การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในงาเพื่อใช้เป็นไม้ประดับ

Main Article Content

ทิวา ปาตีคำ
ณัฐา ควรประเสริฐ

บทคัดย่อ

การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในงา เพื่อพัฒนางาให้นำมาใช้ประโยชน์ในเชิงไม้ประดับได้มีการชักนำการ กลายพันธุ์ด้วยรังสีแกมมา โดยนำเมล็ดงาจำนวน 7 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ SM 73 line MKS-II-82128-1, SM 73 R line MKS-II-82128-1, SM 74 line MKS-I-82186, SM 74 line NS 214, อำเภอปาย, อำเภอพร้าว และ มข. 3 ไปฉายรังสีแกมมาที่ปริมาณรังสี 0, 30, 60 และ 90 Gyโดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ผลของการฉายรังสีพบว่า รังสีแกมมามีผลต่อสีดอก ความสูง และระยะเวลาในการออกดอก ปริมาณรังสีที่ 30, 60 และ 90 Gy มีผลต่อสีดอกของงาสายพันธุ์ SM 73 line MKS-II-82128-1, SM 74 line MKS-I-82186, อำเภอปาย และ มข. 3 ปริมาณรังสี 90 Gy มีผลต่อความสูงเฉลี่ยของงาสายพันธุ์ SM 74 line MKS-I-82186 และปริมาณรังสีที่ 30, 60 และ 90 Gy มีผลต่อระยะเวลาในการออกดอกของงาสายพันธุ์ SM 73 line MKS-II-82128-1, SM 73 R line MKS-II-82128-1, SM 74 line NS 214 และมข.3 อย่างไรก็ตามปริมาณรังสีไม่มีผลต่อสีกลีบดอกด้านล่าง, ความสูงข้อแรกที่ออกดอก และการแตกกิ่งของงา จากรุ่น M1 เมื่อทำการทดสอบเปอร์เซ็นต์ความงอก และได้คัดเลือกพันธุ์มาได้ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์อำเภอปาย และมข. 3 ที่ระดับปริมาณรังสี 0, 30 และ 60 Gy และสายพันธุ์อำเภอพร้าว ที่ระดับปริมาณรังสี 0, 30, 60 และ 90 Gy มาปลูกทดสอบดูลักษณะในรุ่น M2 พบว่ารังสีแกมมาไม่มีผลต่อการแตกกิ่ง ระยะเวลาในการออกดอก ความสูงข้อแรกที่ออกดอก ความสูงสุดท้าย และอายุการบานของดอก แต่มีผลทำให้สีดอกและสีกลีบดอกด้านล่างของงาสายพันธุ์อำเภอปาย มีความหลากหลายมากขึ้น


การศึกษาผลของโคลชิซินที่มีต่อการกลายพันธุ์ของงา พบว่า การให้สารละลายโคลชิซินที่ความเข้มข้น 0, 0.25, 0.50 และ 0.75 % โดยการหยอดลงบนยอดของต้นกล้าอายุ 1 สัปดาห์ ของต้นงา 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์อำเภอปาย อำเภอ พร้าว และ มข. 3 พบว่า เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต ความสูงเฉลี่ยข้อแรกที่ออกดอกมีแนวโน้มลดลง ระยะเวลาในการออกดอกแรกนานมากกว่าเดิม และขนาดดอกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อความเข้มข้นของสารละลายโคลชิซินเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม สาร-ละลายโคลชิซินไม่มีผลต่อความสูงสุดท้ายเฉลี่ย สีดอก และสีกลีบดอกด้านล่างของงาทั้ง 3 สายพันธุ์


 รังสีแกมมาและสารโคลชิซินทุกระดับไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงจำนวนโครโมโซมของงาทุกสายพันธุ์ โดยงามีจำนวนโครโมโซม 2n = 26

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เบญจมาภรณ์ ศรีคำแหง. 2545. ศักยภาพของการผลิตงาเป็น ไม้ประดับ. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืช สวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 11 น.
วิชชุดา รุ่งเรือง. 2537. ผลของโคลชิซินและรังสีแกมมาที่มี ต่อการกลายพันธุ์ของหน้าวัวพันธุ์ ‘Double Spathe’ ที่เลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 76 น.
วิมล ขวัญเอื้อ และ อนันต์ พู่พิทยาสถาพร. 2526. การชักนำให้เกิดโพลีพลอยด์ในพริกโดยใช้
สารโคลชิซิน. วารสารวิทยาศาสตร์. 37(7-8): .488-492.
Dyer, A.F. 1979. Investigating Chromosome. Edward Arnold (Publishers) Ltd., London. 138p.
Kobayashi, T. 1981. Some useful sesame mutants by induced mutations. p.146-150. In A. Ashri (ed.) Sesame: Status and Improvement Proceedings of Expert Consultation. FAO, Rome.
Laconcepcion. 2001. [Online]. Avaliable. http://lancocepcion.com.mx/pages/english/sesame_description.htm (29 July 2002)
Murty, G. S. S. 1980. Radiation induced small capsule mutant in sesame (Sesamum indicum L.) through gamma irradiation. Mysore Journal of Agricultural Science 18(2): 717-719 [Online]. Available.http://dbonline2.lib.cmu.ac.th/cabi/detail.nsp (25 September 2003).
Murty, G. S. S. 1988. Inheritance of three new mutants in sesame. Current Science (2): 39-43[Online]. Available.http://dbonline2.lib.cmu.ac.th/cabi/detail.nsp (25 September 2003).
Navale, P. A., P. N. Harder, W. S. Yadav and A.V. Tenduljar. 1997. Induced mutagenesis in Rajmah bean. Journal of Maharashtra Agricultural Universities 22(2): 244-245 [Online]. Available. http://dbonline2.lib.cmu.ac.th/cabi/detail.nsp (25 September 2003).
Ram, R., D. Catlin, J. Romero and C. Cowley. 1990. Sesame: New approaches for crop improvement. p.225-228. In J. Janick and J.E. Simon (eds.).Advances in New Crops. Timber Press,Portland,Oregon.
Ramachandran, N. N. and N. V. Gopinnathan. 1977. Mutagenic efficiency of gamma rays in Sesamum. Agricultural Research Journal of Kerala 15(2): 142-146. [Online]. Available.http://dbonline2.lib.cmu.ac.th/cabi/detail.nsp (25 September 2003).
Stewart, R. N. and H. Derman. 1970. Somatic genetic analysis of the apical layer of chimeral sport in chrysanthemum by experimental production of adventitious shoot. American Journal Botany 57: 1,061-1,071.
Umoh, E. O. and L. Etim. 1992. The mutagenic effect of colchicine on germination, morphology and yield of varieties of Vigna unguiculata L. Walpers (Papilinaceae) in Nigeria. Plant Breeding Abstracts 64(12): 1790.
Warren, W. 1998. Botanica. Periplus Editions (HK) Ltd., Singapore. 1008p.