การพัฒนาออนโทโลยี เพื่อการจัดการความรู้ด้านการแปรรูปข้าว

Main Article Content

โรสริน อัคนิจ
ธนิต พุทธพงศ์ศิริพร
น้ำฝน ลำดับวงศ์
อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ

บทคัดย่อ

บทความนี้รายงานผลการดำเนินการจัดทำออนโทโลยีการแปรรูปข้าว โดยใช้แนวทางการพัฒนาโครงสร้าง ออนโทโลยีโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยมีกระบวนการพัฒนา 2 ส่วนคือ กระบวนการพัฒนาออนโทโลยี และการประเมินออนโทโลยี ในขั้นของกระบวนการพัฒนาออนโทโลยี แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนคือ 1. รวบรวมมโนทัศน์ (Concept หรือ Class) และ คำแทนมโนทัศน์ (Term) จากผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์เป็นหลัก 2. ปรับปรุงเพิ่มเติมมโนทัศน์และคำแทนมโนทัศน์ให้สมบูรณ์ 3.กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคำแทนมโนทัศน์เหล่านั้น 4. ทวนสอบผลที่ได้โดยผู้เชี่ยวชาญในสาขา 5. นำผลที่ได้ไปพัฒนาเป็นออนโทโลยีของการแปรรูปข้าว ซึ่งได้โครงสร้างที่ประกอบด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์หลักและ    คำแทนมโนทัศน์ รวมทั้งสิ้น 9 กลุ่มคือ มาตรฐานข้าวไทย คุณภาพในแต่ละด้านของข้าว กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ข้าว สมบัติของข้าว ประเภทของผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบข้าว ผลิตภัณฑ์จากข้าว เครื่องมือในการตรวจวัดและเครื่องจักรในการแปรรูป โดยมโนทัศน์ทั้งหมดในออนโทโลยีการแปรรูปข้าวมีทั้งหมด 907 มโนทัศน์ และคำแทนมโนทัศน์ทั้งหมด 1863 คำ สำหรับการประเมินออนโทโลยีมี 2 ส่วนคือ ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาทั้งหมด 17 ท่าน โดยเทคนิคเดลฟาย และการประเมินโดยผู้ใช้งาน ซึ่งประเมินโดยวัดเป็นค่าประสิทธิภาพในการสืบค้นระหว่างการใช้หลักการของออนโทโลยีกับการสืบค้นโดยใช้วิธีดั้งเดิมคือการใช้คำสำคัญ ในการประเมินประสิทธิภาพในการสืบค้นโดยใช้ความสัมพันธ์ภายในมโนทัศน์พบว่าการใช้ออนโทโลยีสามารถเพิ่มความครบถ้วนในการสืบค้นข้อมูล โดยการใช้ออนโทโลยีมีค่าความครบถ้วนอยู่ที่ 0.382 ในขณะที่การสืบค้นแบบดั้งเดิมที่ใช้คำสำคัญมีค่าความครบถ้วนอยู่ที่ 0.074 จากการที่ออนโทโลยีมีคุณสมบัติในการขยายคำค้นโดยสามารถดึงเอางานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้สืบค้นต้องการค้นหาซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงความรู้ในขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับการสืบค้น ผลที่ได้จากการพัฒนาออนโทโลยีของการแปรรูปข้าวนี้จะสามารถช่วยในการจัดจำแนกและการอธิบายความหมายของคำสำคัญของงานวิจัยการ แปรรูปข้าวเป็นระเบียบและมีแบบแผน ซึ่งจะสามารถนำไปพัฒนาในการใช้งานตามวัตถุประสงค์ได้ต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญรัตน์ เผดิมรอด. 2551. วิธีการใหม่สำหรับสืบค้นแบบหลายความสัมพันธ์บนองค์ความรู้ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์). มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ 64 หน้า.

เพ็ญพรรณ อัศวนพเกียรติ. 2547. ออนโทโลยีชีวภาพ : ระบบสำหรับสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านชีววิทยา. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์). มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. 67 หน้า.

มาลี กาบมาลา. 2550. การพัฒนาออนโทโลยีเพื่อบูรณาการข้อมูลสำหรับการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สารสนเทศศึกษา). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 93 หน้า.

สิริรัตน์ ประกฤติกรชัย. 2550. “การสร้างต้นแบบออนโทโลยีของพืชสมุนไพรไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือฯ . 71 หน้า.

อรอนงค์ นัยวิกุล. 2550. ข้าว : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 366 หน้า.

Noy, N. F. and D.L. McGuinness. 2001. Ontology Development 101: A Guide to Creating Your First Ontology. Stanford Knowledge Systems Laboratory Technical Report KSL-01-05 and Stanford Medical Informatics Technical Report SMI-2001-0880, Standford University.

Thunkijjanukij, A. 2009. Ontology Development for Agricultural Research Knowledge Management A Case Study For Thai. Doctor of Philosophy (Tropical Agriculture). Kasetsart University.