Species Diversity and Distribution of Rotifers and Cladocerans in Freshwater Habitats in Kamphaeng Saen District, Nakhon Pathom Province ความหลากชนิดและการกระจายของโรติเฟอร์และคลาโดเซอแรน ในแหล่งน้ำจืด อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

สุปิยนิตย์ ไม้แพ
ณัฐธิดา จันทวงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิดและการกระจายของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มโรติเฟอร์เเละคลาโดเซอแรนในแหล่งน้ำจืด 7 แหล่ง ในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยเก็บตัวอย่างเชิงคุณภาพด้วยถุงแพลงก์ตอนขนาดตา 60 ไมโครเมตร ทุก 2 เดือน ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 และตรวจวัดปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมบางประการ พบความหลากชนิดของโรติเฟอร์และคลาโดเซอแรนรวม 44 ชนิด เป็นโรติเฟอร์ 31 ชนิด และคลาโดเซอแรน 13 ชนิด โดยความหลากชนิดของทั้งสองกลุ่มสูงในช่วงฤดูฝนและลดลงในช่วงฤดูแล้ง นอกจากนี้พบว่าแหล่งน้ำที่มีทั้งพืชริมตลิ่งและพืชน้ำและไม่ได้รับการรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์ มีความหลากชนิดของคลาเซอแรนและโรติเฟอร์สูงกว่าแหล่งน้ำที่มีพืชน้ำน้อยและได้รับการรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์ และพบว่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำและปริมาณไนเตรท ส่งผลต่อการกระจายของสังคมโรติเฟอร์และคลาโดเซอแรน (eigenvalue axis 1 = 0.463 axis 2 = 0.324 r =0.916 p = 0.27) โดยทั้งสองกลุ่มมักพบกระจายอยู่ในแหล่งน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำสูง (4.52-8.02 มิลลิกรัมต่อลิตร) และพบกระจายน้อยกว่าในแหล่งน้ำที่มีปริมาณไนเตรทสูง (8.12-12.42 มิลลิกรัมต่อลิตร) ผลที่ได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างชนิดกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้เป็นดัชนีประเมินคุณภาพแหล่งน้ำต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2563). ปริมาณน้ำฝน ปี พ.ศ.2561-2562. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563, จาก: https://www.tmd.go.th/.

จิราพร เจริญวัฒนาพร และสุรีย์ สตภูมินทร์. (2551). การติดตามตรวจสอบชนิดและปริมาณแพลงก์ตอนพืชบริเวณชายฝั่งทะเลรอบเกาะภูเก็ต. การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเล. ภูเก็ต.

พรรณา วันซวง และละออศรี เสนาะเมือง. (2549). ความหลากชนิดของโรติเฟอร์ คลาโดเซอแรนและโคพีพอดในแหล่งน้ำชั่วคราว จังหวัดอุบลราชธานี. รายงานการวิจัยในโครงการ BRT. ขอนแก่น.

รัชดา ไชยเจริญ. (2559). ความหลากชนิดของแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ในอ่างเก็บน้ำบางพระ. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 21(3), 58-72.

ลัดดา วงศ์รัตน์. (2530). แพลงก์ตอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุเปญญา จิตตพันธ์. (2552). ความหลากหลายของโรติเฟอร์ในคลองส่งน้ำเข้าสู่นาข้าวในเขตอำเภอเมืองและอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 17(3), 53-60.

เสาวภา อังสุภานิช. (2528). แพลงก์ตอนสัตว์. สงขลา: คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อิสราภรณ์ จิตรหลัง. (2547) การแพร่กระจายของแพลงก์ตอนสัตว์ในอ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Chang, K.H., Sakamoto, M. and Hanazato, T. (2005). Impact of pesticide application on zooplankton communities with different densities of invertebrate predators: An experimental analysis using small-scale mesocosms. Aquatic Toxicology, 72(4), 373-382.

Chittapun, S., Pholpunthin, P. and Sanoamuang, L. (2009). Diversity and composition of zooplankton in rice fields during a crop cycle at Pathum Thani province, Thailand. Songklanakarin Journal Science and Technology, 31(3), 261-267.

Hanazato, T. (2001). Pesticide effects on freshwater zooplankton: An ecological perspective. Environmental Pollution, 112(1), 1-10.

Jaturapruek, R., Fontaneto, D., Meksuwan, P., Pholpunthin, P. and Maiphae, S. (2018). Planktonic and periphytic bdelloid rotifers from Thailand reveal a species assemblage with a combination of cosmopolitan, tropical, and yet undescribed species. Systematics and Biodiversity, 16(2), 128-141.

Korovchinsky, N.M. (2013). Cladocera (Crustacea: Branchiopoda) of South East Asia: history of exploration, taxon richness and notes on zoogeography. Journal of Limnology, 72(s2), 109-124.

Maiphae, S. (2014). A taxonomic guide to the common cladocerans in peninsular Thailand, edited by K. Van Damme. Princess Maha Chakri Sirindhorn Natural History Museum, Faculty of Science, Prince of Songkla University. Bangkok: O.S. Printing House Co., Ltd.

Matsumura-Tundisi, T., Rietzler, A.C., Espindola, E.L.G., Tundisi, J.G. and Rocha, O. (1990). Predation on Ceriodaphnia cornuta and Brachionus calyciflorus by two Mesocyclops species coexisting in Barra Bonita reservoir (SP, Brazil). In Dumont, H.J., Tundisi, J.G., Roche, K. (Eds). Intrazooplankton Predation Developments in Hydrobiology, pp. 60. Springer: Dordrecht.

Meksuwan, P., Jaturapruek, R. and Maiphae, S. (2018). Two new species of genus Limnias from Thailand, with keys to congeners (Rotifera, Gnesiotrocha). ZooKeys, 787, 1-15.

Sa-ardrit, P., Pholpunthin, P. and Segers, H. (2013). A checklist of the freshwater rotifer fauna of Thailand (Rotifera, Monogononta, Bdelloidea). Journal of Limnology, 72(s2), 353-365.

Sanoamuang, L. (1998). Rotifera of some freshwater habitats in the floodplain of the River Nan, Northern Thailand. Hydrobiologia, 387, 27-33.

Tiang-Nga, S., Sinev, A.Y. and Sanoamuang, L. (2016). A new species of the genus Anthalona Van. Damme, Sinev & Dumont, 2011 (Cladocera: Anomopoda: Chydoridae) from North-East Thailand. Zootaxa, 4150(1), 93-100.

Virro, T. (1993). Rotifers from Lake Yaskhan, Turkmenistan. Limnologica, 23(3), 233-236.

Wetzel, R.G. (1983). Limnology. Philadelphia: W.B. Saunders Company.

Zaret, T.M. (1969). Predation Balanced Polymorphism of Ceriodaphnia cornuta Sars 1885. Limnology and oceanography, 14(2), 301-303.