ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้มโอ

Main Article Content

ธนากรณ์ ดำสุด
ฌานิกา แซ่แง่ ชูกลิ่น
กัตตินาฏ สกุลสวัสดิพันธ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ทางเคมีเบื้องต้น ได้แก่ ปริมาณฟีนอลิกรวม ปริมาณแทนนินรวม ปริมาณฟลาโวนอยด์รวม ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้มโอจากเปลือกสีเขียวและเปลือกสีขาว โดยสกัดด้วยไอน้ำ พบว่าเปลือกส้มโอสีเขียวมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยมากที่สุดที่เวลา 30 นาที ทำการวิเคราะห์หาปริมาณฟินอลิกรวม ปริมาณแทนนินรวม ปริมาณฟลาโวนอยด์รวม ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันหอมระเหยด้วยวิธี DPPH radical-scavenging assay (DPPH) และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสด้วยวิธีโดปาโครม (Dopachrome method) จากการศึกษาพบสารพฤกษเคมีเบื้องต้นในน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้มโอ ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ (flavonoid) คูมาริน (coumarin) ซาโปนิน (saponin) แทนนิน (tannin) นอกจากนี้ในน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้มโอมีโฟลบาแทนนิน (phlobatannins) และปริมาณฟีนอลิกรวม ปริมาณแทนนินรวม และปริมาณฟลาโวนอยด์ เท่ากับ 155.62±0.05 มิลลิกรัมแกลลิกต่อกรัมสารสกัด (mg GAE/g) 162.47±0.03 มิลลิกรัมแทนนินต่อกรัมสารสกัด (mg TAE/g) และ 144.82±0.05 มิลลิกรัมเคอร์ซิตินต่อกรัมสารสกัด (mg QE/g) ตามลำดับ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH พบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด โดยมีค่า EC50 เท่ากับ 13.42±0.06 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสด้วยวิธีโดปาโครม พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส โดยมีค่า EC50 เท่ากับ 12.58±0.04 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร โดยสามารถนำน้ำมันหอมระเหยที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในเครื่องสำอางได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

นภดล ลากะสงค์ ทัศนัย โสคันธิกอุบล สรวีย์ ศิริพิลา จันจิรา จรามรบูรพงศ์ สมปอง ทองงามดี อรุณรัตน์ สัณฐิติกวินสกุล และรุ่งทิวา ชิดทอง. (2565). การตรวจสอบพฤกษเคมีเบื้องต้นและปริมาณฟินอลิกรวมของใบจันทน์หอม. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. นครปฐม.

กิตติศักดิ์ สุขเพสน์ และรัฐพล ไกรกลาง. (2565). ปริมาณฟีนอลิกรวม ฟลาโวนอยด์รวม วิตามินซี และฤทธิ์ในการต้านสารอนุมูลอิสระของส้มโอสายพันธุ์ขาวหอม ทองดี และมณีอีสาน. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 15(4), 14-28.

บัณฑรวรรณ ธุระพระ จันทนา บุญยะรัตน์ เยาวเรศ ชูลิขิต และสุภาวดี ดาวดี. 2559. การวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญและฤทธิ์ต้านออกซิเดชันในส้มโอ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 11(พิเศษ), 80-91.

Alam, N., Yoon, K.N., Cha, Y.J., Kim, J.H., Lee, K.R. and Lee, T.S. (2011). Appraisal of the antioxidant, phenolic compounds concentration, xanthin oxidase and tyrosinase inhibitory activities of Pleurotus salmoneostramineus. African Journal of Agricultural Research, 6(6), 1555-1563.

Ayoola, G.A., Coker, H.A., Adesegun, S.A., Adepoju-Bello, A.A., Obaweya, K., Ezennia, E.C. and Atangbayila, T.O. (2008). Phytochemical screening and antioxidant activities of some selected medicinal plants used for malaria therapy in Southwestern Nigeria. Tropical Journal of Pharmaceutical Research, 7(3), 1019-1024, doi: https://doi.org/10.4314/tjpr.v7i3.14686.

Cheong, M.W., Loke, X.Q., Liu, S.Q., Pramudya, K., Curran, P. and Yu, B. (2011). Characterization of volatile compounds and aroma profiles of Malaysian pomelo (Citrus grandis (L.) Osbeck) blossom and peel. Journal of Essential Oil Research, 23(2), 34-44, doi: https://doi.org/10.1080/10412905.2011.9700445.

Ebanks, J.P., Wickett, R.R. and Boissy, R.E. (2009). Mechanisms regulating skin pigmentation: The rise and fall of complexion coloration. International Journal of Molecular Sciences, 10(9), 4066-4087, doi: https://doi.org/10.3390/ijms10094066.

Fidrianny, I., Sari, E. and Ruslan, K. (2016). Phytochemical content and antioxidant activities in different organs of pomelo (Citrus maxima [BURM.] MERR.) using 2,2- diphenyl-1-picrylhydrazyl and phosphomolybdenum assays. Asian Journal of Pharmaceutical and Clinical Research, 9(suppl 2), 185-190, doi: https://doi.org/110.22159/ajpcr.2016.v9s2.13526.

Fisher, G.J., Varani, J. and Voorhees, J.J. (2008). Looking older: Fibroblast collapse and therapeutic implications. Archives of Dermatology, 144(5), 666-672, doi: https://doi.org/10.1001/archderm.144.5.666.

Goh, R.M.V., Lau, H., Liu, S.Q., Lassabliere, B., Guervilly, R., Sun, J., Bian, Y. and Yu, B. (2019). Comparative analysis of pomelo volatiles using headspace-solid phase micro-extraction and solvent assisted flavor evaporation. Food Science and Technology, 99, 328-345, doi: https://doi.org/10.1016/j.lwt.2018.09.073.

He, W., Li, X., Peng, Y., He, X. and Pan, S. (2019). Anti-oxidant and anti-melanogenic properties of essential oil from peel of pomelo cv. Guan Xi. Molecules, 24(2), 242-245, doi: https://doi.org/10.3390/molecules24020242.

Li, X., Guo, L., Sun, Y., Zhou, J., Gu, Y. and Li, Y. (2010). Baicalein inhibits melanogenesis through activation of the ERK signaling pathway. International Journal of Molecular Medicine, 25(6), 923-927, doi: https://doi.org/10.3892/ijmm_00000423.

Prommuak, C., De-Eknamkul, W. and Shotipruk, A. (2008). Extraction of flavonoids and carotenoids from Thai silk waste and antioxidant activity of extract. Separation and Purification Technology, 62(2), 444-448, doi: https://doi.org/10.1016/j.seppur.2008.02.020.

Tsai, C.C., Chen, H.S., Chen, S.L., Ho, Y.P., Ho, K.Y., Wu, Y.M. and Hung, C.C. (2005). Lipid peroxidation: A possible role in the induction and progression of chronic periodontitis. Journal of Periodontal Research, 40(5), 378-384, doi: https://doi.org/10.1111/j.1600-0765.2005.00818.x.

Wang, F., Lin, J., Xu, L., Peng, Q., Huang, H., Tong, L., Lu, Q., Wang, C. and Yang, L. (2019). On higher nutritional and medical properties of a carotenoid-rich mutant pomelo (Citrus maxima (L.) Osbeck). Industrial Crops and Products, 127(3), 142-147, doi: https://doi.org/10.1016/j.indcrop.2018.10.065.

Zhao, Y.L., Yang, X.W., Wu, B.F., Shang, J.H., Liu, Y.P., Dai, Z. and Luo, X.D. (2019). Anti-inflammatory effect of pomelo peel and its bioactive coumarins. Journal of Agriculture and Food Chemistry, 67, 8810-8818, doi: https://doi.org/10.1021/acs.jafc.9b02511.