ความแปรปรวนของความรุนแรงและความก้าวร้าวของเชื้อรา Phytophthora infestans ที่เก็บรวบรวมจากแปลงปลูกมันฝรั่งในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ไฟทอฟโธรา, โรคใบไหม้, ความรุนแรง, ความก้าวร้าว, ความสามารถในการก่อโรคบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสามารถในการก่อโรค ความรุนแรง และความก้าวร้าวของเชื้อรา Phytophthora infestans จำนวน 140 ไอโซเลท ที่เก็บรวบรวมจากมันฝรั่งที่แสดงอาการโรคใบไหม้ในพื้นที่แปลงปลูกในจังหวัดเชียงใหม่และตาก โดยวิธีทดสอบบนชิ้นมันฝรั่งและใบย่อยที่ปลิดจากต้นของมันฝรั่งจำนวนสองพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์แอตแลนติกและพันธุ์ สปุนต้า และใบย่อยที่ปลิดจากต้นของมะเขือเทศจำนวนสองพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เดลต้าและพันธุ์สีดา ในระดับห้องปฏิบัติการ ซึ่งการวิจัยนี้ออกแบบและวางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (CRD) จำนวน 6 ซ้ำ ซึ่งประเมินได้โดยการให้คะแนนความถี่ของการติดเชื้อ ความรุนแรงของอาการบนพืชทดสอบ (ระดับ1-5) และความหนาแน่นของการสร้างสปอร์บนพื้นที่ที่แสดงอาการโรค ตามลำดับ เชื้อรา P. infestans ทุกไอโซเลท สามารถก่อโรคได้ทั้งบนมันฝรั่งและมะเขือเทศ ชี้ให้เห็นว่าเชื้อรา P. infestans ไม่ได้มีความจำเพาะต่อมันฝรั่งพืชอาศัยเท่านั้น เชื้อรา P. infestans ซึ่งเก็บรวบรวมจากมันฝรั่งให้ลักษณะรุนแรงของอาการบนมันฝรั่งสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับอาการบนมะเขือเทศ แต่แสดงลักษณะความก้าวร้าวบนมันฝรั่งในระดับที่ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับที่แสดงบนมะเขือเทศ การทดลองบนชิ้นมันฝรั่ง ประชากรเชื้อรา P. infestans แสดงลักษณะความรุนแรงและความก้าวร้าวเฉลี่ยบนพันธุ์แอตแลนติกสูงกว่าบนพันธุ์สปุนต้า ผลการประเมินความแปรปรวนในลักษณะความรุนแรงของประชากรเชื้อรา P. infestans จากการศึกษา นี้ชี้ให้เห็นว่าประชากรเชื้อรา P. infestans ที่เก็บรวบรวมจากมันฝรั่งที่แสดงอาการโรคใบไหม้ในพื้นที่แปลงปลูก ในประเทศไทย ประกอบด้วยไอโซเลทที่แตกต่างกัน ในศักยภาพของลักษณะความรุนแรงที่มีระดับสูง-ต่ำ ดังผลการประเมินความรุนแรงของอาการบนใบมันฝรั่งพันธุ์แอตแลนติก และมะเขือเทศพันธุ์สีดา
References
Blandon-Diaz, J.U., A.K. Widmark, A. Hannukkala, B. Andersson, N. Hogberg and J.E. Yuen. 2012. Phenotypic variation within a clonal lineage of Phytophthora infestans infecting both tomato and potato in Nicaragua. Phytopathology 102(3): 323-330.
Cohen, Y. 2002. Populations of Phytophthora infestans in Israel underwent three major genetic changes during 1983 to 2000. Phytopathology 92(3): 300-307.
Fontem, D.A., O.M. Olanya, G.R. Tsopmbeng and M.A.P. Owona. 2005. Pathogenicity and metalaxyl sensitivity of Phytophthora infestans isolates obtained from garden huckleberry, potato and tomato in Cameroon. Crop Protection 24(5): 449-456.
Fry, W. 2008. Phytophthora infestans: the plant (and R gene) destroyer. Molecular Plant Pathology 9(3): 385-402.
Harbaoui, K., T. van der Lee, V.G.A.A. Vleeshouwers, N. Khammassy, M. Harrabi and W. Hamada. 2013. Characterization of Phytophthora infestans isolates collected from potato and tomato crops in Tunisia during 2006–2008. Potato Research 56(1): 11-29.
Klarfeld, S., A.E. Rubin and Y. Cohen. 2009. Pathogenic fitness of oosporic progeny isolates of Phytophthora infestans on late-blight-resistant tomato lines. Plant Disease 93(9): 947-953.
Knapova, G. and U. Gisi. 2002. Phenotypic and genotypic structure of Phytophthora infestans population on potato and tomato in France and Switzerland. Plant Pathology 51(5): 641-653.
Michalska, A.M., S. Sobkowiak, B. Flis and E. Zimnoch-Guzowska. 2016. Virulence and aggressiveness of Phytophthora infestans isolates collected in Poland from potato and tomato plants identified no strong specificity. Eur. J. Plant Pathol. 144(2): 325-336.
Office of Agricultural Economics (OAE). 2018. Information of Agricultural Production: Potato. 2017. [Online]. Available https:// https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/production/มันฝรั่ง%2060.pdf (8 October 2018). [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร