รวบรวม ศึกษาและคัดเลือกพันธุ์กระชายดำ: องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากเหง้ากระชายดำ

Main Article Content

เสริมสกุล พจนการุณ
เชวง แก้วรักษ์

บทคัดย่อ

ทำการรวบรวมพันธุ์กระชายดำจากแหล่งปลูกการค้าในจังหวัดเลย พิษณุโลกและเพชรบูรณ์จำนวน 12 สายพันธุ์ ในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2546  ศึกษาสีเนื้อในเหง้ากระชายดำในระบบสี a*L*b* ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย แล้วจัดกลุ่มที่คล้ายคลึงกันในลักษณะสีเนื้อในเหง้ากระชายดำด้วยวิธี Unweighted pair group method cluster analysis (UPGMA) ได้เป็น 6 กลุ่ม ทำการเปรียบเทียบองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากเหง้ากระชายดำในแต่ละกลุ่มโดยใช้เครื่องมือ Gas chromatograph/Mass spectrometer (GC-MS) ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2546 ณ ภาควิชาเภสัชเวท คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ(p<0.05)ระหว่างสายพันธุ์กระชายดำที่ศึกษาในด้านปริมาณน้ำมันหอมระเหยภายในเหง้ากระชายดำโดยกลุ่มสายพันธุ์ที่มีสีเนื้อในเหง้าสีจางมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยภายในเหง้าสูงกว่ากลุ่มสายพันธุ์ที่มีสีเนื้อในเหง้าสีเข้มมาก ยกเว้นสายพันธุ์‘ร่มเกล้า’ พบความแตกต่างด้านองค์ประกอบทางเคมี 51 ชนิดของน้ำมันหอมระเหยภายในเหง้ากระชายดำระหว่างสายพันธุ์กระชายดำที่ศึกษาโดยเฉพาะ endo-fenchol และ borneol จากการจัดกลุ่มที่คล้ายคลึงกันในองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยภายในเหง้ากระชายดำด้วยวิธี UPGMA สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ (5 กลุ่มย่อย) พบความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยภายในเหง้าและสีเนื้อในเหง้ากระชายดำ โดยเฉพาะกลุ่มสายพันธุ์ที่มีสีเนื้อในเหง้าสีจางนั่นคือ สายพันธุ์กระชายดำที่แตกต่างกันมีผลต่อปริมาณและองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยภายในเหง้ากระชายดำ ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตไวน์สมุนไพรกระชายดำ และทำมาตรฐานเกี่ยวกับกลิ่นของไวน์และผลิตภัณฑ์แปรรูปกระชายดำรูปแบบอื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประเชิญ สร้อยทองคำ และสุเทพ เฉียบแหลม. 2542. กระชายดำ สมุนไพรไทยสู้ไวอะกร้า. วนสาร. 57(2) : 134-138.
ภาณุทรรศน์ (นามแฝง). 2543. ความล้ำลึกตำรับยาพลังเพศสมุนไพรยุคโบราณของไทย. บริษัทเพาเวอร์ ปริ้น จำกัด. กรุงเทพฯ. 160 หน้า.
วิชัย จินดาเหม. 2543. กระชายดำสมุนไพรมากคุณค่าที่เมืองเลย. เทคโนโลยีชาวบ้าน. 12 : 241. 15 มิถุนายน 2543. หน้า 38.
ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้. 2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัทประชาชน จำกัด. กรุงเทพฯ. 810 หน้า.
โสภี ทุมลา. 2545. ไวน์สมุนไพรอาชีพเสริมทำเงิน พ่อพิมพ์-แม่พิมพ์เมืองสองแคว. เทคโนโลยีชาวบ้าน. ปีที่ 14 ฉบับที่ 293: 15 สิงหาคม 2545 หน้า 40-41.
เสริมสกุล พจนการุณ และเชวง แก้วรักษ์. 2546ก. ทัศนคติ พฤติกรรมการบริโภค และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรกระชายดำของผู้บริโภค: กรณีศึกษา อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ใน: การสัมมนาวิชาการเกษตรประจำปี2546 มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 27-28 มกราคม 2546. ขอนแก่น. หน้า 653-669.
เสริมสกุล พจนการุณ และเชวง แก้วรักษ์. 2546ข. การผลิตและจำหน่ายกระชายดำของเกษตรกรจังหวัดเลย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์. การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 23-25 เมษายน 2546 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น
กรุงเทพมหานคร. หน้า 160.
อภิชาต ชิดบุรี. 2543. ผลิตต้นพันธุ์กระชายดำ (โสมไทย) ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. เคหการเกษตร. 24(7) : 140-143.
Adams, R.P. 1995. Identificaltion of Essential Oil Components by Gas Chromatography / Mass Spectroscopy. Allured Publishing, Illinois.
Pojanagaroon, S. and C. Kaewrak, 2003. Varietal Selection of Collected Krachai-Dam (Kaempferia parviflora Wall.) Rhizomes by Using the Preference of Krachai – Dam Products’
Distributors and Sellers. p. 401-407. In: Proceedings of the International Conference on Biodiversity and Bioactive compounds, 17-19 July 2003, PEACH, Pattaya, 561p.
Pojanagaroon, S., R. Rraphet, C. Kaewrak and A. Yotdi. 2003. Collection, Study and Selection of Krachai-Dam (Kaempferia paviflora) Cultivars: Identification of Krachai-Dam Cultivars using RAPD (Oral presentation). p. 226. In: 29th Congress on Science and Technology of Thailand, 20-22 October 2003, Golden Jubilee Convention Hall, Khon Kaen University, Khon Kaen, 301p.