ผลของการอบดินแปลงแม่พันธุ์เบญจมาศด้วยไอน้ำต่อจุลินทรีย์ดิน

Main Article Content

กนกอร อัมพรายน์
ศิริพร เปรมฤทธิ์
ณัฐพงค์ จันจุฬา

บทคัดย่อ

การเพาะปลูกเบญจมาศบนพื้นที่เดิมอย่างต่อเนื่องมักจะประสบปัญหาการสะสมของโรคพืชในดิน ซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้กับการเพาะปลูกและผลผลิตได้ การกำจัดเชื้อก่อโรคทางดินด้วยการใช้ไอน้ำเป็นทางเลือกที่มีการรายงานว่าปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ในการศึกษานี้จึงนำวิธีการอบวัสดุอย่างง่ายด้วยไอน้ำแบบคลุมด้วยผ้าพลาสติก (sheet steaming) มาประยุกต์ใช้กับแปลงปลูกแม่พันธุ์เบญจมาศของเกษตรกรบ้านใหม่พัฒนา ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ที่เคยพบปัญหาโรคทางดินของเบญจมาศ โดยคลุมแบบแปลงคู่ด้วยพลาสติกทนร้อนให้มีขนาดพื้นที่ขนาด 2x12 เมตร สอดท่อไอน้ำของเครื่องกำเนิดไอน้ำเข้าด้านหัวแปลง อบนาน 90 นาที หลังจากเริ่มต้มน้ำ อุณหภูมิดินหลังเดินเครื่อง 30 นาที อยู่ระหว่าง 57.5-61.8 องศาเซลเซียส การอบดังกล่าวสามารถลดปริมาณแบคทีเรียดินลงได้ 2 log cycle และลดปริมาณราดินลงได้มากกว่า 4 log cycle ตรวจไม่พบเชื้อรา Pythium จากดินที่สุ่มเก็บทุกจุด แต่ยังคงพบ Fusarium ในตัวอย่างดินที่ผ่านการอบในจุดที่ไกลจากท่อพ่นไอน้ำที่ระยะระหว่าง 9-12 เมตร

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กิตติมา รามัญวงษ์ วินันท์ดา หิมะมาน จันจิรา อายะวงศ์ และสมโภชน์ มณีรัตน์. (2543). การสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับราในดินบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันออก. วารสารวิชาการป่าไม้, 2(2), 117-124.

ทิพาพร อยู่วิทยา. (2535). การกำหนดกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน. อาหาร, 22(4), 39-50.

ธวัชชัย ทีฆชุณหเถียร และศุภณัฏฐ์ กาญจนวัฒนาวงศ์. (ม.ป.ป.). เบญจมาศตัดดอก ที่อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2565, จาก: http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/2083/1/BIB1284_F.pdf.

เลขา มาโนช. (2555). ราดินและราจากเศษซากพืช. ใน อรอุมา เพียซ้าย. บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพรา, หน้า 33-50. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน).

วัชรี เสาร์เทพ อรอุมา เพียซ้าย และพัชรวิภา ใจจักรคำ. (2560). การจำแนกชนิดของเชื้อรา Aspergillus spp. และ Penicillium spp. ที่ปนเปื้อนในอาหารผลิตผลทางการเกษตร และดินเพาะปลูก และการสร้างสารพิษอะฟลาท็อกซิน บี1. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 48(1), 127-138.

American Society for Testing and Materials Interntional. (2009). Standard test methods for laboratory compaction characteristics of soil using standard effort (12,400 ft-lbf/ft3 (600 kN-m/m3)). Retrieved 23 July 2022, from: https://www.resolutionmineeis.us/sites/default/files/references/astm-D698.pdf.

Huh, D.A., Chae, W.R., Lim, H.R., Kim, J.H., Kim, Y.S., Kim, Y.W. and Moon, K.W. (2020). Optimizing operating parameters of high-temperature steam for disinfecting total nematodes and bacteria in soil: Application of the box-behnken design. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(14), 5029-5044, doi: https://doi.org/10.3390/ijerph17145029.

Inga, M. (2020). Fusarium wilt problematic on Chrysanthemum in 2020. Retrieved 15 July 2022, from: https://plantpathology.ces.ncsu.edu/2020/09/fusarium-wilt-problematic-on-chrysanthemum-in-2020/.

Luvisi, A., Materazzi, A. and Triolo, E. (2008). Control of soil-borne diseases in tomato by use of steam and an exothermic reaction. Advances in Horticultural Science, 22(3), 174-181.

Roux-Michollet, D., Dudal, Y., Jocteur-Monrozier, L., and Czarnes, S. (2010). Steam treatment of surface soil: How does it affect water-soluble organic matter, C mineralization, and bacterial community composition?. Biology and Fertility of Soils. 46(6), 607-616, doi: https://doi.org/10.1007/s00374-010-0468-6.

Runia, W.T. and Molendijk, L.P.G. (2010). Physical methods for soil disinfection in intensive agriculture: Old methods and new approaches. International Society for Horticultural Science, 883, 249-258, doi: https://doi.org/10.17660/ActaHortic.2010.883.31.

van Loenen, M.C., Turbett, Y., Mullins, C.E., Feilden, N.E., Wilson, M.J., Leifert, C. and Seel, W.E. (2003). Low temperature-short duration steaming of soil kills soil-borne pathogems, nematode pests and weeds. European Journal of Plant Pathology, 109(9), 993-1002, doi: https://doi.org/10.1023/B:EJPP.0000003830.49949.34.