ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการรับการส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ของเกษตรกร ในตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สรธน ธิติสุทธิ คณะผลิตกรรมการเกษตร สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • พุฒิสรรค์ เครือคำ คณะผลิตกรรมการเกษตร สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความต้องการรับการส่งเสริม, ผักอินทรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) เพื่อศึกษาความต้องการรับการส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ของเกษตรกร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการรับการส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ของเกษตรกร และ 4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ของเกษตรกร ในตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ เกษตรกรในพื้นที่ตำบลแม่แฝกใหม่จำนวน 399 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็น        เพศหญิงมีอายุเฉลี่ย 54.36 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนปลาย มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีสมาชิกวัยเรียนในครัวเรือน        มีจำนวนสมาชิกวัยแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน         มีรายได้เฉลี่ย 7,636.59 บาทต่อเดือน มีพื้นที่ถือครองในครัวเรือนเฉลี่ย 4.08 ไร่ มีการรับรู้ข่าวสารด้านการเกษตรเฉลี่ย 19 ครั้งต่อเดือน มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 1 ครั้งต่อเดือน เข้าร่วมกิจกรรมและประเพณีของหมู่บ้านหรือชุมชนเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการทำการเกษตรเฉลี่ย 1 ครั้งต่อเดือน เข้าร่วมการฝึกอบรมและศึกษาดูงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี  เกษตรกรมีประสบการณ์การปลูกผักอินทรีย์เฉลี่ย 4 ปี เกษตรกรได้รับประโยชน์จากการปลูกผักอินทรีย์ในระดับมากและเกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกผักอินทรีย์อยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาความต้องการรับการส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ของเกษตรกรในตำบลแม่แฝกใหม่ พบว่าอยู่ในระดับความต้องการมาก ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการรับการส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ของเกษตรกร ได้แก่ ระดับการศึกษา การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และการเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการเกษตร

ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค ของเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ ได้แก่ มีพื้นที่ทำการเกษตรน้อยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เช่า การใช้สารเคมีสะดวกรวดเร็วกว่า ขาดแหล่งทุนและปัจจัยในการทำการเกษตรอินทรีย์ ขาดความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์และหน่วยงานที่เข้าไปส่งเสริมขาดการติดตามให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง และเกษตรกรเสนอแนะว่าโครงการส่งเสริมที่จัดขึ้นควรมีการประชาสัมพันธ์และชี้ให้เห็นประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับ ควรจัดทำแปลงตัวอย่างเกษตรอินทรีย์ในชุมชน ควรสนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกร ควรจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมควรมีการติดตามงานอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

References

Department of Agriculture Extension. 2015. Organic vegetable cultivation farming system. [Online]. Available http://www.kasetkawna.com/article/194 (21 November 2017). [in Thai]

Faculty of Science and Technology, Thammasat University. 2008. Organic farming. [Online]. Available http://www.scitu.net/rt/?page_id=974 (21 November 2017). [in Thai]

Kasikorn Research Center. 2011. Risk Factors of Organic Farming. Bangkok: Kasikorn Research Center Company Limited. 15 p. [in Thai]

Khananit, S. 2017. Farmers' needs for receive development agricultural Wa Thong sub district administration organization. Khon Kaen Agriculture Journal 45(1): 1515-1521. [in Thai]

Kruekum, P. 2017. Development of Participatory process of farmers in promotion of vegetables and fruits under the system good agricultural practice. Journal of Agricultural Research and Extension 34(1): 69-80. [in Thai]

Panyakun, W. 2004. Organic Farming with Global Warming. Bangkok: Earth Net Foundation. 128 p. [in Thai]

Prasitratsin, S. 2003. Social Research Methodology. Bangkok: National Institute of Development Administration. 681 p. [in Thai]

Rattanavaraha, C. 2002. Organic Farming. Bangkok: Department of Agriculture Thailand Ministry of Agriculture and Cooperatives. 229 p. [in Thai]

Sakkatat, P. and P. Kruekum. 2017. Factors related to organic or chemical farming of farmer in Chiang Mai Province. Journal of Agricultural Research and Extension 34(2): 66-77. [in Thai]

Tueyot, P. and P. Singkharat. 2012. Participation of Farmers Agricultural to Extension Program of San Phi Suea Municipal District, Mueang Chiang Mai District, Chiang Mai Province. Master Thesis. Maejo University. 97 p. [in Thai]

Yamane, T. 1967. Statistics: An Introductory Analysis. New York: 3. S. l. Harper International. 886 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2019