การปฏิบัติตามเทคโนโลยีการผลิตกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออกของเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • อรอุมา ทองหล่อ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • นวลเพ็ญ พ่วงพันสี คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ปภาวี ไชยโย คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วรรณรภา โพธิ์ศรี คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สุวนันท์ คำมุง คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การปฏิบัติตามเทคโนโลยี, กระเจี๊ยบเขียว, การส่งออก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการเพาะปลูกกระเจี๊ยบเขียว การปฏิบัติตามเทคโนโลยีการผลิตกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออก ผลของการปฏิบัติตามเทคโนโลยีการผลิตกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออกต่อปริมาณผลผลิตตามเกณฑ์มาตรฐาน ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการผลิตกระเจี๊ยบเขียวของเกษตรกร   ในพื้นที่อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกกระเจี๊ยบ จาก      บัญชีรายชื่อเกษตรกรผู้ปลูกกระเจี๊ยบเขียวที่ขึ้นทะเบียนของสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม จำนวน 30 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม R สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละ และตัวทดสอบไคสแควร์

ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีประสบการณ์การปลูกกระเจี๊ยบเขียว 1-3 ปี มีพื้นที่เพาะปลูกของตนเอง ใช้น้ำจากระบบชลประทาน แรงงานในการเพาะปลูกเป็นคู่สามีภรรยา จ้างแรงงานในขั้นตอนการเตรียมดิน พื้นที่ที่ใช้ปลูกกระเจี๊ยบเขียวอยู่ในช่วง   1.1-3 ไร่ ส่วนใหญ่นำผลผลิตไปขายเองที่จุดรับซื้อ แหล่งรับรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตและคำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาการผลิตกระเจี๊ยบเขียว คือ หัวหน้าจุดรับซื้อ มีจำนวนผลผลิตกระเจี๊ยบเขียวในแต่ละครั้งอยู่ในช่วง 1,001-1,500 กก./ไร่ จำนวนผลผลิตมากกว่าร้อยละ 90 ของจำนวนผลผลิตทั้งหมดเป็นผลผลิตที่ได้ตามเกณฑ์ และผลตอบแทนอยู่ในช่วง 10,001-30,000 บาท/ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ปฏิบัติตามเทคโนโลยีการผลิตด้านวิธีการเก็บเกี่ยวมากที่สุด ปฏิบัติตามด้านการป้องกันกำจัดวัชพืชและการป้องกันกำจัดแมลงในส่วนของการใช้สารเคมีน้อยที่สุด และพบว่าการปฏิบัติตามเทคโนโลยีการผลิตกระเจี๊ยบเขียวด้านวิธีการปลูกส่งผลให้ปริมาณผลผลิตตามเกณฑ์มาตรฐานสูงขึ้น สำหรับปัญหาที่เกษตรกรพบในการปลูกกระเจี๊ยบเขียว คือ โรคพืชและแมลงศัตรูพืช

References

Department of Agriculture Extension. 2008. Handbook of Agricultural Extensionist: Okra. [Online]. Available http://www.agriman.doae.go.th/home/t.n/t.n1/5vagetable_Requirement/03_Okra.pdf (15 May 2020). [in Thai]

Jamnonknearn, K., P. Tangwiwat and B. Yooprasert. 2012. Okra Production and Marketing by Farmers in Nakhon Pathom Province. pp. 1-10. In Proceedings of the 2nd STOU Graduate Research Conference (Oral) 4-5 September 2012. Nontaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai]

Junpatiw, A. and W. Sittikarn. 2019. Effect of row spacing and rates of chemical fertilizer on growth and yield component of okra. Khon Kaen AGR. J. 47(Suppl.1): 1557-1562. [in Thai]

Muongthong, P., W. ThongKot and S. Ungpansattawong. (n.d.). Determining the sample size by the Yamane’s formula. [Online]. Available http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/01_9_Yamane.pdf (20 February 2020). [in Thai]

Paowsrakoo, N. and C. Wongsamun. 2018. Adoption on Jasmine rice production technology with good agricultural practices of farmers in Tungkula Ronghai area, Roi-Et province. Khon Kaen AGR. J. 46(Suppl.1): 779-785. [in Thai]

Paththinige, S.S., P.S.G. Upasantha, R.M. Ranaweera Banda and R.M. Fonseka. 2008. Effect of plant spacing on yield and fruit characteristics of okra (Abelmoschus esculentus). Tropical Agricultural Research 20: 336-342.

Pitiporn, S. 2018. An okra fight against Gnathostoma. Moa Chaoban 39(467): 16-19. [in Thai]

Praphaisri, N., K. Kanokhong, N. Rungkawat and P. Sakkatat. 2015. Adoption of wet season rice production of farmers in Mae Ai District, Chiang Mai. Journal of Agr. Research & Extension 32(1): 39-46. [in Thai]

Tanthawanit, O. 2018. Organic farming and natural lifestyle. [Online]. Available https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_86050 (15 February 2020). [in Thai]

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introduction Analysis. 3rd Edition. New York: Harper and Row Publications. 1130 p.

Yossuck, P. and U. Promnet. 2005. Farmer’s adoption of okra production for export in the upper northern region of Thailand. pp. 252-266. In Proceedings of the 43rd Kasetsart University Annual Conference 1-4 February 2005. Bangkok: Kasetsart University. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2021