จริยธรรมการตีพิมพ์

จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการ (Publication Ethics)
 

              วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่งานวิจัยและบทความทางวิชาการด้านการเกษตร  อาหาร สุขภาพ สิ่งแวดล้อม นวัตกรรมด้านการเกษตร และการส่งเสริมวิชาการเกษตร ระหว่างนักวิจัยและสังคมภายนอก ดังนั้นเพื่อให้การสื่อสารทางวิชาการเป็นไปอย่างถูกต้อง มีคุณภาพ และสอดคล้องกับมาตรฐานการเผยแพร่ระดับชาติและนานาชาติ วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร จึงได้กำหนดแนวทางวิธีปฏิบัติและจริยธรรมของการเผยแพร่ผลงานวิจัยสำหรับการดำเนินงานของวารสาร โดยได้กำหนดบทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Authors)  บรรณาธิการวารสาร (Editor) และผู้ประเมินบทความ (Reviewers) เพื่อประโยชน์ต่อผู้อ่าน ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทางวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
1.ผู้นิพนธ์ต้องมีจรรยาบรรณและจริยธรรมในการดำเนินงานวิจัย และรายงานผลการวิจัยตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการ
   ทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล    หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
2.ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมาเผยแพร่นั้นเป็นผลงานใหม่จากการศึกษาค้นคว้าวิจัยของตนเอง ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมา
   ก่อน หรืออยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาเผยแพร่ที่ใด
3.ผู้นิพนธ์ที่นำผลงานของผู้อื่นมาใช้อ้างอิงในบทความของตนเอง ต้องจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความให้ถูกต้องตามรูป
   แบบที่กำหนด
4.ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความวิจัยให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำการเตรียมต้นฉบับ”
5.ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน  ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยจริง
6.ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัย และแสดงความขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือในการดำเนินการวิจัย
7.ผู้นิพนธ์ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี)

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)
1.บรรณาธิการต้องพิจารณาคัดเลือกบทความที่มีคุณภาพเพื่อเข้าสู่กระบวนการประเมินและเผยแพร่ โดยพิจารณาจากความ
   สอดคล้องของเนื้อหากับขอบเขตของวารสารเป็นสำคัญ
2.บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของ
    การประเมินบทความ
3.บรรณาธิการต้องไม่ยอมรับและเผยแพร่บทความที่เคยเผยแพร่ที่อื่นมาแล้ว หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเผยแพร่
4.บรรณาธิการต้องไม่ปฏิเสธการเผยแพร่บทความเพราะความสงสัยหรือไม่แน่ใจ แต่ต้องหาหลักฐานเพื่อพิสูจน์ข้อสงสัย
    นั้น ๆ ให้เป็นที่ประจักษ์
5.บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมิน และทีมผู้ดำเนินงานวารสารทั้งหมด
6.บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง โดยใช้โปรแกรมที่
   เชื่อถือได้ เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่เผยแพร่ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น
7.หากตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นก่อนหรือระหว่างกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการ
    ประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันทีเพื่อขอคำชี้แจง เพื่อประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การเผยแพร่บทความ
    นั้น ๆ

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
1.ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับ และไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่
   บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ (Confidentiality)
2.หลังจากได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสาร และผู้ประเมินบทความตระหนักว่าตัวเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้
   นิพนธ์ เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อ
   เสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
3.ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาใน
   บทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้น ๆ คุณภาพของบทความ และความเข้มข้นของบทความ ไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่
   ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความวิจัย
4.ผู้ประเมินบทความต้องระบุผลงานวิจัยที่สำคัญ  และสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมิน แต่ผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างถึง
   เข้าไปในการประเมินบทความด้วย นอกจากนี้ หากมีส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความที่มีความเหมือนหรือซ้ำซ้อนกับบทความ
   อื่น ๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ
5. ผู้ประเมินบทความควรพิจารณาบทความที่เกี่ยวข้องกับคนหรือสัตว์ว่าได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน/สัตว์หรือไม่

 

จริยธรรมการทดลองในงานวิจัย

  1. บทความงานวิจัยที่ส่งเข้าเพื่อพิจารณาเผยแพร่ในวารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ที่มีความเกี่ยวข้องกับคน ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนจากสถาบันที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานการวิจัยในคน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และเป็นไปตามมาตรฐานจริยธรรมและกฎหมายสากล โดยผู้เขียนบทความต้องแนบหนังสือรับรองมาพร้อมต้นฉบับ
  2. บทความงานวิจัยที่ส่งเข้าเพื่อพิจารณาเผยแพร่ในวารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ที่มีความเกี่ยวข้องกับการทดลองในสัตว์ทดลอง ต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และอยู่ภายใต้หลักพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 โดยผู้เขียนบทความต้องแนบหนังสือรับรองมาพร้อมต้นฉบับ