ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการในการพัฒนาทรัพยากรเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ของประชาชนบ้านดงห้วยเย็น ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ สายกับ สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • นคเรศ รังควัต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • พุฒิสรรค์ เครือคำ สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • สายสกุล ฟองมูล สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความต้องการ, การพัฒนาทรัพยากร, แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, ลำพูน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ  1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของประชาชน  2) เพื่อศึกษาความรู้ และความต้องการในการพัฒนาทรัพยากรเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศของประชาชน  3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการในการพัฒนาทรัพยากรเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศของประชาชน 4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในพัฒนาทรัพยากรเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศของประชาชน บ้านดงห้วยเย็น ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดยงานวิจัยได้ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากประชาชนจำนวน 180 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60 มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 17.7 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 77.2 และมีอาชีพค้าขายรับจ้างทั่วไป และทำการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 90 มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน มีรายได้ของครัวเรือนเฉลี่ย 10,143.90 บาทต่อเดือน การถือครองที่ดินของครัวเรือนจำนวนเฉลี่ย 912.22 ตารางวา ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชนเฉลี่ย 50 ปี มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเฉลี่ย 11 ครั้งต่อเดือน ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐหรือเอกชน เฉลี่ย 0.16 ครั้งต่อเดือน ได้ผ่านการอบรมศึกษาดูงานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเฉลี่ย 0.27 ครั้งต่อปี และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการพัฒนาทรัพยากรเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ได้แก่ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ส่วนการถือครองที่ดิน และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ปัญหาในการจัดการทรัพยากรเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สำคัญ ได้แก่ การขาดความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการขาดสาธารณูปโภคที่จะคอยอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว เช่น ห้องน้ำ ไฟฟ้า ถนนบนเส้นทางการเดินป่า ฐานเรียนรู้ ไกด์นำเที่ยว และข้อเสนอแนะของประชาชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาสนับสนุนความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สนับสนุนงบประมาณ และการสร้างอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้กับประชาชนในชุมชน

References

Department of Provincial Administration Registration. 2016. Number of population. [Online]. Available http://stat.bora.dopa.go.th (25 August 2016). [in Thai]

Department of Tourism. 2016. Tourist statistics. [Online]. Available http://www.tourism.go.th (5 July 2017). [in Thai]

Kanjanasamranwong, P. 2017. Principles of Statistics. Nonthaburi: IDC Premier. 568 p. [in Thai]

Ministry of Tourism and Sports. 2014. National tourism development plan No.2 (2017−2021). [Online]. Available http://www.ubu.ac.th/web/files_up/03f2017052216244626.pdf (5 July 2017). [in Thai]

Office of the National Economic and Social Development Board. 2018. Northern development plan during the 12th national economic and social development plan (2017–2021). [Online]. Available http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7528 (24 May 2018). [in Thai]

Phengsawat, W. 2010. Applied Statistics for Social Science Research. Bangkok: Suveeriyasarn. 428 p. [in Thai]

Prasit-rathasint, S. 2002. Applications of Statistical Methods in Research. Bangkok: Fueang Fa Printing House. 352 p. [in Thai]

Rattanapariyanuch, N. 2013. Public Needs for Community Development in Samed Municipality, Amphur Muang, Chon Buri Province. Master Thesis. Bruce University. 109 p. [in Thai]

Srikum, J. 2015. A study of requirements of elderly houses improvements case study: Nongkhon sub-district administrative organization and Konoi sub-district administrative organization Ubon Ratchathani province. Journal of Industrial Technology Ubon Ratchathani Rajabhat University. 5(2): 117-130. [in Thai]

Swangpun, K. 2004. The Readiness of Local People for Ecotourism Development a Case Study Kohsirae Community Amphurmuang Phuket Province. Master Thesis. Mahidol University. 216 p. [in Thai]

The Thailand Community Based Tourism Institute. 2017. Tourism by the community. [Online]. Available http://www.cbt-i.org/travel.php. (24 May 2018). [in Thai]

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3.S.l. Harper International. 886 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-08-2019