การประเมินศักยภาพของวัสดุคลุมดินต่อการควบคุมวัชพืชปืนนกไส้ (Bidens pilosa L.) บนคันนาข้าว: กรณีศึกษา ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สิปปวิชญ์ ปัญญาตุ้ย กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว
  • สมนึก แก้วเกาะสะบ้า ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง เชียงใหม่
  • สุมาลี มีปัญญา ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง เชียงใหม่
  • พิชญ์นันท์ กังแฮ ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ แพร่
  • วรเมธ พลประโคน หลักสูตรอารักขาพืช คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • มรกต โอษะคลัง หลักสูตรอารักขาพืช คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • ศศิวิมล ผดุงสันต์ หลักสูตรอารักขาพืช คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • เจนจิรา หม่องอ้น หลักสูตรอารักขาพืช คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

วัสดุคลุมดิน, ฟางข้าว, กระดาษจากฟางข้าว, ปืนนกไส้, ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของวัสดุคลุมดินต่อการควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืชปืนนกไส้ (Bidens pilosa L.) ดำเนินการทดลองบนคันนาในแปลงปลูกข้าวไร่ ฤดูนา ปี พ.ศ. 2562 ภายในศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ โดยมีกรรมวิธีการคลุมคันนาข้าวโดยใช้วัสดุที่แตกต่างกัน 4 ชนิด ได้แก่ 1) ไม่คลุมดิน 2) ฟางข้าว 3) กระดาษจากฟางข้าว และ 4) พลาสติกดำ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ขนาดแปลงย่อย 50x50 ซม. ทำการเก็บข้อมูลความสูง ความหนาแน่น เปอร์เซ็นต์การปกคลุมของวัชพืช และน้ำหนักแห้งต่อพื้นที่ทุกสัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า การเจริญเติบโตของปืนนกไส้มีการตอบสนองต่อวัสดุที่ใช้คลุมดินแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การคลุมดินด้วยพลาสติกสีดำ และกระดาษจากฟางข้าวมีผลยับยั้งความสูง ความหนาแน่น เปอร์เซ็นต์การปกคลุม และน้ำหนักแห้งของปืนนกไส้ ได้ตลอดระยะเวลา 4 สัปดาห์ ยกเว้นกระดาษจากฟางข้าวที่มีประสิทธิภาพลดลงเล็กน้อยในสัปดาห์ที่ 3 และ 4 ส่วนการเจริญเติบโตของปืนนกไส้ในกรรมวิธีการคลุมด้วยฟางข้าวและการไม่คลุมดินนั้นไม่แตกต่างกัน

 

References

Areewong, P. and W. Nakkamtong. 2012. Pulp Production from Rice Straw by Biological Method Combined with Soda Process. Bachelor Thesis. Rajamangala University of Technology Thanyaburi. 67 p. [in Thai]

Boonyaruthutkalin, T., S. Wichiranon and U. Polyium. 2002. The development of rice paper straw products. 108 p. In Research Report. Bangkok: Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. [in Thai]

Booth, B.D., S.D. Murphy and C.J. Swanton. 2003. Weed Ecology in Natural and Agricultural Systems. London: CABI Publishing. 320 p.

Department of Agriculture. 2019. The value of imports pesticide (2008-2018). [Online]. Available http://www.oae.go.th/view/1/ปัจจัยการผลิต/TH-TH.html (17 April 2019). [in Thai]

Jaithamcharoenporn, R. 2002. Studies on the Potential of Mulching Materials to Weed Control and Growth of the Create (Anrographis paniculatal) in Organic Agriculture. Master Thesis. Kasetsart University. 31 p. [in Thai]

Lueangapapong, P. 1997. Weed Science. Bangkok: Ruea Khiew Press. 585 p. [in Thai]

Monaco, T.J., S.C. Weller and F.M. Ashton. 2002. Weed Science: Principles and Practices. 4th Edition. New York: John Wiley and Sons Incorporated. 671 p.

Nanthasamsaran, P. and C. Nitthachaiyawong. 2010. Effect of mulching materials on weed control in Pueraria candollei Wall. ex Benth. var. mirifica (Airy Shaw and Suvatabandhu) Niyomdham. 10 p. In Research Report. Bangkok: Department of Agriculture. [in Thai]

Suwanagul, D. and R. Suwankhetnikom. 2001. Weeds in Thailand. Bangkok: Kasetsart University Press. 438 p. [in Thai]

Wu, X.H., W. Wang, X.L. Xie, C.M. Yin and H.J. Hou. 2018. Effects of rice straw mulching on N2O emissions and maize productivity in a rain-fed upland. Environmental Science and Pollution Research 25(7): 6407-6413.

Zungsontiporn, S. 2005. Invasive alien weeds in Thailand and case study on Bidens pilosa L. var radiata Shultz-Bip. Plant Protection Research and Development Office, Department of Agriculture, Thailand Asian-Pacific Alien Species Database. [Online]. Available http://www.naro.affrc.go.jp/archive/niaes/techdoc/apasd/Bidens%20pilosa%20%20var.%20radiata%20%20%20%20(2)%20%20-B.html. (17 April 2019). [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-12-2020