Development of Machine Making Khai Mod Rin Rice Powder for Household Food Processing Group การพัฒนาเครื่องทำนมผงจากข้าวไข่มดริ้น สำหรับกลุ่มแปรรูปอาหารในครัวเรือน
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประดิษฐ์ต้นแบบเครื่องทำนมผงจากข้าวไข่มดริ้นสำหรับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไข่มดริ้น อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช เครื่องทำนมผงจากข้าวไข่มดริ้นประกอบด้วย โครงสร้างเครื่องทำนมผง ห้องทำแห้ง ชุดทำละออง และชุดแยกอนุภาคผงออกจากอากาศ เครื่องทำนมผงมีลักษณะเฉพาะคือ มีกำลังการผลิตเหมาะสม สะดวก ใช้งานง่าย ในระดับครัวเรือนหรือวิสาหกิจชุมชน สามารถขนย้ายได้โดยรถกระบะ ผลการศึกษาการทดสอบเครื่องทำนมผงจากข้าวไข่มดริ้นสรุปได้ว่าเครื่องทำนมผงจากข้าวไข่มดริ้นมีสมรรถนะการผลิตประมาณ 1.2 กิโลกรัมต่อชั่วโมง สำหรับระยะเวลาคืนทุนของเครื่องทำนมผงจากข้าวไข่มดริ้นจะมีจุดคุ้มทุนที่ 6.6 ปี หรือที่กำลังการผลิตประมาณ 23,220 กิโลกรัม
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นลิขสิทธ์ของวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชก่อนเท่านั้น
The content and information in the article published in Wichcha journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, It is the opinion and responsibility of the author of the article. The editorial journals do not need to agree. Or share any responsibility.
References
จิรวัฒน์ จึงเจริญสุขยิ่ง. (2560). การออกแบบไซโคลนโดยจำลองกระบวนการและการพิมพ์สามมิติ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
จุฑามาศ ถิระสาโรช และเฉลิมพล ถนอมวงค์. (2553). การหมักผลิตภัณฑ์คล้ายนมเปรี้ยวจากน้ำนมข้าวกล้องหอมมะลิ. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 38(1), 87-95.
จุฑามาศ ถิระสาโรช และเฉลิมพล ถนอมวงค์. (2558). การผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากข้าวหอมนิล. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 43(3), 395-402.
ปิยะวัฒน์ ศรีธรรม และเดชชาติ เชิดชัย. (2559). การศึกษาและปรับปรุงกล่องควบคุมการทำงานเครื่องยนต์ลูกสูบเดียวระบบหัวฉีดเพื่อใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 เป็นเชื้อเพลิง. วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ, 2(1), 33-46.
โพธิ์ทอง ปราณีตพลกรัง. (2563). เทคนิคการอบแห้งแบบพ่นฝอยสำหรับอบแห้งผลผลิตทางการเกษตร. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 12(2), 347-361.
ระวิน สืบค้า. (2556). เทคโนโลยีการลดความชื้น. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 23(2), 500-512.
วรพงค์ บุญช่วยแทน ชาตรี หอมเขียว และวรรธนพร ชีววุฒิพงศ์. (2564). การพัฒนาเครื่องแยกเนื้อและเส้นใยผลตาลโตนด. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 40(1), 76-90.
เอกชัย สุธีรศักดิ์ เพ็ชรพงษ์ สุกใส สราวุธ ฤทธิอร่าม ศรัณย์ โพสาวัง และอติวิชญ์ สิริวิชัยกุล. (2558). การตรวจสอบสเปรย์เชื้อเพลิงและสมรรถนะของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลผสมเอทานอล. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., 8(1), 1-14.
Kuriakose, R. and Anandharamakrishnan, C. (2010). Computational fluid dynamics (CFD) applications in spray drying of food products. Trends in Food Science & Technology, 21(8), 383-398.
Ozmen, L. and Langrish, T.A.G. (2002). Comparison of glass transition temperature and sticky point temperature for skim milk powder. Drying Technology, 20(6), 1177-1192.