องค์ประกอบทางเคมีในเมล็ดข้าวกล้องพันธุ์ต่างๆ จากการปลูกในระบบอินทรีย์ ของจังหวัดนครราชสีมา

-

ผู้แต่ง

  • วิณากร ที่รัก งานวิชาศึกษาทั่วไป สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปทุมธานี

คำสำคัญ:

การปลูกข้าวระบบอินทรีย์ , คุณภาพข้าว, จังหวัดนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีในเมล็ดข้าวกล้องที่ปลูกในระบบอินทรีย์ โดยการทดลองได้มีการปลูกข้าวจำนวน 5 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์หอมดง พันธุ์เหลืองปะทิว พันธุ์พญาลืมแกง พันธุ์ไรซ์เบอร์รี และพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ณ ไร่ชวลิตออร์แกนิคฟาร์ม หมู่ 3  ตำบลสีสุก อำเภอจักราช  จังหวัดนครราชสีมา เมล็ดข้าวกล้องที่ได้วิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ เปอร์เซ็นต์โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เถ้า ความชื้น แคลเซียม และฟอสฟอรัส ข้อมูลที่ได้ถูกนำวิเคราะห์หาค่าความแปรปรวน (ANOVA) ตามแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างพันธุ์ด้วยวิธี LSD ผลการทดลองพบว่าองค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน   เถ้า ความชื้น และฟอสฟอรัสของข้าวแต่ละสายพันธุ์มีความมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) โดยพบว่า ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รีมีเปอร์เซ็นต์โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตสูงที่สุด รองลงมา คือ ข้าวพันธุ์หอมดง พันธุ์เหลืองปะทิว พันธุ์พญาลืมแกง และพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ตามลำดับ ขณะที่ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีเปอร์เซ็นต์ไขมันต่ำที่สุด ส่วนปริมาณแคลเซียมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อนำองค์ประกอบทางเคมีของเมล็ดข้าวกล้องชนิดเดียวกัน ที่ศึกษาในครั้งนี้เปรียบเทียบกับข้าวที่ผลิตแบบทั่วไป     (ใช้เคมี) พบว่าองค์ประกอบทางเคมีมีความใกล้เคียงกัน จากผลวิเคราะห์ที่ได้จะเป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจในการเลือกข้าวแต่ละพันธุ์เพื่อการบริโภคหรือใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ เช่น ทำแป้ง ขนม เส้นหมี่ หรืออาหารสัตว์ เป็นต้น ขึ้นอยู่ที่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ประโยชน์

References

AOAC. 1990. Official Methods of Analysis of the AOAC. 15th ed. Methods 932.06, 925.09, 985.29, 923.03. Arlington, VA: Association of Official Analytical Chemists. 771 p.

Chepprasop, C., L. Anomunee and H. Salem. 2016. Chemical composition and a mylose content in local rice variety of Phatthalung province. 36 p. In Research Report. Songkhla: Rajabhat University. [in Thai]

Department of Intellectual Property. 2007. Leuang Patew rice geographical indications announcements, Ministry of Commerce. [Online]. Available http://www.ipthailand.go.th (24 June 2019).

Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO). 2004. International year of rice 2004, Rome, Italy. [Online]. Available http://www.rice 2004.org (2 December 2009).

Innok, A. 2015. Effects of Application of Organic and Chemical Fertilizer on Quality of Rice Khao Dawk Mali 105. Master Thesis. Thammasat University. 90 p. [in Thai]

Khush, G. 1997. Origin, dispersal, cultivation and variation of rice. Plant Molecular Biology 35: 25-34.

Klinchan, A. 2014. Cost and returns of organic rice cultivation in Phetchabun. 92 p. In Research Report. Phetchabun: Phetchabun Rajabhat University. [in Thai]

Liang J., B.M. Han, M.JR. Nout and R.J. Hamer. 2008. Effects of soaking, germination and fermentation on phytic acid, total and in vitro soluble zinc in brown rice. Food Chemistry 10(1): 821-828.

RICE FAMILY Thailand. n.d. Rice niche market center. [Online]. Available https://www.thairicedb.com (20 June 2019).

Rungruengsri, N. 2006. Genetics. Chiang Mai: Department of Biology, Faculty of Science, Maejo University. 281 p. [in Thai]

Suwnnachart, N. and L. Onchaluai. 2014. Nutrients Analysis of Indigenous Rice Grains Grown in the Lower Part of Nakhon Ratchasima Province. Special Problem Report. Nakhon Ratchasima Rajabhat University. 77 p. [in Thai]

Thairath. 2017. Preparedness of organic livestock for the national strategy [Online]. Available https://www.thairath.co th/content/115813 (23 February 2019).

Wikipedia. 2019. Rice berry rice [Online]. Available https://th.wikipedia.org/wiki/ (20 June 2019).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-04-2022