การสกัดเซลลูโลสจากไซยาโนแบคทีเรียนอสตอกเพื่อเป็นแหล่งพลังงานทางเลือก

Main Article Content

นิศารัตน์ เพชรพรม
วศิน เจริญหมั่น
บงกช บุญบูรพงศ์
อาภรณ์ บัวหลวง
สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดเซลลูโลสจากไซยาโนแบคทีเรียนอสตอกนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานทางเลือกนำเซลล์แห้งไซยาโนแบคทีเรียนอสตอก จำนวน 1 กรัม ทำการสกัดเซลลูโลสตามขั้นตอนดังนี้ 1) กำจัดคลอโรฟิลล์โดยใช้เอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 25  50 75 และ 100 โดยปริมาตรต่อปริมาตร 2) กำจัดลิพิดโดยใช้เฮกเซนความเข้มข้นร้อยละ 25 50  75 และ 100 โดยปริมาตรต่อปริมาตร 3) กำจัดโปรตีนโดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้นร้อยละ 5  10 15 และ 20 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร และ 4) ฟอกขาวโดยใช้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ความเข้มข้นร้อยละ 10 20 และ 30 โดยปริมาตรต่อปริมาตร พบว่า ภาวะที่เหมาะสมในการสกัดเซลลูโลสจากไซยาโนนอสตอก คือ ใช้เอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 100 โดยปริมาตรต่อปริมาตร ใช้เฮกเซนความเข้มข้นร้อยละ 100 โดยปริมาตรต่อปริมาตร ใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร และใช้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ความเข้มข้นร้อยละ 30 โดยปริมาตรต่อปริมาตร พบว่า นอสตอกให้ร้อยละผลผลิตเซลลูโลส เท่ากับ ร้อยละ 78.92 นำเซลลูโลสจากนอสตอก ย่อยด้วยเอนไซม์เซลลูเลสเพื่อวิเคราะห์ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ พบว่า นอสตอก ให้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ เท่ากับ 27.45 mg/g cellulose จากการศึกษานี้อธิบายได้ว่าเซลลูโลสจากนอสตอกสามารถย่อยด้วยเอนไซม์เซลลูเลสเป็นน้ำตาลรีดิวซ์สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทนได้

Article Details

How to Cite
เพชรพรม น., เจริญหมั่น ว., บุญบูรพงศ์ บ., บัวหลวง อ., & ละลอกน้ำ ส. (2021). การสกัดเซลลูโลสจากไซยาโนแบคทีเรียนอสตอกเพื่อเป็นแหล่งพลังงานทางเลือก. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 18(2), 24–32. https://doi.org/10.14456/paj.2021.17
บท
บทความวิจัย