คำแนะนำการเตรียมต้นฉบับ

ดาวน์โหลดไฟล์การเตรียมต้นฉบับ 

1. คำแนะนำการเตรียมต้นฉบับ 

2. ตัวอย่างแบบฟอร์ม บทความวิชาการ

3. ตัวอย่างแบบฟอร์ม บทความวิจัย

วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร เป็นวารสารราย 4 เดือน กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ โดยเริ่มฉบับที่ 1 ในเดือนมกราคม ฉบับที่ 2 ในเดือนพฤษภาคม และฉบับที่ 3 ในเดือนกันยายน มีจุดประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และองค์กร   ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเกษตรทั่วประเทศ โดยมีการเผยแพร่ออนไลน์ (Journal Online) ในรูปวารสารอิเล็กทรอนิกส์  ISSN 2985-0118 (Online) สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเกษตร เรื่องที่จะตีพิมพ์ในวารสาร นอกจากบทความวิจัยแล้ว บทความทางวิชาการอื่น ๆ ที่เป็นการแสดงความคิดใหม่ หรือสมมุติฐานใหม่ที่มีหลักฐานอ้างอิง หรือเป็นการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางหรือลึกซึ้งในสาขาวิชาการใดสาขาวิชาการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร หรือเป็นการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ก็มีสิทธิ์ได้รับการตรวจสอบทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ อย่างน้อย 3 ท่าน พิจารณาให้ลงตีพิมพ์ได้เช่นเดียวกัน

 

การเตรียมต้นฉบับ

  1. ต้นฉบับ เผยแพ่รบทความเป็นภาษาไทย โดยใช้ตัวอักษร TH Sarabun NEW ขนาดตัวอักษร 16 ตัวหนา ในส่วนของหัวข้อเรื่อง และขนาดตัวอักษร 15 ตัวปรกติ ในส่วนของเนื้อหา พิมพ์หน้าเดียว เว้นขอบทั้ง 4 ด้าน 1 นิ้ว (2.5 ซม.) พร้อมระบุเลขหน้า ความยาวของเนื้อเรื่อง รวมรูปภาพ ตาราง และเอกสารอ้างอิงต้องไม่เกิน 10 หน้า
  2. ชื่อเรื่อง ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรกระชับและตรงกับเนื้อเรื่อง ขนาดตัวอักษร 18 ตัวหนา
  3. ชื่อผู้แต่ง และสถานที่ติดต่อ ต้องมีชื่อเต็ม-นามสกุลเต็มทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 15 ตัวหนา และระบุหน่วยงานหรือสถาบันที่สังกัด ของผู้แต่งหลักและผู้แต่งร่วมทุกคน และ E-mail address ของผู้แต่งหลักไว้ด้วย ขนาดตัวอักษร 12 ตัวปรกติ
  4. บทคัดย่อ (Abstract) บทความวิจัย/บทความทางวิชาการอื่น ๆ จะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 15 บรรทัด โดยเขียนให้กะทัดรัด ตรงประเด็น และให้สาระสำคัญ
  5. คำสำคัญ (Keywords) ต้องมีคำสำคัญทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษา อย่างละไม่เกิน 5 คำ
  6. เนื้อเรื่อง
  • คำนำ อธิบายความสำคัญของปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย  อาจรวมการตรวจเอกสารเข้าไว้ด้วย ในการอ้างอิงเอกสารให้เขียนชื่อผู้แต่ง และปีที่ตีพิมพ์ อยู่ในวงเล็บเดียวกัน หรือเขียนชื่อผู้แต่ง แล้วเขียนปีที่ตีพิมพ์ ไว้ในวงเล็บแล้วแต่กรณี เฉพาะภาษาอังกฤษ ดังนี้  “..........โรคใบหงิกมีพบทั่วไปในประเทศบังคลาเทศ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์     ศรีลังกา ไต้หวัน ไทย (Boccardo and Milne, 1984; Ling et al., 1978) ในประเทศไทยนั้น นอกจากก่อความเสียหายกับ     ข้าวปลูกทั้งชนิด Japonica และ Indica (Oryza sativa) พันธุ์ต่างๆ แล้ว Thawat (2001) ยังพบว่า ทำความเสียหายได้กับข้าวไร่และข้าวป่าต่างๆ..........”
  • อุปกรณ์และวิธีการ/วิธีดำเนินการวิจัย อธิบายเครื่องมือ พร้อมระบุวิธีการวิจัย วิธีการเก็บข้อมูล ระยะเวลาและปีที่ทำการวิจัย รวมทั้งวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล  ให้บรรยายโดยสรุปและไม่จำเป็นต้องระบุวิธีการที่เป็นที่รู้กันทั่วไป
  • ผลการวิจัย ไม่จำเป็นต้องแสดงวิธีการวิเคราะห์ทางสถิติ แต่ให้เสนอในรูปของตาราง และรูปภาพโดยสรุปหลังจากวิเคราะห์ทางสถิติแล้ว ทั้งนี้ คำอธิบายและรายละเอียดต่าง ๆ ของตารางและรูปภาพ ต้องเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น โดยมีความชัดเจน กะทัดรัด และมีหมายเลขกำกับด้านบทของตารางและด้านล่างของรูปภาพ และเมื่ออ้างถึงในเนื้อหาให้ใช้เป็นคำว่า Table และ Figure
  • การวิจารณ์ผล การสรุปผล  และข้อเสนอแนะ  ควรวิจารณ์ผลการวิจัยพร้อมทั้งสรุปประเด็น และสาระสำคัญของงานวิจัย  หรือให้ข้อเสนอแนะบนพื้นฐานของผลการวิจัย

       หมายเหตุ:   หน่วยวัดตามระบบต่างๆ ให้ใช้ตัวย่อตามมาตรฐานในการเขียนที่กำหนดไว้  เช่น  เซนติเมตร = ซม.  ตารางเมตร = ตร.ม.  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม = มก./กก.  แต่ถ้าเป็นหน่วยวัดที่มีพยางค์เดียวให้ใช้คำเต็มตามปรกติ เช่น เมตร  กรัม  ลิตร 

  1. กิตติกรรมประกาศ เพื่อแสดงความขอบคุณแก่ผู้ให้ทุนวิจัย หรือผู้ที่ได้ให้ความช่วยเหลือในการวิจัย

       8.  เอกสารอ้างอิง  รายชื่อเอกสารที่ใช้เป็นหลักในการค้นคว้าวิจัยและมีการอ้างถึงในเนื้อหา ต้องแสดงเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น กรณีที่อ้างอิงจากเอกสารภาษาไทยหรือภาษาอื่นๆ ให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยมีวงเล็บกำกับท้ายเอกสาร [in Thai] หรือภาษาอื่นๆ ตามคำแนะนำวิธีการเขียน ดังนี้

การเขียนเอกสารอ้างอิง

การเขียนอ้างอิงภายในเนื้อหา

ในการอ้างอิงเอกสารให้ใช้นามสกุลผู้แต่ง และปีที่ตีพิมพ์ อยู่ในวงเล็บเดียวกัน หรือเขียนนามสกุลผู้แต่ง แล้วเขียนปีที่ตีพิมพ์ ไว้ในวงเล็บแล้วแต่กรณี โดยเป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้ 

“..........โรคใบหงิกมีพบทั่วไปในประเทศบังคลาเทศ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์     ศรีลังกา ไต้หวัน ไทย (Boccardo and Milne, 1984; Ling et al., 1978) ในประเทศไทยนั้น นอกจากก่อความเสียหายกับ     ข้าวปลูกทั้งชนิด Japonica และ Indica (Oryza sativa) พันธุ์ต่างๆ แล้ว Thawat (2001) ยังพบว่า ทำความเสียหายได้กับข้าวไร่และข้าวป่าต่างๆ..........”

1.   บทความจากวารสารวิชาการมาตรฐาน

      1.1  ผู้เขียนคนเดียวหรือหลายคน

ชื่อผู้เขียนบทความคนที่ 1,/ผู้เขียนบทความคนที่ 2/และ/ผู้เขียนบทความคนสุดท้าย.//ปีที่พิมพ์.//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร/เลขปีที่(เลขฉบับที่):/เลขหน้า.

Koiprasert, H. and P. Niranatlumpong.  2004.  Investigation of method for stainless steel welding wire as a replacement for arc wire comsumables.  Songklanakarin Journal of Science and Technology. 27(1): 91-100.  [in Thai]

Nadeem, M.Y. and M. Ibrahim.  2002.  Phosphorus management in wheat-rice cropping system.  Pakistan Journal of Soil Science. 21(4): 21-23.

Chowdhury, M.A.H., R. Begum, M.R. Kabit and H.M. Zakir.  2002.  Plant and animal residue decomposition and transformation of S and P in soil.  Pakistan Journal of Biological Sciences 5(7): 736-739.

2.   หนังสือ

      2.1  ผู้เขียนคนเดียวหรือหลายคน

ชื่อผู้แต่งคนที่ 1,/ผู้แต่งคนที่ 2/และผู้แต่งคนสุดท้าย.//ปีที่พิมพ์.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี).//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.// จำนวนหน้า.

Peyachoknagu, S.  2000.  Pan Thu Vis Sa Wa Kum.  Bangkok: Kasetsart University Press.  256 p. [in Thai]

Aksornkoae, S. 1999.  Ecology and Management of Mangroves.  Bangkok: Kasetsart University  Press.  198 p.

Rajeshwar, K. and J.G. Ibanez.  1997.  Environmental Electrochemistry.  San Diego: Academic Press.  327 p.

2.2    บทหนึ่งในหนังสือ

ชื่อผู้เขียนบทความ.//ปีที่พิมพ์.//ชื่อบทความ.//น./เลขหน้าที่ปรากฏเรื่อง.//ใน/ชื่อผู้รับผิดชอบ.//ชื่อหนังสือ.//
รายละเอียดอื่นๆ (ถ้ามี). //ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี).//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

Hill, S.E.  1996.  Emultions.  pp. 153-185.  In Hall, G.M. (ed.).  Methods of Testing Protein Functionality. London: Chapman & Hall.

Jacober, L.F. and A.G. Rand.  1982.  Biochemical of Seafood.  pp. 347-365.  In Martin, R.E., G.J. Flick, C.E. Hebard and D.R. Ward (eds.).  Chemistry and Biochemistry of Marine Food Products.  Westport: AVI Inc.

      2.3  หนังสือที่มีผู้รับผิดชอบในหน้าที่เป็นผู้รวบรวม ผู้เรียบเรียง หรือบรรณาธิการ

ชื่อผู้รับผิดชอบ.//(หน้าที่รับผิดชอบ).// ปีที่พิมพ์.//ชื่อเรื่อง.//ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี).//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.//
จำนวนหน้า.

Tosirichok, K. (Editor).  1994.  Karn Rak Sa Doi Sa Moon Pri.  1st.  Bangkok: Mayik Publisher.  172 p. [in Thai]

Byrappa, K. and M. Yoshimura.  (eds.).  2001.  Handbook of Hydrothermal Technology. New Jersey: Noyes Publication.  854 p.

3.   เอกสารอื่นๆ

      3.1  วิทยานิพนธ์

ชื่อผู้แต่ง.//ปีที่พิมพ์.//ชื่อวิทยานิพนธ์.//ระดับของวิทยานิพนธ์.//ชื่อสถาบันการศึกษา.//จำนวนหน้า.

Soitongcome, P.  1987.  Tannin Extraction from Rhizophora’s Bark for Retanning.  Master Thesis.  Kasetsart University.  113 p.  [in Thai]

Saiklao, W.  2002.  Adaptive Bandwidth Allocation Control for Virtual Paths in Broadband Networks.  Doctoral Dissertation.  Georgia Institute of Technology.  86 p.

3.2     รายงานการประชุมวิชาการ  รายงานการสัมมนา  ปาฐกถา  รายงานประจำปี 

ชื่อผู้เขียนบทความ.//ปีที่พิมพ์.//ชื่อบทความ.//น./เลขหน้าที่ปรากฏเรื่อง.//ใน/ชื่อการประชุม.//รายละเอียดอื่น ๆ (ถ้ามี).//ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี).//สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

Summadee, P. and B. Leenanon.  2013.  Production of Probiotic Kefir Product.  p. 109-116  In Proceedings of the 12th MJU Annual Conference (Poster).  Chiang Mai: Maejo University.  [in Thai]

Coates, J.  2013.  Clinical Trial for Canine Degenerative Myelopathy.  pp. 29-31.  In Proceedings of ACVIM Specialty Symposium (Pre-forum) 12-15 June 2013.  Seattle: American College of Veterinary Internal Medicine (ACVIM).

3.3     รายงานผลการวิจัย

ชื่อผู้เขียนงานวิจัย.//ปีที่พิมพ์.//ชื่องานวิจัย.//จำนวนหน้า.//ใน/รายงานผลการวิจัย.//สถานที่พิมพ์:/ชื่อหน่วยงาน.

Pooprompan, P., K. Duangsong and R. Sribaopern.  2001.  DNA fingerprinting of Thai native orchid Vanda coerulea.  62 p.  In  Research Report.  Chiang Mai: Maejo University. [in Thai]

Theraumpon, N.  2003.  Automatic Classification of White Blood Cells in Bone Marrow Images.  74 p.  In  Research Report.  Chiang Mai: Chiang Mai University.

3.4     บทความจากวารสาร

ชื่อผู้เขียนบทความ.//ปีที่ตีพิมพ์.//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร.//ปีที่ของนิตยสาร(เล่มที่): เลขที่หน้าที่อ้างอิง.

Srinuansom, K.  2018.  Half-artficial breeding of Monopterus albusMaejo Vision 18(4): 33-37.  [in Thai]

3.5     บทความจากหนังสือพิมพ์

ชื่อผู้เขียนบทความ.//ปีที่ตีพิมพ์.//ชื่อบทความ.//ชื่อหนังสือพิมพ์.//(เดือน/วันที่/ปี):/เลขที่หน้าที่อ้างอิง.

Manapaisarn, S.  2006.  Kra Sate Tra Korn Thai Nai A Na Koth.  Thai Rath.  (January 10, 2006): 7.  [in Thai]

3.6     บทความออนไลน์

-          มีเลข DOI (Digital Object Identifier)

ชื่อผู้เขียนบทความ.//ปีที่ตีพิมพ์.//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร// ปีที่:/หน้าเริ่มต้น-สิ้นสุด. Doi/:/xxxxxxxxxxxxxx

Rodcharoen, E., N.L. Bruce and P. Pholpunthin.  2017.  Cirolana phuketensis, a new species of marine isopod (Crustacea, Isopoda, Cirolanidae) from the Andaman sea coast of Thailand.  ZooKeys 695(2): 1-17. DOI: 10.3897/zookeys.695.13771.

-          ไม่มีเลข DOI (Digital Object Identifier)

ชื่อผู้เขียนบทความ.//ปีที่ตีพิมพ์.//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร.// ปีที่/หน้าเริ่มต้น-สิ้นสุด.//[Online].//Available
http://www.xxxxxxxxxxx /(วันที่สืบค้น).

Hasler, K., S. Bröring, S.W.F. Omta and H.W. Olfs.  2015.  Life cycle assessment (LCA) of different  fertilizer product types. European Journal of Agronomy 69: 41-51. [Online]. Available https://doi.org/10.1016/j.eja.2015.06.001 (March 20, 2020)

4.   แหล่งข้อมูลอิเลคทรอนิกส์

            ผู้แต่งหรือผู้รับผิดชอบ.//ปีที่บันทึกข้อมูล.//ชื่อเรื่อง.//[ระบบออนไลน์].//แหล่งที่มา/ระบุแหล่งการติดต่อเครือข่ายหรือการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล ชื่อแฟ้มข้อมูล/( เดือน/วันที่/ปี ที่ค้นข้อมูล).

Maythiyanon, T., N. Piriyarungroj and S. Soponarit.  2004.  Novel vortex-fluidized bed combustor with two combustion chambers for rice-husk fuel.  SJST 26(6): 875-893.  [Online].  Available http://www2.psu.ac.th/PresidentOffice/EduService/Journal/Firstpage.htm (September 22, 2005).  [in Thai]

National Economic and Social Development Board (NESDB).  2001.  Input-output tables of Thailand.  [Online].  Available http://www.nesdb.go.th (August 8, 2001).

Singh, M. and R.P. Singh.  2001.  Siderophore producing bacteria-as potential biocontrol agents of mushroom disease.  [Online].  Available http://www.uio.no/conferencesJune2000.htm#Samuels (July 3, 2001).

 

การส่งต้นฉบับ การตรวจสอบเบื้องต้น และการแก้ไข

            1)   ส่งไฟล์ต้นฉบับ ให้มีรายละเอียดครบตรงตามคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ และส่งพร้อมใบลงทะเบียนวารสาร โดยส่งผ่านระบบ ThaiJo ของวารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร หรือลิ้งค์ https://www.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/ index เท่านั้น

            2)   กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความในเบื้องต้น ในกรณีที่ต้องแก้ไขจะแจ้งให้เจ้าของบทความทำการแก้ไขก่อนนำส่งต่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาในลำดับต่อไป สำหรับบทความที่ไม่ได้รับการพิจารณาให้ดำเนินการต่อจะส่งต้นฉบับคืนให้เจ้าของบทความ

            3)   บทความที่ได้รับการพิจารณาจากกองบรรณาธิการให้ดำเนินการต่อ จะได้รับการตรวจสอบทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน ที่เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ และบทความที่ได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะส่งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมทั้งต้นฉบับให้เจ้าของบทความปรับปรุงแก้ไข

            4)   บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะมีการเผยแพร่ออนไลน์ (Journal Online) ในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/index