การตีพิมพ์บทความในรอบ 4 ปีที่ผ่านมาของวารสารเกษตร ส่วนใหญ่เป็นการตีพิมพ์บทความวิจัยต้นฉบับกว่า 99% ทั้งๆที่วารสารมีนโยบายรับตีพิมพ์บทความ 3 ประเภทคือ บทความวิชาการ บทความวิจัย และบทความปริทัศน์ สาเหตุสำคัญอาจมาจากการที่วารสารมีคำแนะนำสำหรับการตีพิมพ์บทความวิจัย แต่ขาดคำแนะนำการตีพิมพ์บทความความวิชาการ และการตีพิมพ์บทความปริทัศน์ ซึ่งบทความทั้งสองประเภทหลัง ก็มีความสำคัญต่อความก้าวหน้าทางวิชาการไม่น้อย โดยเฉพาะบทความปริทัศน์ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะรวบรวมงานวิจัยที่เป็น slate of the art ของเรื่องที่ผู้เขียนสนใจมาเขียน เพื่อเสนอข้อมูล วิเคราะห์ และเปรียบเทียบ ให้เห็นสิ่งที่นักวิจัยในสาขานั้นๆ ได้ทำมาแล้ว เพื่อประมวลเป็นข้อคิดเห็นของตนเอง และชี้ให้เห็นทิศทางที่จะวิจัยต่อไป ซึ่งเท่ากับกระตุ้นให้งานวิจัยก้าวไปข้างหน้า กล่าวไปแล้วการเขียนบทความปริทัศน์ เปรียบเสมือนการทำวิจัย ที่ผู้เขียนเก็บข้อมูลโดยการอ่านจากบทความของนักวิจัยอื่น ๆ จำนวนมาก (รวบรวม data) เพื่อนำมาวิเคราะห์ (analyze) วิจารณ์(discuss) และสรุป (conclude) เป็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของตนเอง บทความปริทัศน์จึงมีหน้าที่สำคัญในการรวบรวมงานวิจัยลำสุดมานำเสนอให้เห็นสถานะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของงานวิจัยเรื่องนั้นๆอีกโสดหนึ่งด้วย

อย่างไรก็ตม บทความปริทัศน์ไม่ใช่การเอาผลงานวิจัยที่ค้นหามา นำมากล่าวถึงลอย ๆ แต่ผู้เขียนบทความปริทัศน์จะต้องมีประเด็นที่ตนเองต้องการนำเสนอ แล้วใช้ข้อมูลจากบทความที่ไปค้นหามา มาวิเคราะห์วิจารณ์ เพื่อสนับสนุนแนวคิดหรือข้อสรุปของตนเอง หรือหากยังหาข้อยุติไม่ได้ ก็ควรให้แนวคิดในการวิจัยต่อ ว่าควรไปในแนวทางใด จึงจะสามารถนำไปสู่ข้อสรุปของประเด็นที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ได้ การเขียนบทความปริทัศน์จึงมีคุณูปการต่อความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างยิ่ง ดังได้กล่าวมานี้

ในวารสารฉบับสุดท้ายของปีที่ 27 นี้ เราได้นำเอาคำแนะนำในการเขียนบทความทางวิชาการและคำแนะนำในการเขียนบทความปริทัศน์มาลงไว้เป็นครั้งแรก เพื่อสร้างมาตรฐานในแนวทางการเขียน และเพื่อสนับสนุนให้มีการเขียนบทความประเภทนี้มากยิ่งขึ้นในอนาคต โดยหวังว่าจะได้รับความสนใจจากนักวิชาการและนักวิจัยทุกท่าน

เผยแพร่แล้ว: 2020-08-20

ศักยภาพของหนอนนกยักษ์ Zophobas morio Fabricius ในการเป็นอาหารของมวนพิฆาต Eocanthecona furcellata (Wolff)

กรสิริ ศรีนิล , ไสว บูรณพานิชพันธุ์ , เยาวลักษณ์ จันทร์บาง, จิราพร กุลสาริน , วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ

219-228

ชีวมิติของรังผึ้งโพรงธรรมชาติจากการสังเกตในภาคเหนือของประเทศไทย

วีรยา สมณะ , เยาวลักษณ์ จันทร์บาง , จิราพร กุลสาริน, Michael Burgett

219-228

ลักษณะสังคมพืช ลักษณะดินและปริมาณธาตุอาหารในดินป่าดิบเขาต่ำที่เหลือเป็นหย่อม อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

อำไพ พรลีแสงสุวรรณ์ , สุนทร คำยอง , นิวัติ อนงค์รักษ์ , เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง

247-257

การพัฒนาออนโทโลยี เพื่อการจัดการความรู้ด้านการแปรรูปข้าว

โรสริน อัคนิจ , ธนิต พุทธพงศ์ศิริพร , น้ำฝน ลำดับวงศ์ , อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ

267-274

ค่าทางชีวเคมีของเลือดแพะที่เลี้ยงในภาคใต้ของประเทศไทย

สุธี รัตนะ , อรษา อรุณสกุล , ปิยนันท์ สังขไพฑูร

283-292

ดีไนทริไฟอิ้งแบคทีเรียและบทบาทในการแก้ปัญหามลภาวะในสภาพแวดล้อม

ชมภูนุช วิรุณานนท์ , จิราพร พวงแก้ว , วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล

305-315