ลักษณะสังคมพืช ลักษณะดินและปริมาณธาตุอาหารในดินป่าดิบเขาต่ำที่เหลือเป็นหย่อม อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
ศึกษาสมบัติทางกายภาพ-เคมีและปริมาณธาตุอาหารในดินป่าดิบเขาต่ำที่เหลือเป็นหย่อม พื้นที่หน่วยจัดการต้นน้ำบ่อแก้ว อ. สะเมิง จ. เชียงใหม่ วางแปลงสุ่มตัวอย่างขนาด 40 x 40 ตร.ม. ในแต่ละหย่อมป่าจำนวน 5 แห่ง วัดการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้นทุกต้นในแปลงที่มีความสูงมากกว่า 1.5 ม. เก็บตัวอย่างดินตามความลึกหย่อมป่าละ 1 หลุม พบว่า สังคมพืชมีความแตกต่างกันระหว่างหย่อมป่า ส่วนใหญ่มีสนสามใบ ก่อเดือย ก่อแป้นและทะโล้เป็นพันธุ์ไม้เด่น ดินชั้นบนในทุกหย่อมป่ามีความหนาแน่นรวมต่ำและมีเนื้อหยาบเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนและร่วนเหนียว ในหย่อมป่าที่ 2 ดินชั้นบนเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายและดินชั้นล่างเป็นดินเหนียวและร่วนเหนียว ดินชั้นบนในหย่อมป่าส่วนใหญ่เป็นกรดจัดและเป็นกรดปานกลางถึงกรดจัดในดินชั้นล่าง ความเข้มข้นของอินทรียวัตถุในดินชั้นบนของทุกหย่อมป่ามีค่าสูงมาก แต่ไนโตรเจนทั้งหมดมีค่าผันแปร มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ปานกลางถึงค่อนข้างสูงในดินชั้นบน โพแทสเซียมที่สกัดได้มีค่าสูงตลอดชั้นดินของทุกหย่อมป่า แต่โซเดียมมีค่าต่ำตลอดชั้นดิน แคลเซียมและแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มีค่าปานกลางถึงต่ำ ปริมาณอินทรียวัตถุ คาร์บอนและไนโตรเจนในดินลึก 160 ซม. มีค่าผันแปรระหว่าง 164.0 -476.6, 95.1-276.5 Mg/ha และ 9,048-19,845 kg/ha ตามลำดับ โดยปริมาณอินทรียวัตถุ คาร์บอนและไนโตรเจนในดินหย่อมป่าที่ 2 มีค่าต่ำสุด
Article Details
References
ณัฐลักษณ์ คำยอง. 2552. ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ ลักษณะดินและการสะสมคาร์บอนในป่าชนิดต่าง ๆ บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 334 หน้า.
อำไพ พรลีแสงสุวรรณ์, สุนทร คำยอง, เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง และ นิวัติ อนงค์รักษ์. 2553. ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ในป่าที่เหลือเป็นหย่อมและอิทธิพลต่อการปลูกป่าฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำในภาคเหนือของประเทศไทย, หน้า 63-74. ใน การประชุมวิชาการสิ่งแวดล้อมนเรศวรครั้งที่ 6. ระหว่างวันที่ 1-2 สิงหาคม 2553. คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก.
Armitage, F.B. and J. Burley. 1980. Pinus kesiya Royle ex Gordon. Tropical Forestry Papers No. 9, Department of Forestry, Commonwealth Forestry Institute, University of Oxford. 199 p.
Handrick, C.A. 1981. Soil-Vegetation relation in the north continental highland region of Thailand: A preliminary investigation of soil-vegetation correlation. Soil Sur. Rep. Tech. Bull. 32: 1-112. Kanchanaprasert, N. 1986. A Study on vital diagnostic features in soil development and land potential evaluation of alfisols and inceptisols in Mae Klong drainage basin. Ph.D. Thesis, Department of Soil Science, Kasetsart University, Bangkok (in Thai). 483 p.
Khamyong, S., A.M. Lykke, D. Seremethakun and A.S. Barfod. 2004. Species composition and vegetation structure of an upper montane forest at the summit of Doi Inthanon, Thailand. Nord. J. Bot. 23: 83 97.
Krebs, C.J. 1985. Chapter 23. Species diversity l: Theory, pp. 513-542. In: Ecology: The experimental analysis of distribution and abundance. Third edition, Harper & Row Publishers, New York.
Land Classification Division and FAO Project Staff. 1973. Soil interpretation handbook for Thailand. Dept. of Land Development, Min. of Agri. And Cooperative, Bangkok 135 p.
Land Use Planning Division. 1993. Repot on land suitability study for high land development planning in Chiang Mai province. Land Development Department, Ministry of Agriculture and Cooperatives, Bangkok (in Thai). 393 p.
Pritchett, W.L. and R.F. Fisher. 1987. Properties and management of forest soils. Second Editor. John Wiley & Sons, New York. 494 p.
Santisuk, T. 1988. An account of vegetation of northern Thailand. Geoecological Research (Franz Steiner Verleg, Stuttgart) Vol. 5: 1-101,75 figs & 2 tabs.
Soil Survey Division Staff. 1993. Soil survey manual. U.S. Dept. of Agr. Handbook No. 18 U.S.Government Printing Office, Washington D.C. 37 p.
Wiklander, L. 1950. Fixation of potassium by clays saturated with different cations. Soil Sci. 69: 261-268.