้ดอกไม้ประดับ. รายงานผลการวิจัย. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 44 หน้า.
Dunican, D., A. Parle-McDermott and D.T. Croke. 1997. Gene expression profiling of cells and tissues. Current Diagnostic Pathology 4: 170-175.
Krutmuang, P. 2003. Detection of Genes Differentially Expressed in Porcine Leucocytes due to Transport Stress by cDNA-AFLP and Differential Display. Ph.D. Thesis. Rheinischen Fricdrich-Wilhelms-Universität. 124 p.
Liang, P. and A. B. Pardee. 1992. Differential display of eukaryotic messenger RNA by means of the polymerase chain reaction. Science 257: 967-971.
Maier, R. M., K. Neckermann, B. Hoch, N. B. Akhmerdov and H. Kossel. 1992. Identification of editing positions in the ndhB transcript from maize chloroplasts reveals sequence similarities between editing sites of chloroplasts and plant mitochondria. Nucleic Acids Res. 20: 6189- 6194.
Manoj, P., N. S. Banerjee and P. Ravichandran .. 2008. Development of sex. specific molecular markers in dioecious Piper longum L. plants by differential display. JATIT. 4: 459-465.
Park, J. M., S. S. Whang, S. So, P. O. Lim, H. Y. Lee and J. C. Koo. 2010. Identification of differentially expressed genes in flower buds of Calanthe discolor and C. sieboldii. Plant Biol. 53: 24-31.
Roux, C., J. Bilang, B. H. Theunissen and C. Perrot-Rechenmann. 1998. Identification of new early auxin markers in tobacco by mRNA differential display. Plant Molecular Biology 37: 385-389.
Stein, J. and P. Liang. 2002. Differential display technology: a general guide. Cell Mol. Life Sci. 59: 1235-1240.