ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นและการปฏิบัติตามสิทธิประโยชน์ ในพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทยของเกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • ธนศานต์ ธรรมเลิศสถิต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • นคเรศ รังควัต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พหล ศักดิ์คะทัศน์ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • กังสกาล กนกหงษ์ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

ความคิดเห็นและการปฏิบัติ, สิทธิประโยชน์ ในพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย, กองทุนพัฒนายางพารา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพเศรษฐกิจ สังคม เศรษฐกิจ การรับข้อมูลข่าวสาร 2) ระดับความรู้ ความคิดเห็น และการปฏิบัติในสิทธิประโยชน์ ตาม พรบ.       การยางแห่งประเทศไทย 3)  ปัจจัยความสัมพันธ์กับ ความคิดเห็นและการปฏิบัติ และ 4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดแพร่ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 310 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดแพร่ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51.75 ปี  สถานภาพสมรส การศึกษาระดับประถมศึกษา มีรายได้รวมทั้งหมดเฉลี่ย 105,214.19 บาท รายได้จากการปลูกยางพาราเฉลี่ย 64,667.10 บาท พื้นที่ปลูกยางพารา เฉลี่ย 13.09 ไร่ ใช้แรงงานเฉลี่ย 2 คน มีประสบการณ์การทำสวนยางเฉลี่ย 11.9 ปี ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่ม  มีเข้าร่วมกิจกรรมเฉลี่ย 3 กิจกรรม ผ่านการฝึกอบรมเฉลี่ย 1.98 หลักสูตร การติดต่อหน่วยงานส่วนใหญ่ติดต่อกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารเฉลี่ย 2.50 ช่องทาง เกษตรกรมี

ความรู้ระดับปานกลาง มีความคิดเห็นระดับมาก และมีการปฏิบัติที่ระดับมาก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็น ได้แก่ ประสบการณ์การทำสวนยาง การเป็นสมาชิกกลุ่ม  การติดต่อหน่วยงาน  การรับข้อมูลข่าวสาร และระดับความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Sig.<0.05) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติ ได้แก่ เพศ สถานภาพ ประสบการณ์ในการทำสวนยาง การเป็นสมาชิกกลุ่ม การร่วมกิจกรรมชุมชน การฝึกอบรม การติดต่อหน่วยงาน และระดับความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Sig.<0.05)

ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรชาวสวนยาง คือ เกษตรกรไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกิน ราคายางพาราตกต่ำ และความรู้ในการผลิตยางให้ได้คุณภาพ จึงอยากให้มีแก้ไขระเบียบเพื่อเปิดโอกาสให้คนไม่มีเอกสิทธิ์ การสร้างระบบตลาดยางท้องถิ่น และจัดหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนาฝีมือเกษตรกรในการผลิตยางพาราให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามความต้องการของตลาด  เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตและช่องทางการจำหน่าย       ให้มีทางเลือกมากยิ่งขึ้น

References

Peng Sawat, V. 2010. Applied Statistics for Social Science Research. Bangkok: Suwiriyasarn. 410 p. [in Thai]

Prasitratasin, S. 2002. Using Statistics in Research Correctly and Receiving International Standards. Bangkok: Fueng Fah Printing. 444 p. [in Thai]

Suwatthi, P. 1998. Sampling for research. Journal of Administrative Development 38(3): 103-130. [in Thai]

Suwan, P. 1999. Attitude: Measurement of Change and Hygiene Behavior. Bangkok: Thai Wattana Panich Publishing Company Limited. 143 p. [in Thai]

The Rubber Authority of Thailand. 2016. Thai Rubber Act 015. [Online]. Available http://www.rubber.co.th/ewt_news.php?nid=4037 (10 February 2018).

Thiraphutthabhokhin, N. 2016. Rubber "The Gears Driving the Economy. [Online]. Available https://forbesthailand.com/commentaries/insights/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2-%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%84.html (10 February 2018).

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row Publication. 1130 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2021