ชีวมิติของรังผึ้งโพรงธรรมชาติจากการสังเกตในภาคเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

วีรยา สมณะ
เยาวลักษณ์ จันทร์บาง
จิราพร กุลสาริน
Michael Burgett

บทคัดย่อ

การศึกษาชีวมิติของผึ้งโพรงธรรมชาติจากรังขอนไม้ขุดในภาคเหนือของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2552 โดยใช้ผึ้งโพรงในฤดูแล้ง (พฤศจิกายน-พฤษภาคม) และฤดูฝน (มิถุนายน-ตุลาคม) จำนวน 10 รัง และ 14 รัง ตามลำดับ พบว่าในฤดูแล้งจำนวนตัวเต็มวัยทั้งหมดของผึ้งโพรงเฉลี่ยคือ 13,499 ตัว/รัง, ผึ้งงาน 12,922 ตัว/รัง และผึ้งเพศผู้ 577 ตัว/รัง ส่วนจำนวนไข่ หนอน และดักแด้ของผึ้งโพรงทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6,910 ตัว ซึ่งเจริญไปเป็นผึ้งงานเฉลี่ย 5,977 ตัว (ไข่ 628 ฟอง, หนอน 963 ตัว  และดักแด้ 4,386 ตัว) และเจริญไปเป็นผึ้งเพศผู้เฉลี่ยเท่ากับ 933 ตัว/รัง (ไข่ 40 ฟอง, หนอน 135 ตัว และดักแด้ 758 ตัว) ส่วนในฤดูฝนมีตัวเต็มวัยผึ้งโพรงทั้งหมดเฉลี่ย 8,654 ตัว/รัง, ผึ้งงาน 8,574 ตัว/รัง และผึ้งเพศผู้ 80 ตัว/รัง โดยมีจำนวนไข่ หนอน และดักแด้ของผึ้งโพรงทั้งหมดเฉลี่ยเท่ากับ 5,103 ตัว และเจริญไปเป็นผึ้งงานเฉลี่ยเท่ากับ 5,039 ตัว/รัง (ไข่ 452 ฟอง, หนอน 1,038 ตัว และดักแด้ 3,549 ตัว) และผึ้งเพศผู้เฉลี่ย 64 ตัว/รัง (ไข่ 5 ฟอง, หนอน 1 ตัว, และดักแด้ 58 ตัว) สำหรับปริมาตรที่ผึ้งโพรงเข้าครอบครองรังในฤดูแล้งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.7  ลิตร โดยมีปริมาตรที่ผึ้งครอบครองในรังเท่ากับ 56.8 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนในฤดูฝนมีปริมาตรเฉลี่ยเท่ากับ 12.6 ลิตร ปริมาตรที่ผึ้งครอบครองในรังเท่ากับ 37.5 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งความแตกต่างของผึ้งโพรงระหว่างฤดูแล้งและฤดูฝนอยู่ที่การผลิตผึ้งเพศผู้ทั้งจำนวนไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย โดยผลจากการค้นคว้าวิจัยครั้งนี้ทำให้รู้จำนวนประชากร และขนาดโพรงที่ผึ้งโพรงที่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2552. ผึ้งโพรง. (Online) Available: http://agriqua.doae.go.th/plantclinic/clinic/ other/bee/bee4-1.htm (20 พฤษภาคม 2552).
พงศ์เทพ อัครธนกุล. 2528. ว่าด้วยผึ้งและการเลี้ยงผึ้ง. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, กรุงเทพฯ. 178 หน้า.
สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ. 2532. ชีววิทยาของผึ้ง. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัท ต้นอ้อ จำกัด , กรุงเทพฯ. 176 หน้า.
Agriculture and Consumer Protection. 2009. Beekeeping with oriental honeybees (Apis cerana). (Online). Available: http://www.fao.org/X0083e/X0083E05.htm (August 14, 2009).
Burgett, M. and I. Burikam. 1985. Number of adult honey bees (Hymenoptera: Apidae) occupying a comb:a standard for estimating colony populations. Journal of Economic Entomology 78:1154-1156.
Chinh T. X., W. J. Boot and M. J. Sommeijer. 2005. Production of sexuals in the honeybee species Apis cerana Fabricius 1793 (Apidae, Apini) in northern Vietnam. Journal of Apiculture Research 44: 41-48.
Inoue, T., S. Adri and S. Salmah. 1990. Nest site selection and reproductive ecology of the Asian honey bee, Apis cerana indica, in central Sumatra. pp. 219-232. In: S.F. Sakagami, R. Ohgushi, and D.W. Roubik (eds.) Natural History of Social Wasps and Bees in Equatorial Sumatra. Hokkaido University Press, Sapporo.
Okada l. 1986. Biological characteristics of the Japanese honey bee, Apis cerana japonica. pp. 119-122. In: Procedings of the 30th International Apiculture Congress, Nagoya, Japan.
Punchihewa, R. W. K. 1994. Beekeeping for Honey Production in Sri Lanka. Sri Lanka Department of Agriculture, Peradeniya, Sri Lanka. 232 p.
Seeley, T. D. and R. A. Morse. 1976. The nest of the honey bee (Apis mellifera L.). Insectes Sociaux. 23: 494-512.
Seeley, T. D., R. H. Seeley and P. Akratanakul. 1982. Colony defense strategies of the honey bees in Thailand. Ecological Monograph 52: 43-63.
Segeren, P. 2004. Beekeeping in the tropics. (Online). Available: http://journeytoforever.org/ farm_library/AD32.pdf (March 3, 2010).
Winston, M. L. 1987. The Biology of the Honey Bee. Harvard University Press, Cambridge, Massachusetts. 281 p.