การเปรียบเทียบวิธีการย่อยต่อประสิทธิภาพการวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักที่ปนเปื้อนในดินและผัก: กรณีศึกษาตำบลน้ำสวย อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย

Main Article Content

นภัสสร วงเปรียว
ฐิตินันท์ ธรรมโสม
บุษบาวดี พุทธานุ
ภัทรานุช ผงสุข
สุพัฒน์ พระเมืองคง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักในดินและผักกาดเขียวกวางตุ้งด้วยวิธีการย่อย 6 วิธี คือ วิธีที่ 1 การย่อยด้วยกรดไนตริก วิธีที่ 2 การย่อยด้วยกรดไนตริกค้างคืน วิธีที่ 3 การย่อยด้วยกรดไนตริกร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ วิธีที่ 4 การย่อยด้วยกรดไนตริกร่วมกับกรดเปอร์คลอริก วิธีที่ 5 การย่อยด้วยกรดซัลฟิวริก และวิธีที่ 6 การย่อยด้วยการเผาให้เป็นเถ้า โดยวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนัก 3 ชนิด คือ ตะกั่ว แคดเมียม และสารหนู ด้วยเทคนิค graphite furnace-atomic absorption spectrophotometry (GF-AAS) ผลการวิจัยพบปริมาณแคดเมียม ตะกั่ว และสารหนูในผักกาดเขียวกวางตุ้งที่ความเข้มข้น ND-0.03±0.02 0.07±0.02-0.12±0.04 และ ND-0.02±0.03 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และพบในตัวอย่างดินที่ความเข้มข้น ND-0.15±0.03 18.75±0.36-20.21±0.15 ND-2.04±0.03 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ผลการประเมินวิธีการย่อยตัวอย่างผักกาดเขียวกวางตุ้ง 6 วิธี ต่อประสิทธิภาพการวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักทั้ง 3 ชนิด พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r2) ≥ 0.995 และพบว่าการย่อยผักกาดเขียวกวางตุ้งด้วยวิธีที่ 6 การย่อยด้วยการเผาให้เป็นเถ้า ให้ผลดีที่สุด ความแม่นของวิธีให้ค่าร้อยละการคืนย้อนกลับ (%recovery) อยู่ในช่วงร้อยละ 99.77-90.17 ปริมาณต่ำสุดที่สามารถตรวจวัดได้ (LOD) และปริมาณต่ำสุดที่วิเคราะห์ได้ (LOQ) คือ 0.0027-0.0519 และ 0.0090-0.0519 รองลงมา คือ วิธีที่ 2 การย่อยด้วยกรดไนตริกค้างคืน และพบว่าวิธีที่ 1 การย่อยด้วยกรดไนตริก  และวิธีที่ 3 การย่อยด้วยกรดไนตริกร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เป็นวิธีที่ยอมรับได้ ค่าใช้จ่ายไม่สูง ง่ายและมีความรวดเร็วในการวิเคราะห์มีค่าร้อยละการคืนย้อนกลับอยู่ในช่วง 85.75-80.12 และปริมาณต่ำสุดที่สามารถตรวจวัดได้ คือ 0.0497-0.0029 ปริมาณต่ำสุดที่วิเคราะห์ได้ คือ 0.1656-0.0097 การถ่ายโอนโลหะหนักจากดินสู่ผักกาดเขียวกวางตุ้งพบว่ามีปริมาณลดลงและการปนเปื้อนโลหะหนักมีค่าน้อยกว่าค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ซึ่งแสดงถึงความปลอดภัยต่อการบริโภค

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2564). ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2564 เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพดิน. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2567, จาก: https://www.pcd.go.th/laws/25162/.

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 414) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2567, จาก: https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/118/T_0017.PDF.

ทิพวรรณ นิ่งน้อย. (2549). แนวปฏิบัติการทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ทางเคมีโดยห้องปฏิบัติการเดียว. รายงานวิจัย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.

เทศบาลตำบลน้ำสวย. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2561-2565. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2567, จาก: https://www.kluaykwang.go.th/index/add_file/Ztx2SpiMon21132.pdf.

นุชจรี ท้ายสนิท และปิยะดา วชิระวงศกร. (2564). การประเมินการปนเปื้อนโลหะหนักบางชนิดในดินนาข้าวของจังหวัดสุโขทัย. PSRU Journal of Science and Technology, 6(1), 99-108.

พรรณิภา แต้มดี และปิยะดา วชิระวงศกร. (2564). การปนเปื้อนโลหะหนักในดินของพื้นที่ผลิตผักเศรษฐกิจในจังหวัดพิษณุโลก. PSRU Journal of Science and Technology, 6(2), 98-108.

พุทธธิดา ด้วงกลัด และมาริสา อินทวงศ์. (2567). การวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักในผลิตภัณฑ์อาหารทะเลตากแห้ง โดยเทคนิคอินดักทีฟลีคัปเปิลพลาสมาออพติคอลอิมิสชันสเปกโทรเมตรี. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 43(1), 108-121.

สมสุข ไตรศุภกิตติ มนชวัน วังกุลางกูร และวัชรา เสนาจักร์. (2558). การวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักบางชนิดในผักโดยวิธีอะตอมมิกแอบซอฟชันสเปคโตรโฟโตรเมตรีในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(4), 127-133.

AOAC International. (2002). AOAC guidelines for single laboratory validation of chemical methods for dietary supplements and botanicals. Retrieved 19 April 2024, from: https://s27415.pcdn.co/wp-content/uploads/2020/01/64ER20-7/Validation_Methods/dAOAC_Guidelines_For_Single_Laboratory_Validation_Dietary_Supplements_and_Botanicals.pdf.

Hseu, Z.Y. (2004). Evaluating heavy metal contents in nine composts using four digestion methods. Bioresource Technology, 95(1), 53-59, doi: https://doi.org/10.1016/j.biortech.2004.02.008.

Kachenko, A.G. and Singh, B. (2006). Heavy metals contamination in vegetables grown in urban and metal smelter contaminated sites in Australia. Water, Air, and Soil Pollution, 169(1), 101-123, doi: https://doi.org/10.1007/s11270-006-2027-1.

Laing, G.D., Tack, F.M.G. and Verloo, M.G. (2003). Performance of selected destruction methods for the determination of heavy metals in reed plants (Phragmites australis). Analytica Chimica Acta, 497(1-2), 191-198, doi: https://doi.org/10.1016/j.aca.2003.08.044.

Mwegoha, W. and Kihampa, C. (2010). Heavy metal contamination in agricultural soils and water in Dar es Salaam city, Tanzania. African Journal of Environmental Science and Technology, 4(11), 763-769, doi: https://doi.org/10.11648/j.ijema.20150306.13.

Rashid, H., Fardous, Z., Chowdhury, A.Z., Alam, K., Bari, L., Moniruzzaman, M., and Gan, S.H. (2016). Determination of heavy metals in the soils of tea plantations and in fresh and processed tea leaves: An evaluation of six digestion methods. Chemistry Central Journal, 10(7), doi: https://doi.org/10.1186/s13065-016-0154-3.