การศึกษาการเจริญเติบโตในการผสมข้ามพันธุ์ของปลาลูกผสมบึกสยาม ปลาเทโพ และปลาเทพา

ผู้แต่ง

  • นิสรา กิจเจริญ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • กนกวรรณ นาคขำ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

ปลาหนังลูกผสม การเจริญเติบโต เฮตเทอโรซีส การปรับปรุงพันธุ์

บทคัดย่อ

การศึกษาการเจริญเติบโตของปลาหนังลูกผสม 3 สายพันธุ์ เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงพาณิชย์และวิสาหกิจชุมชน โดยทำการผสมพันธุ์ปลาเทโพขนาดน้ำหนักตัว 3-5 กก. อายุ 5-6 ปี ปลาลูกผสมบึกสยามน้ำหนักตัว 2-3 กก. อายุ 2-3 ปี และปลาเทพาน้ำหนักตัว 3-5 กก. อายุ 5-6 ปี ดังนี้ แม่เทโพ × พ่อเทโพ แม่บึกสยาม × พ่อบึกสยาม แม่บึกสยาม × พ่อเทโพ แม่เทโพ × พ่อบึกสยาม และแม่บึกสยาม × พ่อเทพา พบว่าการเจริญ เติบโตของปลาหนังลูกผสมในแต่ละสายพันธุ์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) โดยที่อายุ 8 เดือน คู่ผสมสายพันธุ์แม่เทโพ × พ่อบึกสยาม มีน้ำหนักและความยาวสูงที่สุดมีค่าเท่ากับ 28.74±11.16 กรัม และ 15.34±15.85 ซม. รองลงมาเป็นคู่ผสม       สายพันธุ์แม่บึกสยาม × พ่อเทโพ มีน้ำหนักและความยาวเท่ากับ 25.18±13.62 กรัม และ 13.48±25.68 ซม. คู่ผสมสายพันธุ์แม่บึกสยาม × พ่อเทพา มีน้ำหนักและความยาวเท่ากับ 22.04±6.74 กรัม และ 13.06±12.47 ซม. คู่ผสมสายพันธุ์แม่บึกสยาม × พ่อบึกสยาม มีน้ำหนักและความยาวเท่ากับ 19.00±16.52 กรัม และ 13.50±25.43 ซม. และคู่ผสมสายพันธุ์แม่เทโพ × พ่อเทโพ มีน้ำหนักและความยาวน้อยที่สุดมีค่าเท่ากับ 12.12±5.08 กรัม และ 11.01±12.46 ซม. โดยมีค่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นต่อวัน (ADG: กรัม/วัน) ในปลาแต่ละ สายพันธุ์; แม่เทโพ × พ่อเทโพ แม่บึกสยาม × พ่อบึกสยาม แม่บึกสยาม × พ่อเทโพ แม่เทโพ × พ่อบึกสยาม และแม่บึกสยาม × พ่อเทพา เท่ากับ 0.04, 0.06, 0.07, 0.09 และ 0.07 ตามลำดับ จากการศึกษายังพบว่าค่าเฮตเทอโรซีสของคู่ผสม แม่เทโพ × พ่อบึกสยาม มีค่าสูงที่สุด โดยมีค่าอยู่ที่ 84.70% รองลงมาคือ แม่บึกสยาม × พ่อเทโพ โดยมีค่าอยู่ที่ 61.83% ตามลำดับ จากการวิจัยในครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพในการผลิตปลาหนังลูกผสม 3 สายพันธุ์ ระหว่างแม่เทโพ x พ่อบึกสยาม ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตปลาหนังลูกผสมในระบบ การผลิตสัตว์น้ำเพื่อเพิ่มมูลค่า และอาหารสุขภาพให้กับวิสาหกิจชุมชนต่อไป

References

Amornlerdpisan, D., K. Mengumphan, N. Lailert, A. Pongchaiadcha, W. Suphawikhiyakorn, C. Srimarerng and W. Wangcharoen. 2010. Potential of fish oil from freshwater catfish as nutraceutical product 14 p. In Research Report. Chiangmai: Maejo University. [in Thai]

Chansawang, S. 1985. Animal Breeding. Bangkok: Department of Animal Sciences, Faculty of Agriculture, Kasetsart University. 512 p. [in Thai]

Falconer, D.S. 1981. Introduction to Quantitative Genetics. 2nded. London: Longmans. 340 p.

Gjerde, B. 1988. Complete diallele cross between six inbred groups in rainbow trout, Salmon gairdneri. Aquaculture 75: 71-87.

Hassan, A., M.A. Ambak and A.P. Samad. 2011. Crossbreeding of Pangasianodon hypophthalmus (Sauvage, 1878) and Pangasius nasutus (Bleeker, 1863) and their larval development. Journal of Sustainability Science and Management 6(1): 28-35.

Mengamphan, K. 2016. Mekong Giant Caffish for Commercial and Community. Chiang Mai: Maejo University. 134 p. [in Thai]

Mengamphan, K. and J. Saengkrachang. 2011. Growth and genetics of catfish and new hybrid to increase value and support exports. 30 p. In Research Report. Chiangmai: Maejo University. [in Thai]

Mengumphan, K., D. Amornlerdpisan, S. Tongsiri, D. Thiammuang and N. Kitcharoen. 2013. Giant Catfish Culture and Hybrid Catfish (Buk Siam Maejo) to be a Guideline for the Development of Community Enterprise. Chiangmai: Maejo University. 72 p. [in Thai]

Mengumphan, K., S. Sattang and D. Amornlerdpisan. 2017. Growth performances survival rate and external characteristics of Pangasianodon hypophthalmus, Pangasius larnaudii and their reciprocal hybrids. Journal of Agri. Research & Extension 34(2): 25-35. [in Thai]

Na-nakorn, U. 2000. Aquatic Animal Genetics. 2nded. Bangkok: Kasetsart University. 203 p. [in Thai]

Ndimele, P.E., F.G. Owodeinde, C.A. Kumolu-Johnson, A.A. Jimoh, O.O. Whenu and O.B. Onyenania. 2011. Growth performance of the reciprocal hybrids of Clarias gariepinus (Burchell, 1822) and Heterobran chusbidorsalis (Valenciennes, 1840). Current Research Journal of Biological Science 3(1): 137-140.

Owodeinde F.G., P.E. Ndimele, K.A. Fakoya, M.A. Adewolu and M.A. Anetekhai. 2017. Growth performances of Clarias gariepinus, Heterobranchus bidorsalis and their hybrid (Hyteteroclarias) in earthen ponds in Badagry, Southwest, Nigerio Nigerian. Journal of Fisheries and Aquaculture 5(2): 122-131.

Panase, P., D. Amornlerdpisan and K. Mengumphan. 2013. Sexual maturity and breeding efficiency of 3 catfish; Pangasianodon gigas, Pangasianodon hypophthalmus, their hybrid (Male P. gigas x Female P. hypophthalmus) and hybrid using backcross technique. Journal of Fisheries Technology Research 7(2): 27-37. [in Thai]

Sattang, S., S. Tongsiri, D. Amornlerdpisan and K. Mengumphan. 2018. Effect of fish oil and spirogyra sp. supplement on the flesh quality and maturity of Buk Siam hybrid catfish (Pangasianodon gigas Chevey, 1930 x Pangasianodon hypophthalmus Sauvage, 1878).

Journal of Agri. Research & Extension 35(2): 1-10. [in Thai]

Tave, D. 1986. Genetic for Fish Hatchery Managers. Westport: AVI Publishing Co. 299 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-04-2022