การผลิตไบโอดีเซลจากยีสต์สะสมไขมันสูงโดยใช้ไฮโดรไลเสทซังข้าวโพดเป็นแหล่งคาร์บอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาความสามารถในการผลิตไขมันจากยีสต์ศักยภาพสูงที่สะสมไขมันในเซลล์จ านวน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์BJMK02, CTWY07, CTWY19 และ SCMK77 ในอาหารไฮโดรไลเสทซังข้าวโพด ภายใต้สภาวะจ ากัดแหล่งไนโตรเจน โดยการปรับสภาพซังข้าวโพดด้วยกรดซัลฟูริกและกรดฟอสฟอริก พบว่า ไฮโดรไลเสทเริ่มต้นมีน้ าตาลทั้งหมดและน้ าตาลรีดิวซ์เท่ากับ182.32 และ 2.34 มิลลิกรัมต่อลิตร ก าจัดสารพิษในไฮโดรไลเสทด้วยวิธี over liming ร่วมกับการดูดซับด้วยผงคาร์บอน และใช้เป็นสับสเตรทในการผลิตไขมันโดยยีสต์สะสมไขมันสูงทั้ง 4 สายพันธุ์หมักในระดับฟลาสก์เป็นเวลา 144 ชั่วโมง พบว่า ยีสต์รหัส CTWY07 ให้ปริมาณไขมันสูงสุดเท่ากับร้อยละ 34.43 ของน้ าหนักแห้ง เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์อื่นๆ องค์ประกอบของกรดไขมันจากยีสต์รหัส CTWY07 ส่วนใหญ่ คือ กรดปาล์มมิติก และกรดโอเลอิก ดังนั้นซังข้าวโพดจึงมีศักยภาพในการใช้เป็นสับสเตรทในการผลิตไขมันจากจุลินทรีย์สะสมไขมันสูง และสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทนในรูปไบโอดีเซล