ลักษณะขวัญและความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวของโคขาวลำพูน

ผู้แต่ง

  • พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา สาขาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ชยุต ดงปาลีธรรม์ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์พะเยา

คำสำคัญ:

โคขาวลำพูน, ลักษณะปรากฏ, ขวัญ, น้ำหนักตัว

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของขวัญกับน้ำหนัก  ในโคขาวลำพูนที่เลี้ยงในศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์พะเยา สำหรับคัดเลือกเป็นพระโคที่ใช้ในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โดยเก็บข้อมูลจากโคขาวลำพูนเพศเมีย จำนวน 295 ตัว มีอายุ 2-4 ปี การศึกษาที่ 1: ตรวจสอบลักษณะการปรากฏของขวัญที่แสดงออกบนร่างกายโคขาวลำพูนแม่พันธุ์พบว่า รูปแบบขวัญที่พบมากที่สุด คือ ขวัญหน้า (ร้อยละ 94.58) รองลงมา คือ ขวัญหลัง (ร้อยละ 88.47) ขวัญตะพายทับ (ร้อยละ 64.41) ขวัญทัดดอกไม้ซ้าย (ร้อยละ 41.34) ขวัญทัดดอกไม้ขวา (ร้อยละ 29.83) ขวัญรักแร้ซ้าย (ร้อยละ 3.73) และขวัญรักแร้ขวา (ร้อยละ 2.03) ตามลำดับ การศึกษาที่ 2: ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างโคที่ปรากฏและไม่ปรากฏ ขวัญบนร่างกายต่อน้ำหนักร่างกายลูกโคแรกเกิดและการเจริญเติบโตเมื่อเลี้ยงถึงอายุหย่า 200 วัน ผลการศึกษาพบว่า โคที่ไม่ปรากฏขวัญหน้ามีน้ำหนักแรกเกิด และน้ำหนักที่อายุ 200 วัน (17.82±1.67 กิโลกรัม และ 82.88±13.92 กิโลกรัม) ไม่แตกต่างกัน (P=0.15 และ P=0.51) กับโคที่ปรากฏขวัญหน้า (17.17±1.84 กิโลกรัมและ 80.70±13.30 กิโลกรัม) โคที่ไม่ปรากฏขวัญหลังมีน้ำหนักแรกเกิด (17.62±1.81 กิโลกรัม) มากกว่า (P=0.07) แต่มีน้ำหนักที่อายุ 200 วัน (83.71±13.64 กิโลกรัม) ไม่แตกต่างกัน (P=0.11) กับโคที่มีขวัญหลัง  (17.05±1.78 กิโลกรัม และ 80.40±13.27 กิโลกรัม)   โคที่ปรากฏขวัญตะพายทับมีน้ำหนักแรกเกิดและ น้ำหนักที่อายุ 200 วัน (17.00±1.80 กิโลกรัม และ 81.24±13.48 กิโลกรัม) ไม่แตกต่าง (P=0.32 และ P=0.95) กับโคที่ไม่ปรากฏขวัญตะพายทับ (17.19±1.79 กิโลกรัม และ 81.15±13.40 กิโลกรัม)  ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันระหว่างการปรากฏของขวัญที่ตำแหน่งต่างๆ ของร่างกายโคกับน้ำหนักตัวที่อายุแรกเกิด (0 วัน) และอายุหย่านม (200 วัน) ในโคขาวลำพูนเพศเมียที่เลี้ยง ณ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์พะเยา

References

Broucek, J., P. Kisac, S. Mihina, A. Hanus M. Uhrincat and V. Tancin. 2007. Hair whorls of Holstein Friesian heifers and effects on growth and behavior. Archives Animal Breeding 50: 374-380.

Department of Livestock Development. 2018. Biodiversity Research Section, Bureau of Animal Husbandry and Genetic improvement, Khao Lanna Cattle. [Online]. Available http://breeding.dld.go.th/biodiversity/chm/pvpchm/provineculture/white%20rumpoon%20cattle.html (20 July 2018). [in Thai]

Dongpaleethun, C. 2014. Phayao Livestock Research and Breeding Center. [Online]. Available www.http://lspy-pyu.dld.go.th/index.php/white-lamphun (20 July 2018). [in Thai]

Grandin, T., M.J. Deesing, J.J. Struthers and A.M. Swinker. 1996. Cattle with hair whorl patterns above the eyes are more behaviorally agitated during restraint. Applied Animal Behaviour Science 46: 17-123.

Klar, A.J. 2003. Human handedness and scalp hair-whorl direction develop from a common genetic mechanism. Genetics 165(1): 269-76.

Lerksanhia, U. 2018. Will be sacred oxen!! How to select and practice sacred oxen in the job, Royal ploughing ceremony. (In Thai). [Online]. Available http://www.tnews.co.th/contents/bg/318484. (20 July 2018). [in Thai]

Paine, M.L., C.T. Paine and G.A. Machin. 2004. Hair whorls and monozygosity. Journal of Investigative Dermatology. 122(4): 1057-1058.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2019