ผลของปุ๋ยหมักจากต้นกล้วยหอมทองเสริมซีลีเนียมต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และปริมาณซีลีเนียมของผักกาดหอม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การปลูกผักกาดหอมโดยใช้ดินปลูกร่วมกับปุ๋ยหมักจากต้นกล้วยหอมทองเสริมซีลีเนียม วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ (randomized complete block design: RCBD)
ณ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จำนวน 4 สูตร ๆ ละ 3 ซ้ำ ได้แก่ ดินปลูก (ควบคุม) ดินปลูกร่วมกับปุ๋ยหมักสูตรที่ 1 2 หรือ 3 (0 450 และ 675 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ใช้ระยะเวลาปลูก 28 วัน หลังย้ายกล้า 2 สัปดาห์ บันทึกการเจริญเติบโต ผลผลิต และปริมาณซีลีเนียมในผักกาดหอม พบว่าการใช้ดินปลูกร่วมกับปุ๋ยหมักสูตรที่ 2 ให้ค่าเฉลี่ยความสูงต้น ความกว้างใบ จำนวนใบ น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งสูงที่สุดเท่ากับ 15.51 เซนติเมตร 8.55 เซนติเมตร 8.00 ใบ 27.06 กรัม และ 1.40 กรัม ตามลำดับ ดินปลูกร่วมกับปุ๋ยหมักสูตรที่ 3 ให้ค่าเฉลี่ยความยาวใบ ความเขียวใบ และขนาดทรงพุ่มสูงที่สุดเท่ากับ 10.01 เซนติเมตร 26.54 SPAD unit และ 17.36 เซนติเมตร ตามลำดับ นอกจากนี้การใช้ดินปลูกร่วมกับปุ๋ยหมักสูตรที่ 3 ให้ปริมาณการสะสมของซีลีเนียมในผักกาดหอมสูงที่สุดเท่ากับ 321.08 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ดังนั้นการใช้ดินปลูกร่วมกับปุ๋ยหมักสูตรที่ 2 จึงมีความเหมาะสมที่สุดในการปลูกผักกาดหอมเพื่อให้ได้ทั้งปริมาณผลผลิตและซีลีเนียมที่สะสมในผักกาดหอม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นลิขสิทธ์ของวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชก่อนเท่านั้น
The content and information in the article published in Wichcha journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, It is the opinion and responsibility of the author of the article. The editorial journals do not need to agree. Or share any responsibility.
References
ครองใจ โสมรักษ์. (2560). ผลของปุ๋ยหมักกากครามต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของคะน้า. วารสารเกษตรพระวรุณ, 14(2), 165-172.
ธนภัทร ปลื้มพวก จันทร์จรัส วีรสาร อรุณศิริ กำลัง และธงชัย มาลา. (2558). การปนเปื้อนแคดเมียมในดินและการสะสมในผลผลิตข้าวบนพื้นที่ตำบลแม่ตาวและตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารเกษตรพระวรุณ, 12(1), 1-8.
นิพนธ์ ไชยมงคล. (2562). สลัด/ผักกาดหอม. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2564, จาก: https://vegetweb.com/wp-content/download/let.pdf.
พงษ์นาถ นาถวรานันต์. (2563). อิทธิพลของปุ๋ยไนโตรเจนต่อปริมาณธาตุอาหารในดิน ปริมาณธาตุอาหารในใบ และการติดผลของส้มโอพันธุ์ทองดี. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 39(2), 16-30.
พัชรี เดชเลย์ คมกฤษณ์ แสงเงิน อนันต์ พิริยะภัทรกิจ และณัฐพงค์ จันจุฬา. (2564). คุณสมบัติของปุ๋ยหมักจากต้นกล้วยหอมทองเสริมซีลีเนียม. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 59 (หน้า 187-195). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ภัทร์ลดา สุธรรมวงศ์ พนิดา อติเวทิน อภิเดช แสงดี และวรัญญู แก้วดวงตา. (2553). อิทธิพลของซีลีเนียมต่อรูปแบบแสดงออกของโปรตีนในถั่วเขียว. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 41(3/1)(พิเศษ), 93-96.
อาณัติ จันทร์ถิระติกุล สุมาลี ชูกำแพง จันทร์ถิระติกุล และวิชญ์พล โถสายคำ. (2561). การผลิตผักกาดเขียวงอกและต้นแมงลักงอกซีลีเนียมสูงในระบบไร้ดิน. วารสารแก่นเกษตร, 46(พิเศษ 1), 1217-1223.
Ellis, D.R. and Salt, D.E. (2003). Plants, selenium and human heath. Current Opinion in Plant Biology, 6(3), 273-279, doi: https://doi.org/10.1016/s1369-5266(03)00030-x.
Feist, L.J. and Parker, D.R. (2001). Ecotypic variation in selenium accumulation among populations of Stanleya pinnata. New Phytologist, 149(1), 61-69, doi: https://doi.org/10.1046/j.1469-8137.2001.00004.x.
Fisinin, V.I., Papazyan, T.T. and Surai, P.F. (2008). Producing specialist poultry products to meet human nutrition requirements: Selenium enriched eggs. World's Poultry Science Journal, 64(1), 85-98, doi: https://doi.org/10.1017/S0043933907001742.
Kapolna, E. and Fodor, P. (2006). Speciation analysis of selenium enriched green onions (Allium fistulosum) by HPLC-ICP-MS. Microchemical Journal, 84(1-2), 56-62, doi: https://doi.org/10.1016/j.microc.2006.04.014.
Mounicou, S., Meija, J. and Caruso, J. (2004). Preliminary studies on selenium-containing proteins in Brassica juncea by size exclusion chromatography and fast protein liquid chromatography coupled to ICP-MS. Analyst, 129(2), 116-123, doi: https://doi.org/10.1039/b312960h.
Seppänen, M.M., Kontturi, J., Heras L.I., Madrid, Y., Cámara, C. and Hartikainen, H. (2010). Agronomic biofortification of Brassica with selenium-enrichment of SeMet and its identification in Brassica seeds and meal. Plant and Soil, 337, 273-283, doi: https://doi.org/10.1007/s11104-010-0523-y.
Terry, N., Zayed, A.M., De Souza, M.P. and Tarun, A.S. (2000). Selenium in higher plants. Annual Review of Plant Physiology and Plant Molecular Biology, 51, 401-432, doi: https://doi.org/10.1146/annurev.arplant.51.1.401.