ศักยภาพของหนอนนกยักษ์ <I> Zophobas morio </I> Fabricius ในการเป็นอาหารของมวนพิฆาต <I>Eocanthecona furcellata </I> (Wolff)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการเจริญเติบโตของมวนพิฆาต Eocanthecona furcellata (Wolff) เมื่อเลี้ยงด้วยดักแด้หนอนนกยักษ์ Zophobas morio Fabricius เปรียบเทียบกับดักแด้หนอนนก Tenebrio molitor Linnaeus พบว่า ตัวอ่อนวัยที่ 1 ถึง 5 ของมวนพิฆาต E. furcellata เมื่อเลี้ยงด้วยดักแด้หนอนนกยักษ์ มีการรอดชีวิต เท่ากับ 82, 53, 46, 45 และ 43 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนมวนพิฆาต E. furcellata ที่เลี้ยงด้วยดักแด้หนอนนกนั้น พบว่า ตัวอ่อนวัยที่ 1 ถึง 5 รอดชีวิต เท่ากับ 82, 37, 35, 33 และ 33 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ระยะเวลาเจริญเติบโตรวมตั้งแต่วัยที่ 1 จนถึง 5 เมื่อเลี้ยงด้วยดักแด้หนอนนกยักษ์และดักแด้หนอนนกใช้ระยะเวลาเฉลี่ย 15.42 + 1.83 และ 14.61 + 1.50 วันตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ตารางชีวิตของมวนพิฆาต E. furcellata เมื่อเลี้ยงด้วยดักแด้หนอนนกยักษ์ อัตราการขยายพันธุ์สุทธิ (Ro) เท่ากับ 177.23 อัตราการเพิ่มโดยกรรมพันธุ์ (rc) มีค่าเท่ากับ 0.11 ชั่วอายุขัยของกลุ่ม (Tc) เท่ากับ 48.87 วัน อัตราการเพิ่มที่แท้จริง (l) มีค่าเท่ากับ 1.11 ส่วนมวนพิฆาต E. furcellata ที่เลี้ยงด้วยดักแด้หนอนนกนั้น มีอัตราการขยายพันธุ์สุทธิ (Ro) เท่ากับ 171.24 อัตราการเพิ่มโดยกรรมพันธุ์ (rc) เท่ากับ 0.11 ชั่วอายุขัยของกลุ่ม (Tc) เท่ากับ 46.42 วัน และมีอัตราการเพิ่มที่แท้จริง (l) มีค่าเท่ากับ 1.12 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า หนอนนกยักษ์สามารถนำมาใช้เพาะเลี้ยงมวนพิฆาตเพื่อการควบคุมโดยชีววิธีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
References
กรวรรณภรณ์ แจงเชื้อ. 2542. วงจรชีวิตและลักษณะชีววิทยาของมวนพิฆาต Eocanthecona furfcellata (Wolff) เมื่อเลี้ยงด้วยหนอนเจาะสมอฝ้าย Heliothis armigera Hubner มีชีวิตและหนอนไหม Bombyx mori Linn. แช่แข็งและอัตราการปล่อยมวนพิฆาตที่เหมาะสมเพื่อควบคุมหนอนเจาะสมอฝ้ายในไร่ทานตะวัน.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา. 112 หน้า.
ชาญณรงค์ ดวงสอาด ศรีฟ้า จือพิมาย เชิด ชูยัง นิสิต บุญเพ็ง ชัยณรัตน์ สนศิริ สมชาย ประดิษฐวนิช และอนรรค อุปมาลี. 2541. การเปรียบเทียบชนิดและรูปแบบของอาหารเพื่อเพาะเลี้ยงมวนตัวห้ำ Eocanthecona furcellata (Wolf). รายงานผลงานวิชาการประจำปี 2540-2541. ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติภาคเหนือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่. 37 หน้า.
ภูริพงศ์ ประภาพรรณ. 2546. อิทธิพลของแมลงที่เป็นเหยื่อต่อวงจรชีวิตของมวนพิฆาต (Eocanthecona furfcellata (Wolff)). ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 34 หน้า.
วิวัฒน์ เสือสะอาด โกศล เจริญสม และอรพรรณ เกินอาษา. 2546. ชีววิทยา การเพาะเลี้ยง และการใช้ประโยชน์ของมวนตัวห้ำในการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี. หน้า 147-159. ใน: จิระเดช แจ่มสว่าง (ผู้รวบรวม). การควบคุมโรคพืชและแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี. โครงการเกษตรกู้ชาติโครงการถ่ายทอด การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและชีวภัณฑ์ในการจัดการแมลงศัตรูพืชเพื่อทดแทนสารเคมีสังเคราะห์. ประชุมทอง พริ้นติ้งกรุ๊ป, นนทบุรี.
อินทวัฒน์ บุรีคำ และบรรพต ณ ป้อมเพชร. 2521 คุณลักษณะทางชีววิทยาของมวนตัวห้ำ Cantheconidea furcellata (Wolff) (Hemiptera: Pentatomidae).เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 4. ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืช โดยชีวินทรีย์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 10 หน้า.
Castañé, C., O. Alomar, M. Goula and R. Gabarra. 2004. Colonization of tomato greenhouses by the predatory mirid bugs Macrolophus caliginosus and Dicyphus tamaninii Biological Control 30: 591-597.
Castellanos, C. 2008. Superworm Zophobas morio. (Online). Available: http://www.progeckos.com/ caresheets/superworm.pdf (August 5, 2008).
James, D. G. 1994. Prey consumption by Pristhesancus plagipennis Walker (Hemiptera: Reduviidae) during development. Australian Entomologist 21: 43-47.
Napompeth, B. 1973. Ecology and population dynamics of the corn planthopper, Peregrinus maidis (Ashmead) (Homoptera: Delphacidae), in Hawaii. Ph.D. Dissertation. University of Hawaii, Honolulu. 257 p.
Tschinkel, W. R. 1984. Zophobas atratus (Fab.) and Z. rugipes Kirsch (Coleoptera: Tenebrionidae) are the same species. The Coleopterists Bulletin 38(4): 325-333.
USDA. 2008. Diet. (Online). Available: http://www.loveablepocketpets.com/diet.htm (August 5, 2008).