Human Icon #35223 - Free Icons Library บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)

           1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อเข้ารับพิจารณาตีพิมพ์กับวารสารทุกบทความ โดยพิจารณารูปแบบความครบถ้วน คุณภาพของบทความ และเนื้อหาบทความที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร

           2. บรรณาธิการวารสารต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ แก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความและการตีพิมพ์วารสารฉบับนั้น ๆ

           3. บรรณาธิการวารสารจะต้องเป็นผู้ประเมินเบื้องต้นในการตัดสินใจคัดเลือกบทความเข้าสู่กระบวนการประเมินบทความแล้ว และตัดสินใจรับตีพิมพ์โดยพิจารณาจากผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้บรรณาธิการวารสารจะต้องคำนึงถึงความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ

           4. บรรณาธิการต้องใช้เหตุผลทางวิชาการในการพิจารณาบทความทุกครั้งโดยปราศจากอคติที่มีต่อบทความและผู้นิพนธ์ในด้านเชื้อชาติ เพศ ศาสนา วัฒนธรรม การเมือง และสังกัดของผู้นิพนธ์ และต้องไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความ เพราะความสงสัย แต่ต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ก่อน

           5. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ

           6. บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง โดยใช้โปรแกรมที่ยอมรับในทางวิชาการ หากตรวจสอบพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นในกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมินและติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันทีเพื่อขอคำชี้แจง เพื่อประกอบการ "ตอบรับ" หรือ "ปฏิเสธ" และหากไม่มีข้อชี้แจงตามหลักวิชาการ บรรณาธิการจะ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้น ๆ และแจ้งเรื่องไปยังผู้บังคับบัญชาของผู้นิพนธ์หลัก

 

Human Icon #35223 - Free Icons Library บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)

           1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาเผยแพร่ในวารสารฉบับอื่น

           2. ผู้นิพนธ์ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น และต้องมีการอ้างอิงทุกครั้งเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาอ้างอิงในเนื้อหาบทความของตนเอง และจะต้องจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความด้วย

           3. ผู้นิพนธ์ต้องนำเสนอข้อเท็จจริงของข้อมูลที่เกิดจากการศึกษาวิจัย โดยไม่บิดเบือน ปลอมแปลง หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ

           4. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินงานวิจัยจริง โดยกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาความเป็นไปจากบทความ

           5. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความวิจัยให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนด ในคำแนะนำของรายละเอียดการจัดเตรียมต้นฉบับ มิฉะนั้นทางบรรณาธิการวารสารจะไม่รับพิจารณาบทความนั้น ๆ และพึงกระทำตามขั้นตอนของวารสาร เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของเนื้อหาที่ได้นำมาตีพิมพ์เผยแพร่

           6. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ในกิตติกรรมประกาศ

           7. ผู้นิพนธ์ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อนในบทความ (ถ้ามี)

 

Human Icon #35223 - Free Icons Library บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)

           1. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ (Confidentiality)

           2. ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือหรือความเกี่ยวเนื่องผูกพันอื่น ๆ ที่จะทำให้ผู้ประเมินมีความลำเอียงในการประเมินหรือไม่สามารถประเมินและให้ข้อเสนอแนะได้อย่างอิสระ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ

           3. ผู้ประเมินบทความต้องตระหนักว่าผู้ประเมินบทความมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของผลงานวิชาการ และมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่รับประเมินอย่างแท้จริง และประเมินบทความโดยคำนึงถึงคุณภาพบทความเป็นหลัก พิจารณาบทความภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการ ความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน ความสอดคล้องของเนื้อหา และความเข้มข้นของบทความ โดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว

           4. ผู้ประเมินบทความต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากผลงานทางวิชาการที่ตนเองได้ทำการประเมิน

           5. ผู้ประเมินบทความตรวจสอบพบว่าบทความที่รับประเมิน เป็นบทความที่มีความเหมือน มีความซ้ำซ้อนกับผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) โดยปรากฏหลักฐานอันชัดแจ้ง ผู้ประเมินสามารถปฏิเสธการตีพิมพ์และแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที

           6. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาระยะเวลาประเมินตามกรอบเวลาประเมินที่กำหนด