งานวิจัยเชิงบูรณการ กระบวนการเคลื่อนยายองค์ความรู้จากหิ้งไปสู่ห้าง

นับถึงปัจจุบัน นักวิจัยทั้งหลายจะคุ้นเคยกับคำว่า "งานวิจัยชิงบูรณาการ" กันมากขึ้นเพราะเป็นนโยบายสนับสนุนงบประมาณวิจัยแบบใหม่ของรัฐบาล ที่ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเป็นเจ้าภาพดูแล แต่เดิมนักวิจัยจะคุ้นเคยแต่ "งานวิจัยเชิงเดี่ยว" หรือ"งานวิจัยเฉพาะเรื่อง" ที่มักเป็นหัวข้อที่นักวิจัยเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญหรือน่าสนใจเป็นหลัก ถ้าจะมีลักษณะชุดโครงการอยู่บ้างก็จะเป็นลักษณะของการรวมโครงการย่อยหลายโครงการเข้าด้วยกันเพื่อหาคำตอบเรื่องไดเรื่องหนึ่ง หรือแก้ปัญหาให้เกษตรกรหรือผู้มีส่วนได้เสียเฉพาะเรื่องไปเท่านั้นข้อแตกต่าง "งานวิจัยเชิงบูรณาการ" จากโครงการวิจัยดังกล่าวแล้วนี้ ก็คือ งานวิจัยเชิงบูรณาการจะมีเป้าหมายชัดเจนต้องการผลการวิจัยที่รวดเร็ว เห็นผลเชิงพัฒนาในระยะเวลาสั้นๆ มีขอบเขตการวิจัยกว้าง มีความซับซ้อนในเชิงมิติที่เกี่ยวข้องทั้งมิติฟื้นที่ มิติกิจกรรม และมิตินโยบายของรัฐอยู่ด้วยกัน จึงทำให้ต้องจัดการวิจัยในลักษณะที่เป็นบูรณาการ โดยโครงการวิจัยย่อยๆ จะมาต่อเชื่อมกันเพื่อให้สามารถนำผลการวิจัยไปดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมได้ทันที และเนื่องจากเป็นงานวิจัยที่ขอบเขตกว้างขวาง จึงต้องใช้บุคลากรและทุนวิจัยจำนวนมาก บางครั้งอาจใช้เงินถึง 1000-300ล้านบาทต่อโครงการต่อปีก็มี และจำเป็นต้องใช้นักวิจัยจากหลายสถาบันมาร่วมกันทำงาน

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในเชิงสาระ จะเห็นได้ว่า "โครงการวิจัยเชิงบูรณาการ" ที่ดำเนินการกันอยู่ ก็ไม่ใช่ "โจทย์วิจัย" ใหม่ๆ แต่อย่างใด เป็นเรื่องที่นักวิจัยดำเนินการกันอยู่แล้วก็มีเป็นเรื่องที่นักวิจัยดำเนินการเสร็แล้วก็มี เพียงแต่ผลงานเดิมยังไม่สามารถนำมาตอบยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ของรัฐบาลได้อย่างสมบูรณ์เท่านั้นเอง ยังมีช่องโหว่ที่ต้องการการศึกษาเพิ่มเติมอีกบ้างเพื่อให้องค์ความรู้ต่อเชื่อมกันอย่างเป็นระบบและสามารถนำไปปฏิบัติเชิงรุกตามนโยบายรัฐบาลได้จริงๆ ถ้าพิจารณาอย่างนี้ก็จะเห็นได้ว่า "โครงการวิจัยชิงบูรณาการ" ก็เป็นยุทธวิธีหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถประยุกต์ความรู้ "บนหิ้ง" ของเราให้เป็นประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น และอาจนำ"ไปสู่ห้าง" ได้ในที่สุด

ดังนั้น "โครงการวิจัยเชิงบูรณาการ" จึงเป็นเรื่องที่ควรสนับสนุน เพียงแต่นักวิจัยที่เกี่ยวข้องต้องไม่ลืมความสำคัญ 2 เรื่องที่จำเป็นต้องเชื่อมโยงไว้ในการดำเนินการอย่างแยบยลและเป็นรูปธรรม ได้แก่ ) การสืบค้นผลงานวิจัยเดิมที่มีอยู่แล้ว เพื่อนำมาเป็นฐานการพัฒนาต่อยอด2) การวิจัยชิงลึกในลักษณะ "งานวิจัยพื้นฐาน" เพราะถึงแม้จะเป็นการวิจัยเพื่อพัฒนา แต่ความยั่งยืนของผลการพัฒนาจะต้องอยู่บนฐาน "วิทยาศาสตร์ฟื้นฐาน" ด้วย เพราะในการนำไปปฏิบัติจริงองค์ความรู้ต้องมีความอ่อนตัวและสามารถตอบสนองต่อปัจจัยพื้นฐานของการพัฒนาที่มีการเปลี่ยนแปลง (Dynamic) อยู่ตลอดเวลา

เผยแพร่แล้ว: 2020-09-03

การขยายพันธุ์หม้อข้าวหม้อแกงลิงในสภาพปลอดเชื้อ

อำพร ขุมดินพิทักษ์ , อดิศร กระแสชัย , ธีรพล พรสวัสดิ์ชัย

1-9