การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการธนาคารต้นไม้บ้านถ้ำเสือ จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา สุวรรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กัมปนาท วิจิตรศรีกมล สาขาวิชาการจัดการทรัพยากร ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
  • สาพิศ ดิลกสัมพันธ์ สาขาวนศาสตร์ ภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ

คำสำคัญ:

ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์, การประเมิน, ธนาคารต้นไม้

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการธนาคารต้นไม้บ้านถ้ำเสือ จังหวัดเพชรบุรี โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์ ประธานและสมาชิกของโครงการธนาคารต้นไม้บ้านถ้ำเสือ จังหวัดเพชรบุรี ศึกษาลักษณะ การจัดการ และผลการดำเนินงานของโครงการธนาคารต้นไม้บ้านถ้ำเสือ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อพิจารณาการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ผ่านมาของชุมชนบ้านถ้ำเสือ ที่เป็นชุมชนตัวอย่างให้กับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทั้งยังศึกษาสภาพเศรษฐกิจ สังคม ของผู้เข้าร่วมโครงการธนาคารต้นไม้บ้านถ้ำเสือว่ามีรายได้ของสมาชิกในชุมชนและความเป็นอยู่ทางสังคมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด ธนาคารต้นไม้บ้านถ้ำเสือมีการเข้าร่วมโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme) หรือเรียกว่าโครงการ LESS จึงได้ทำการศึกษาประเมินมูลค่าการกักเก็บคาร์บอนในเนื้อไม้ ของโครงการธนาคารต้นไม้ในโครงการฯ และสุดท้ายทำการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการธนาคารต้นไม้บ้านถ้ำเสือ จังหวัดเพชรบุรี สำหรับการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการศึกษาในครั้งนี้ ได้ใช้          มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิ (NPV) อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR) และอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ณ อัตราคิดลดร้อยละ 5 (อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับเกษตรกรชั้นดีของ ธ.ก.ส.) อย่างไรก็ตามพบว่าความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการธนาคารต้นไม้บ้านถ้ำเสือ จังหวัดเพชรบุรี มีความคุ้มค่าในการลงทุนเมื่อสิ้นสุดโครงการฯ การศึกษาได้ใช้อัตราราคาไม้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 อ้างอิงจากสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) โครงการส่งเสริม        ปลูกต้นไม้เพื่อเป็นทุนระยะยาว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผลการศึกษาพบว่าการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการธนาคารต้นไม้บ้านถ้ำเสือ และได้ทำการคิดมูลค่าคาร์บอนที่กักเก็บในเนื้อไม้ โดยได้รับเงินสนับสนุนจาก ธ.ก.ส. ภายใต้โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) การวิเคราะห์ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน Ex-post evaluation ตั้งแต่ปีที่ก่อนก่อตั้งโครงการฯ พ.ศ. 2549 ไปจนถึงปี พ.ศ. 2561 เป็นปีที่สามารถเก็บข้อมูลย้อนหลังได้ มีค่า NPV และ BCR เท่ากับ -14,941,556 บาท และ 0.2003 ตามลำดับ 2) การวิเคราะห์ผลประโยชน์ ในอนาคตระยะยาว โดย Ex-post evaluation รวมกับ     Ex-ante evaluation ตั้งแต่ปีที่ก่อนก่อตั้งโครงการฯ   พ.ศ. 2549 ไปจนถึงปี พ.ศ. 2584 พบว่ามูลค่าปัจจุบัน ณ ปี พ.ศ. 2584 ของ NPV, BCR และ IRR เท่ากับ 970,783 บาท 1.0336 และร้อยละ 5.28 ตามลำดับ จากผลการศึกษา รัฐบาลและ ธ.ก.ส. ควรสนับสนุนโครงการธนาคารต้นไม้ในพื้นที่ที่มีการทำลายป่าไม้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแรงจูงใจให้สมาชิกรายเก่าดำเนินการจนสิ้นสุดโครงการฯ ได้ผลประโยชน์จากเนื้อไม้ที่มีคุณภาพมากที่สุด และสมาชิกรายใหม่ที่สนใจตัดสินใจที่จะเข้าร่วมโครงการธนาคารต้นไม้เพิ่มขึ้น

References

Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives. 2018. Sufficiency Tree Bank, Sustainable Wealth. Bangkok: Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives. 92 p. [in Thai]

Biodiversity-Based Economy Development Office (Public Organization). 2009. Tree Planting Promotion Project for Long Term Funds. Bangkok: Forest Research Center, Faculty of Forestry, Kasetsart University. 193 p. [in Thai]

Department of Forestry. 2018. Forest Statistics of Thailand 2005-2017. Bangkok: Ministry of Natural Resources and Environment. 13 p. [in Thai]

Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization) and Faculty of Forestry. 2011. Adsorption Potential Carbon Dioxide of Plant Species. pp. 37-40. In the potential Tree Species Guidebook for Promoting under the Clean Development Mechanism in Forestry Project. Bangkok: Siam printing letters. [in Thai]

Thapphan, Y. 2000. Project Evaluation According to Economic Guidelines. 2nd Edition. Bangkok: Thammasat University. 3 p. [in Thai]

Thongprapak, K., S. Diloksamphan and N. Mianmit. 2016. Plant society characteristics and carbon storage in biomass of dry dipterocarp forest in Ban Khong Ta Bang Community Forest. Phetchaburi Province. Journal of Forestry 10: 148-159. [in Thai]

Ueaareerert, A. 2014. Economic Analysis of Participation in Thung Hong Tree Bank Project, Chumphon Province. The Faculty of Economics Kasetsart University. 87 p. [in Thai]

Vichitsrikamon, K. 2016. Analysis of Costs and Returns for Water Development Groundwater for Agriculture in Rain-dependent Agricultural Areas Nong Ya Sai District Suphanburi Province. Bangkok: The Faculty of Economics Kasetsart University. 16 p. [in Thai]

Yothapakdee, T., T. Lattirasuvan, W. Mangkita and L. Horsin. 2013. Economic Evaluation of Wood in Upstream Forest Areas Watershed Water Management Unit, Tha Wang Pha District Nan Province. Phrae: Maejo University. 432 p. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2020