บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาที่มีต่อการส่งเสริมสมรรถนะการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ในชุมชน

ผู้แต่ง

  • Kannapon Phakdeesettakun สำนักงานนโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข
  • Sopit Nasueb สำนักงานนโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข
  • Suladda Pongutta International Health Policy Program, Ministry of Public Health, Nonthaburi

คำสำคัญ:

เกษตรอินทรีย์, สถาบันอุดมศึกษา, บทบาทชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลด้านบริบทและปัจจัยแวดล้อม รูปแบบและกระบวนการในการดำเนินงาน ผลลัพธ์และผลกระทบที่ชุมชนได้รับจากการดำเนินการ ตลอดจนปัจจัยหนุนเสริมความท้าทายและปัญหาอุปสรรค จากการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในชุมชนของสถาบันอุดมศึกษา โดยทำการศึกษาด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกใน 5 พื้นที่ ผู้ที่เกี่ยวข้อง 2 กลุ่ม คือ ผู้รับผิดชอบโครงการหรือผู้ที่มีบทบาทหลักของสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 13 คน และแกนนำหรือสมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์ในชุมชน จำนวน 15 คน รวม 28 คน ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้พันธกิจด้านการบริการวิชาการเพื่อรับใช้สังคม การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์     ในชุมชนของสถาบันอุดมศึกษาประกอบไปด้วยการดำเนินงาน 7 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่  1) สร้างพื้นที่รูปธรรมต้นแบบ  2) ปรับเปลี่ยนทัศนคติของเกษตรกร  3) พัฒนาคนให้มีความเข้าใจในการทำเกษตรอินทรีย์      ที่แท้จริง  4) หาตลาดรองรับผลผลิตอินทรีย์  5) รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสม  6) ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ และ 7) สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยการดำเนินการขึ้นกับศักยภาพ ความพร้อมและต้นทุนที่มี แต่ต้องมีการดำเนินงานครบทุกขั้นตอน ตลอดจนครบทั้งระบบห่วงโซ่เกษตรอินทรีย์ และครอบคลุมทั้งพื้นที่ โดยในการดำเนินงานต้องมีการลงพื้นที่ทำงานร่วมกับชุมชนอย่างจริงจัง มีการลงมือปฏิบัติและเรียนรู้ไปพร้อมกัน และเน้นกระบวนการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ สถาบันอุดมศึกษามีบทบาทที่ชัดเจน คือ การเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนองค์ความรู้ที่ถูกต้องและทัน     ต่อเหตุการณ์ เสริมสร้างศักยภาพให้แก่ชุมชน และเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสานการบูรณาการการดำเนินงานในพื้นที่ ทั้งนี้บทบาทในอนาคตที่ชุมชนคาดหวังจากสถาบันอุดมศึกษา คือ การเป็นหน่วยงาน       ที่ตรวจรับรองผลผลิตอินทรีย์ รวมถึงสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อตอบสนองเกษตรกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต

References

Keawtip, S., Y. Srikampa and P. Kawichai. 2013. Organic agriculture: limitations of marketing channel of organic products in Chiangmai and Lampoon provinces. 216 p. In Research Report. Chiang Mai: Maejo University. [in Thai]

Maejo University. 2012. Situation of Organic Agriculture. pp.15-18. In Summary of Project in Workshop “Maejo University and Organic Agriculture Development in Nation Level” 28-29 June 2012. Chiang Mai: Maejo University. [in Thai]

Office of Agricultural Economics. 2017. National Organic Agricultural Development Strategy (2017−2021). Bangkok: Office of Agricultural Economics. 85 p. [in Thai]

Panyakul, V. and C. Kongsom. 2015. Preparation of Production and Marketing Situation Data Organic Products. Bangkok: Ministry of Commerce. 157 p. [in Thai]

Setthajit, R. 2015. The University Serves Society in the 21st Century Context: Phayao Model. Bangkok: The Thailand Research Fund. 35 p. [in Thai]

Sittichai, S. 2005. Factors Affecting Economic Sustainability of Organic Farming System: Case Study of Mae Taeng District Chiang Mai Province. Master Thesis. Kasetsart University. 146 p. [in Thai]

Wisetrat, C. 2010. Sustainable Agriculture Patterns of Farmers in Chanthaburi Province. Master Thesis. Rambhai Barni Rajabhat University. 93 p. [in Thai]

Wongla, R., C. Promma and C. Mingchai. 2013. Development of Agri-business Management System: Uttaradit University and the Network of Farmers Local Organizations in Uttaradit Province. Bangkok: The Thailand Research Fund. 195 p. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-08-2021