ผลของการชะลอระยะเวลาตัดแต่งกิ่งต่อระยะเก็บเกี่ยวมะม่วงแก้วในภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

เบ็ญจวรรณ ชุติชูเดช
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มุ่งที่จะเพิ่มมูลค่าผลผลิตมะม่วงแก้ว ภายใต้สภาพที่ดอนอาศัยน้ำฝน ในเขตภาคเหนือตอนบนจึงกำหนดการทดลองที่มีวัตถุประสงค์เพื่อหาผลของการตัดแต่งกิ่งในช่วงระยะเวลาแตกต่างกัน ต่อการยืดระยะการสร้างดอกและอายุเก็บเกี่ยวผลผลิต วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มี 6 สิ่งทดลอง คือ การตัดแต่งกิ่งต้นมะม่วงเดือนมิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคมและกลุ่มควบคุม (ไม่ตัดแต่งกิ่ง) ทดลองระหว่างเดือนมิถุนายน 2544-มิถุนายน 2545 กับต้นมะม่วงแก้วต่อกิ่งบนต้นตอตลับนาก อายุ 12 ปี จำนวน 4 ซ้ำ บนพื้นที่เกษตรกร ในเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมโครงการป่าจอมทอง กิ่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ โดยให้ 1 ต้นเป็น 1 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า การชะลอระยะเวลาตัดแต่งกิ่งไม่มีผลต่อจำนวนชุดใบใหม่ ระยะการพัฒนาของดอก ขนาดช่อดอก เปอร์เซ็นต์ดอกสมบูรณ์เพศ และอายุเก็บเกี่ยวผลผลิต แต่มีผลต่อปริมาณผลผลิตและการร่วงของผล โดยต้นมะม่วงที่ตัดแต่งกิ่งเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมให้ผลผลิตสูงสุด (201.9 และ 249.6 กิโลกรัมต่อต้น) ขณะที่ต้นที่ตัดแต่งกิ่งเดือนตุลาคมให้ผลผลิตน้อยที่สุด (37.6 กิโลกรัมต่อต้น) นอกจากนี้การร่วงของผลยังพบปริมาณสูงสุดจากต้นที่ตัดแต่งเดือนตุลาคม (89.4%) จากการทดลองชะลอระยะเวลาการตัดแต่งกิ่งมะม่วงแก้วบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน ส่งผลให้ผลผลิตลดปริมาณลง โดยไม่มีผลต่อการยืดระยะการสร้างดอกและอายุเก็บเกี่ยวผลผลิต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปฐมา เดชะ ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ และ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์. 2545. พัฒนาการของมะม่วงแก้วในสภาพที่ดอนอาศัยน้ำฝน : พฤติกรรมการออกดอกและติดผล. ว. วิทย. กษ. 33 (4-5) : 67-70.
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ และ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์. 2545. มะม่วงแก้ว ไม้ผลเพื่อความหวังและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ. สำนักพิมพ์มติชน, กรุงเทพฯ. 199 น.
รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์ ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ และ ปฐมา เดชะ. 2545. พัฒนาการของมะม่วงแก้วในสภาพที่ดอนอาศัยน้ำฝน : ความแปรปรวนการร่วงของผลระหว่างสายต้น. ว. วิทย. กษ. 33 (4-5) : 71-74.
วิจิตร วังใน. 2529. มะม่วง. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 301 น.
สุวิมล เชื้อสุวรรณ. 2534. การผลิยอดใหม่ของมะม่วงบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 55 น.
Burondkar, M.M., R.T. Bhingarde, V.N. Kore and A.G. Power. 2000. Estimation of heat units as maturity indices for different mango varieties in Konkan region of Maharshtra. Acta Hort. 509 : 297-299.
Davie, S.J., P.J.C. Stassen and H.G. Grove. 2000. Starch reserves in the mango tree. Acta Hort. 509 : 335-346.
Finnemore, H.J. 2000. A perspective on the South African mango industry (past & future). Acta Hort. 509 : 39-49.
Ho, L.C. 1988. Metabolism and compartmentation of imported sugars in sink organs in relation to sink strength. Ann. Rev. Plant Physiol. Plant Mol. Biol. 39 : 355-378.
Issarakraisila, M. and J.A. Considine. 1991. Pattern of vegetative and reproductive growth of mango trees in a warm temperate region of western Australia. Acta Hort. 291 : 188-197.
Kalra, S.K., D.K. Tandon and B.P. Singh. 1995. Mango. pp. 123-170. In Salunkhe, D.K. and S.S. Kadam. (eds). Handbook of Fruit Science and Technology. Marcel Dekker, Inc., New York.
Menzel, C.M. and D.R. Simpson. 1992. Growth, flowering and yield of lychee cultivar. Scientia Horticulturae 49 : 243-254.
Myers, S.C. and A.T. Savelle. 1996. Coordination of vegetative and reproductive growth : root restriction, branch manipulation, and pruning. pp. 69-80. In Maib, K.M., P.K. Andrews, G.A. Lang and K. Mullinix. (eds). Tree Fruit Physiology : Growth and Development. Good Fruit Grower A Division of Washington State Fruit Commission, Washington.
Nunez-Elisea, R. and T.L. Davenport. 1995. Effect of leaf age, duration of cool temperature treatment and photoperiod on bud dormancy release and floral initiation in mango. Scientia Horticulturae 62 : 63-73.
Oliveira, C.M. and C.A. Priestley. 1988. Carbohydrate reserves in deciduous fruit trees. Hort. Rev. 10 : 403-430.
Oosthuyse, S.A. and G. Jacobs. 1999. Flowering synchronization of ‘Sensation’ mango trees by winter pruning. Acta Hort. 509 : 422-430.
Ponce de Leon G.L., M.C. Barbosa, G.E. Guillen, I.V. Garcia, S.J. Sepulveda and C.G. Hernandez. 2000. Advances in the development of early mango fruit. Acta Hort. 509 : 253-258.
Pongsomboon, W., S. subhadrabandhu and R.A. Stephenson. 1997. Some aspects of the ecophysiology of flowering intensity of mango (Mangifera indica L.) cv. Nam Dok Mai in a semi-tropical monsoon Asian climate. Scientia Horticulturae 70 : 45-56.
Sasaki, R., N. Utsunomiya and H. Inoue. 2000. Floral induction in axillary buds affected by pruning at panicle emergence in mango trees cv. Irwin grown in plastic house in Japan. Acta Hort. 509 : 301-306.
Saure, M. 1992. Interference of pruning with endogenous growth control. Acta Hort. 322 : 241-248.
Schaffer, B., A.W. Whiley and J.H. Crane. 1994. Mango. pp. 165-197. In Schaffer,B. and P.C. Anderson. (eds). Handbook of Environmental Physiology of Fruit Crops. Vol II : Sub-Tropical and Tropical Crops. CRC Press, Inc. Florida.
Whiley, A.W. 1993. Environmental effects on phenology and physiology of mango – A review. Acta Hort. 341 : 168-176.
[URL 1] The Mango [ONLINE]. Available  http : / / porcupine. yi. org / Mango_ net / The _ Mango. html Open document [15 December 2000]