The Needs for Agroforestry in Monoculture Para Rubber Plantation after Tapping of Farmers in Upstream Areas of Pa Payom-Tanae Canal, Phatthalung Province ความต้องการการทำวนเกษตรในสวนยางพาราเชิงเดี่ยวหลังเปิดกรีดของเกษตรกรพื้นที่ต้นน้ำ คลองป่าพะยอม-คลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ความต้องการการทำวนเกษตรในสวนยางพาราเชิงเดี่ยวหลังเปิดกรีดของเกษตรกรและเปรียบเทียบความแตกต่างของความต้องการการทำวนเกษตรในสวนยางพาราเชิงเดี่ยวหลังเปิดกรีดของเกษตรกรกับสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรชาวสวนยางพารา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เกษตรกรชาวสวนยางพาราพื้นที่ต้นน้ำ คลองป่าพะยอม-คลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง จำนวน 304 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ one-way ANOVA ผลการศึกษาพบว่าสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41-50 ปี ระดับการศึกษาประถมศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 10,001 บาท จำนวนแรงงานในครัวเรือน 1-2 คน ความต้องการการทำวนเกษตรในสวนยางพาราเชิงเดี่ยวหลังเปิดกรีดของเกษตรกร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.298) โดยมี 3 ลำดับสูงสุด คือ ด้านการบริการหรือประโยชน์ทางอ้อม (
= 4.508) ด้านสังคมและเศรษฐกิจ (
= 4.482) และด้านการสนับสนุน (
= 3.905) การเปรียบเทียบความแตกต่างของความต้องการการทำวนเกษตรในสวนยางพาราเชิงเดี่ยวหลังเปิดกรีดกับสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร พบว่าระดับการศึกษาและจำนวนแรงงานในครัวเรือนต่างกัน ส่งผลต่อความต้องการการทำวนเกษตรในสวนยางพาราเชิงเดี่ยวหลังเปิดกรีดของเกษตรกรต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ดังนั้น การยางแห่งประเทศไทยควรมีการส่งเสริมให้ความรู้และขับเคลื่อนเกี่ยวกับการทำวนเกษตรในสวนยางพาราเชิงเดี่ยวหลังเปิดกรีดแก่เกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นลิขสิทธ์ของวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชก่อนเท่านั้น
The content and information in the article published in Wichcha journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, It is the opinion and responsibility of the author of the article. The editorial journals do not need to agree. Or share any responsibility.
References
การยางแห่งประเทศไทย สาขาควนขนุน. (2560). พื้นที่ปลูกยาง. พัทลุง: การยางแห่งประเทศไทย.
เชิดศักดิ์ เกื้อรักษ์ รสวันต์ อินทรศิริสวัสดิ์ ธิดารัตน์จุทอง ปุรวิชญ์ พิทยาภินันท์ จิราพร ปานเจริญ ศรัณญภัส รักศีล และยุทธนา เอียดน้อย. (2560). การทดสอบพรรณไม้ท้องถิ่นที่มีศักยภาพเหมาะสมเพื่อการทำวนเกษตรในสวนยางพาราเชิงเดี่ยว. รายงานฉบับสมบูรณ์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ไซมอน การ์ดเนอร์ พินดา สิทธิสุนทร และก่องกานดา ชยามฤต. (2558). ไม้ป่าภาคใต้. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
ณัฏฐนันท์ โพธิจันทร์. (2559). ความต้องการการช่วยเหลือของเกษตรกรชาวสวนยางในความรับผิดชอบของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง อำเภอแกลง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
นัดดา รัศมีแพทย์ และสุพัตรา ศรีสุวรรณ. (2560). การปลูกพืชเสริมรายได้ในสวนยางพาราของเกษตรกร อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 35(1), 117-124.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี. (2555). ทำสวนยางแนวใหม่เพิ่มรายได้ ช่วยฟื้นฟูลุ่มน้ำ. เอกสารโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “การสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพลูกค้า ธ.ก.ส. พักชำระหนี้”. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
ผกามาศ ทองคำ (2559) กระบวนการเรียนรู้ของแกนนำเกษตรกรเพื่อการพัฒนาตนเองและสวนยางพาราแบบวนเกษตร : กรณีศึกษาเครือข่ายเกษตรกรสวนยางพาราแบบวนเกษตรตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
เพ็ญประภา ราหุล. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกรในอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2550). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. (พิมพ์ครั้งที่ 18) . กรุงเทพฯ: สุพีเรีย พริ้นติ้งเฮาส์.
สมคิด จีรัตน์. (2544). ระบบวนเกษตรกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ : กรณีสวนหลังบ้านในเขตอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
สมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล อริศรา ร่มเย็น และพลากร สัตย์ซื่อ (2560). พัฒนาการระบบการปลูกพืชร่วมยางในภาคใต้ ปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อน. Kasetsart Journal of Social Sciences, 38(2017), 588-599.
สำนักงานเกษตรอำเภอศรีบรรพต. (2562). แผนพัฒนาการเกษตร อำเภอศรีบรรพต ช่วงปีพ.ศ. 2563-2565. พัทลุง: สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพัทลุง.
สำนักเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). พื้นที่ปลูกยางของประเทศไทย. กรุงเทพฯ.
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่. (2563). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2561-2565. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2563, จาก: https://www.khaopu.go.th/datacenter/detail.php?news_id=547.
Schroth, G., da Silva, L.F., Seixas, R., Teixeira, W.G., Macedo, J.L.V. and Zech, W. (1999). Subsoil accumulation of mineral nitrogen under polyculture and monoculture plantations, fallow and primary forest in a ferralitic Amazonian upload soil. Agriculture Ecosystems and Environment, 75(1-2), 109-120.