การศึกษาการทำเครื่องประดับจากปีกแมลงทับและแนวทางการอนุรักษ์แมลงทับ ในอำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
แมลงทับ, แนวทางการอนุรักษ์, เครื่องประดับบทคัดย่อ
การศึกษาการทำเครื่องประดับจากปีกแมลงทับและแนวทางการอนุรักษ์แมลงทับ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำเครื่องประดับจากปีกแมลงทับ ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อคุณค่าและความสำคัญของการอนุรักษ์แมลงทับ ปัญหาและแนวทางการอนุรักษ์แมลงทับ เพื่อให้ประชาชนเห็นคุณค่าความสำคัญของการอนุรักษ์แมลงทับและป่าไม้และการใช้ประโยชน์จากแมลงทับอย่างถูกต้อง พบว่าการทำเครื่องประดับจากปีกแมลงทับของกลุ่มเครื่องประดับปีกแมลงทับเพชรพลอย บ้านคำเพิ่ม ตำบลโคกภู อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร มีการทำเครื่องประดับจากปีกแมลงทับ จำนวน 6 ประเภท ได้แก่ เข็มกลัดแมลงทับ สร้อยคอ ต่างหู พวงกุญแจ ปิ่นปักผม และภาพติดฝาผนัง
ความคิดเห็นต่อคุณค่าและความสำคัญของการอนุรักษ์แมลงทับ ปัญหาและแนวทางในการอนุรักษ์แมลงทับ คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการจัดทำเวทีชาวบ้าน ณ หมู่บ้านโนนเจริญ ตำบลกกปลาซิว อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร โดยมีผู้เข้าร่วม จำนวน 25 คน พบว่า
- 1. การศึกษาระดับความคิดเห็นต่อคุณค่าและความสำคัญของการอนุรักษ์แมลงทับและป่าไม้ การใช้ประโยชน์จากแมลงทับอย่างถูกต้อง พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณค่าและความสำคัญของการอนุรักษ์แมลงทับและป่าไม้อยู่ในระดับมาก
- 2. ปัญหาเกี่ยวกับการอนุรักษ์แมลงทับ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับวงจรของแมลงทับ การจับแมลงทับของชาวบ้านโนนเจริญ เป็นการจับเพื่อนำไปประกอบอาหารเท่านั้น แต่มีคนต่างถิ่นเข้ามาจับแมลงทับในพื้นที่เป็นจำนวนมากและในปริมาณมาก เพื่อนำไปจำหน่าย ชาวบ้านไม่สามารถควบคุมดูแลการจับแมลงทับของคนต่างถิ่นที่เข้ามาจับแมลงทับในพื้นที่ และขาดมาตรการเฝ้าระวังการจับแมลงทับในฤดูกาลวางไข่
- 3. แนวทางการอนุรักษ์แมลงทับแบบยั่งยืน ควรดำเนินการ ดังนี้ กำหนดช่วงในการจับแมลงทับให้ชัดเจน ห้ามตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ที่มีแมลงทับ ห้ามบุคคลภายนอกเข้ามาจับแมลงทับ ส่งเสริมการแปรรูปแมลงทับ ให้หน่วยงานราชการหาแนวทางในการป้องกันเขตพื้นที่เพื่อไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาจับแมลงทับในฤดูกาลวางไข่ออกกฎข้อบังคับในการอนุรักษ์แมลงทับ ทำป้ายรณรงค์ห้ามจับแมลงทับในฤดูการวางไข่ ปลูกต้นไม้ที่เป็นอาหารแมลงทับ สร้างป่าชุมชน และจัดทำโครงการปลูกป่าทุกๆ ปี โดยเน้นพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์และเพื่อเป็นอาหารให้ชัดเจน โดยมีการปักป้ายแบ่งเขตให้แน่นอน ห้ามตัดต้นไม้บริเวณที่มีแมลงทับโดยให้เป็นมติของหมู่บ้าน ประชาสัมพันธ์การห้ามจับแมลงทับในฤดูกาลวางไข่ ทางเสียงตามสาย สถานีวิทยุ สร้างจิตสำนึกให้กับคนในหมู่บ้านไม่ให้จับแมลงทับในฤดูกาลวางไข่ จัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ของทุกปี และหน่วยงานราชการต้องร่วมมือกับชาวบ้านอนุรักษ์แมลงทับอย่างจริงจัง
References
Chiamphruekwatthana, P. 2003. Making a Brooch from Wing Jewel Beetles. (publication) [in Thai]
Kerremanns, C. 1903. Coleoptera serricomia Fam. Buprestidae Genera Insectorum 12. Cited by Chunram, S. Taxonomic Studies of Thai Metallic Wood Boring Beetle in Tribe Chrysochroini (Coleoptera: Buprestidae). Bangkok: Entomology and Zoology Division, Department of Agriculture. 85 p. [in Thai]
Khaosod. 1993. Make use of wing Jewel beetle. [Online]. Available http://www.khaosod.co.th (15 September 2009). [in Thai]
Khrueakham, A., S. Shatachote, K. Sukhawatthanakun, S. Pongkuleekarn, and A. Sreemart. 2010. The development of Nong Harn Chalermphrakiat park for lotus species collection, ecological tourist attraction, and local economic development. Journal of The social Sciences 5(3): 270-275.
Linsenmaier, W. 1972. Insect of the World. New York City: McGraw–Hill Book Company. 329 p.
Ohmomo, S. and K. Akiyama. 1972. Jewel Beetles. Tokyo: Sansho Co., Ltd.: 59 p.
Richard, O.W. and R.G. Davies. 1977. General Textbook of Entomology. New York: A Halsted Press Book John Wiley & Son. 1354 p.
Rotchanawong, W. 1997. Cultivate Jewel Beetles in Thailand. Bangkok: Kasetsart University Press. 6 p. [in Thai]
Srisa-ard, B. 2002. Basic Research. Bangkok: Sureeriyasat Printing. 171 p. [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร