การใช้ถั่วมะแฮะเป็นอาหารสัตว์ 4. คุณค่าทางโภชนาการของใบถั่วมะแฮะในไก่เนื้อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
คุณค่าทางโภชนาการของใบถั่วมะแฮะ ได้ทำการศึกษากับถั่วมะแฮะสายพันธุ์ลูกผสม ซึ่งมีปริมาณสารยับยั้งทริพซิน 1.0 mg TI/g. โดยปลูกเองที่บริเวณฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทดลอง ภาควิชาสัตวบาลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปรากฏว่า มีปริมาณสารอินทรีย์ (OM), โปรตีน (CP), ไขมัน (EE), เยื่อใย (CP) และคาร์โบไฮเดรทที่ละลายง่าย (NFE) คิดเป็นร้อยละของวัตถุแห้ง (DM) เท่ากับ 87.1, 24.6, 5.9, 31.0 และ 26.1% ตามลำดับ เมื่อนำไปแทนที่อาหารฐานระดับต่างๆ (0-15%) เพื่อใช้เลี้ยงไก่เนื้อที่โตเต็มวัย จำนวน 4 ตัว ด้วยแผนการทดลองแบบลาตินสแควร์ (Latin square design) ปรากฏว่า ใบถั่วมะแฮะมีค่าพลังงานใช้ประโยชน์ 1.370 กิโลแคลอรี่/กรัมวัตถุแห้ง ในขณะที่พลังงานรวมมีค่า 5.187 กิโลแคลอรี่/กรัมวัตถุแห้ง และการย่อยได้ของ DM, OM, CP, EE, CF และ NFE ซึ่งเฉลี่ยจากการหาโดยวิธีผลต่าง และสมการถดถอย มีค่าเท่ากับ 1.2, 9.2, 4.1, 27.7, -15.9 และ 44.5% ตามลำดับ
Article Details
References
ตั้งทวีวิพัฒน์, สุชน., เวียรศิลป์, เทอดชัย. และชีวะอิสระกุล, บุญล้อม. (2531). การหาค่าพลังงานใช้ประโยชน์ของข้าวเปลือกบดและถั่วมะแฮะบด โดยวิธีการแทนที่ส่วนของอาหารเปรียบเทียบและการใช้เป็นอาหารเดี่ยวในสัตว์ปีก ว.เกษตร 4(2): 108-121.
ตั้งทวีวิพัฒน์, สุชน. และชีวะอิสระกุล, บุญล้อม. (2534). การใช้ถั่วมะแฮะเป็นอาหารสัตว์ 1. ใบถั่วมะแฮะในอาหารไก่เนื้อ. ว. เกษตร 7(2): 118-133.
ศีตะโกเศศ, ปราโมช., สรวมศิริ, สมปอง. และเสือภู่, กริสน์. (2533). การใช้ประโยชน์จากใบถั่วมะแฮะเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารสัตว์ 1. การเจริญเติบโต การให้ผลผลิต คุณค่าทางอาหาร และต้นทุนการผลิต. รายงานการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 28, สาขาสัตว์ สัตวแพทย์และประมง, หน้า 103-112. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพ.
A.O.A.C. (1980). Association of Official Analytical Chemists, 13th ed. Washington, DC., USA.
National National Research Council (NRC). (1984). Nutrient requirements of poultry, 8th ed. Academy Press, Washington, DC., USA.
Udedibie, A.B. and Igwe, F.O. (1989). Dry matter yield and chemical composition of pigeon pea (Cajanus cajan) leaf meal and the nutritive value of pigeon pea leaf meal and grain meal for laying hens. Anim. Feed Sci. Technol. 24(1-2): 111-119.
Visitpanich, T., Batterham, E.S. and Norton, B.W. (1985). Nutritional value of chickpea (Cicer arietinum) and pigeonpea (Cajanus cajan) meals for growing pigs and rats. 1. Energy content and protein quality. Aust. J. Agric. Res. 36: 327-335