เซลล์พันธุศาสตร์และการถ่ายทอดสีดอกของฟิวเชีย

Main Article Content

วันทนา มุทิตา
ณัฐา ควรประเสริฐ

บทคัดย่อ

การผสมพันธุ์ฟิวเชีย 7 สายพันธุ์ โดยการผสมตัวเอง 1 คู่และผสมข้าม 6 คู่ผสม พบว่ามีเปอร์เซ็นต์การติดฝักค่อนข้างต่ำ เปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดต่ำและได้จำนวนต้นลูกผสมน้อย การถ่ายทอดสีของกลีบเลี้ยง  ยีนที่ควบคุมกลีบเลี้ยงสีแดงเป็นสีเด่น  หรือยีนที่ควบคุมสีกลีบเลี้ยงอาจเป็นยีนที่มากกว่า  1 คู่  หรือเป็น 2 คู่   และมีการข่มข้ามคู่กัน ส่วนสีของกลีบดอก  ยีนที่ควบคุมสีของกลีบดอกอาจมี  2  คู่  โดยยีนที่ควบคุมตำแหน่งที่ 1 ที่ให้สีแดง  เป็นยีนเด่น  และยีนที่ควบคุมตำแหน่งที่ 2  ที่ให้สีขาวเป็นยีนด้อยและยีนทั้งสองนี้สามารถข่มข้ามคู่ได้ การศึกษาการงอกของละอองเกสร  พบว่า ฟิวเชีย 7 สายพันธุ์ ที่ใช้ในการทดลอง สามารถงอกในอาหารเหลวที่ปริมาณน้ำตาลซูโครสมีความเข้มข้น 0.2 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นของน้ำตาลเพิ่มมากขึ้น เปอร์เซ็นต์การงอกของละอองเกสรลดลง จำนวนโครโมโซมของฟิวเชีย ต้นพ่อแม่พันธุ์ มีจำนวนตั้งแต่ 62 – 90 แท่ง  ส่วนต้นลูกผสมมีจำนวนโครโมโซมตั้งแต่ 75 – 90

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดนัย บุณยเกียรติ. 2540. สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวของพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 222 น.
นพพร สายัมพล. 2543. เทคนิคการปรับปรุงพันธุ์พืช. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 261 น.
Lesly, Y. 1996. Success with Fuchsia. Wing King Tong Ltd., Hong Kong. 63 p.
Kim, T. and C. Allen. 1998. The Complete Book of Shrubs. Reed Book Ltd., Hong Kong. 224 p.
Kamemoto, H. and A. R. Kuehele. 1996. Breeding Anthuriums in Hawaii. University. of Hawaii Press, Honolulu. 132 p.