การรับรู้ต่อการพัฒนาการเกษตรภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของเกษตรกรในตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • นวลพิศ มีเดชา คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พุฒิสรรค์ เครือคำ สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พหล ศักดิ์คะทัศน์ สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • กังสดาล กนกหงษ์ สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การรับรู้, การพัฒนาการเกษตร, ไทยแลนด์ 4.0

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ต่อการพัฒนาการเกษตรภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของเกษตรกร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้การพัฒนาการเกษตรภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของเกษตรกร 4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการเกษตรภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของเกษตรกรในตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ เกษตรกรที่อาศัยในตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 57 ปี มีระดับการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย  มีสถานภาพสมรส มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน มีรายได้ในภาคการเกษตรเฉลี่ย 7,953.71 บาทต่อเดือน มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 2.51 ไร่ มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน มีหนี้สินในครัวเรือนเฉลี่ย  93,407.98 บาท เกษตรกรส่วนใหญ่มีการรับรู้ต่อการพัฒนาการเกษตรภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี เกษตรกรได้รับข่าวสารผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ด้านการเกษตรเฉลี่ย 32 ครั้งต่อเดือน มีการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนเฉลี่ย 1 ครั้งต่อเดือน และมีประสบการณ์การอบรมหรือดูงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี เกษตรกรมีการรับรู้ต่อการพัฒนาการเกษตรภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยรวมอยู่ในระดับน้อย (  = 2.38) โดยด้านการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกมีการรับรู้มากที่สุด (  = 2.41) ส่วนด้านการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์มีการรับรู้น้อยที่สุด (  = 2.35) สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ต่อการพัฒนาการเกษตรภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 อย่างมีนัยทางสถิติ (Sig. 0.05) คือ ระดับการศึกษา (Sig.= 0.016) การเข้าอบรมหรือศึกษาดูงานด้านการเกษตร (Sig.= 0.002) เพศ (Sig.= 0.000) อายุ (Sig.= 0.000) และสถานภาพของเกษตรกร (Sig.= 0.004)

สภาพปัญหา อุปสรรคต่อการพัฒนาการเกษตรภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของเกษตรกร ที่สำคัญ คือ เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ขาดทักษะการใช้เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร สินค้าและผลิตภัณฑ์ไม่มีคุณภาพ เกษตรกรส่วนใหญ่ขาดกำลังทรัพย์ในการทำการเกษตรอินทรีย์ และหน่วยงานที่เข้าไปส่งเสริมขาดการติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยเกษตรกรมีข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางต่อการพัฒนาการเกษตรภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 คือ ควรมีโครงการที่จัดขึ้นเกี่ยวกับการทำการเกษตรอินทรีย์ ควรมีการติดตามผลการดำเนินงาน       มีการประชาสัมพันธ์อย่างชัดเจนถึงประโยชน์ที่ได้รับ และหน่วยงานส่งเสริมการเกษตรควรสนับสนุนความรู้ และปัจจัยการผลิตอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

References

Angkasakulkiat, S., S. Anusontpornperm, S. Thanachit and T. Sriwongchai. 2017. Relationship between gender, age and education factors, and the operation of the community rice seed extension and production center in Si Sa Ket province. Khon Kaen Agr. 45(2): 341-350. [in Thai]

Guo, G., Q. Wen and J. Zhu. 2015. The impact of aging agricultural labor population on farmland output: from the perspective of farmer preferences. Mathematical Problems in Engineering. [Online]. Available https://www.hindawi.com/ journals/mpe/2015/730618.pdf (6 October 2018).

Hemmawat, W., S. Srisuwan and S. Niyamangkoon. 2013. The opinion of farmers in Nong Krabian village, Ban Mi district, Lop Buri province about rice production. Journal of Agricultural Extension and Communication 1(9): 1-7. [in Thai]

Kulavijit, B. 2017. Personal media and agriculture 4.0 promotion. Veridian E Journal 10(3): 2440-2454. [in Thai]

Office of Agricultural Economics. 2011. The Five-year Agriculture Development Plan under the Eleventh National Economic and Social Development Plan. Bangkok: Ministry of Agriculture and Cooperatives. 66 p. [in Thai]

Phengsawat, W. 2010. Applied Statistics for Social Science Research. Bangkok: Suveeriyasarn. 428 p. [in Thai]

Plianbumroong, D. and P. Utaipan. 2017. The relationship between basic factors and health perception about senile cataract of older adults in Yala province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 4(2): 157-171. [in Thai]

Prasit-rathasint, S. 2002. Using Statistical Research Properly and Meet International Standards. Bangkok: Fueang Fa Printing House. 352 p. [in Thai]

Sittirungsun, T. 2008. Nature Farming. Bangkok: Odeon Store. 275 p. [in Thai]

Sikkhabandit, S. 2017. Thailand's 4.0 policy: opportunities, threats and benefits of Thailand in the ASEAN region. [Online]. Available https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=46816&filename=foreign2_index (2 October 2018). [in Thai]

Sobperng Subdistrict Administrative Organization. 2015. Activities and projects. [Online]. Available http://sobperng.go.th/index.php?_mod=YWN0aXZpdHk&no=MTE (25 March 2016). [in Thai]

Suemkrathok, T. and A. Chinnasan. 2016. The role perception of the members of the subdistrict administrative organization council in Nakhon Ratchasima province. NRRU Community Research Journal 10(3): 53-60. [in Thai]

Tancho, A. 2006. Applied Natural Agriculture: Principle Concepts Technical Practice in Thailand. Bangkok: National Science and Technology Development Agency. 300 p. [in Thai]

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition. New York: Harper and Row Publication. 886 p. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2020