การส่งเสริมและพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลากัด: กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากัด ตำบลบางม่วง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • จามรี เครือหงษ์ ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • จงดี ศรีนพรัตน์วัฒน ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • สุรภี ประชุมพล ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ปริญญา พันบุญมา กลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง สำนักงานประมงจังหวัดตาก

คำสำคัญ:

การส่งเสริมและพัฒนา, การเพาะเลี้ยงปลากัด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งเสริมและพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลากัด กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากัด ตำบลบางม่วง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากัดจำนวน 55 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากัดมีอายุเฉลี่ย 64.45 ปี มีแรงงานที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงปลาเฉลี่ย 2.39 คนต่อครัวเรือน รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ย 36,189 บาทต่อเดือน พื้นที่ในการเพาะเลี้ยงปลากัดโดยเฉลี่ย 532.14 ตารางเมตร ซึ่งมีการใช้บ่อปูนซีเมนต์กลม จำนวนเฉลี่ย 132.78 บ่อ และถังพลาสติก จำนวนเฉลี่ย 1,424 ถัง ปัญหาที่พบมากในการเพาะเลี้ยงปลากัด ได้แก่ เจ้าหน้าที่รัฐไม่ให้การสนับสนุนและมีการส่งเสริมไม่ต่อเนื่อง ปลาตายไม่ทราบสาเหตุ ปลาเป็นโรค และถูกกดราคา ส่วนความต้องการส่งเสริมและพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลากัดในระดับมาก คือ การป้องกันและรักษาโรค ให้มีการส่งเสริมและพัฒนาเป็นรายบุคคล และให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐมาเยี่ยมฟาร์มและให้คำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ

 

References

Chaiya, C., N. Rungkawat, P. Sakkatat and S. Fongmul. 2015. Needs for Tilapia Culture Extension Methods of Tilapia Farmers in San Sai District Chiangmai Province. pp. 141-152. In Proceedings of the 7th Academic National and International Conference. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University. [in Thai]

Chotphuang, B. 2009. The Direction of Culture of Siamese Fighting Fish for Commercial Purpose in Bang Muang Subdistrict, Muang District, Nakhon Sawan Province. Master Thesis. Nakhon Sawan Rajabhat University. 135 p. [in Thai]

Department of Fisheries. 2016. Report on the Import and Export of Beautiful Aquatic Animals at the Suvarnabhumi Airport Marine Inspection Fiscal Year 2016. Samut Prakan: Fishquarantine at Suvarnabhumi, Department of Fisheries. 156 p. [in Thai]

Department of Fisheries. 2021. Report on the Import and Export of Beautiful Aquatic Animals at the Suvarnabhumi Airport Marine Inspection Fiscal, January-June 2021. Samut Prakan: Fishquarantine at Suvarnabhumi, Department of Fisheries. 22 p. [in Thai]

Iamratanalert, L. 2005. Development of Ornamental Fish Exports. Special Problem. Burapha University. 93 p. [in Thai]

Jaroensutasinee, M. and J. Jaroensutasinee 2001.. Bubble nest habitat characteristics of wild Siamese fighting fish. J. Fish Biol. 58: 1311-1319.

Ketsing, W. 1995. Mean and interpretation. Educational Research News 18(3): 8-11. [in Thai]

Meejui, O., S. Sukmanomon and U. Na-Nakorn .2005. Allozyme revealed substantial genetic diversity between hatchery stocks of Siamese fighting fish, Betta splendens, in the province of Nakornpathom, Thailand. Aquaculture 250: 110-119.

Monvises, A., B. Nuangsaeng, N. Sriwattanarothai and B. Panijpan. 2009. The Siamese fighting fish: well-known generally but little-known scientifically. ScienceAsia 35(1): 8-16.

Saksornchai, J. 2019. The Siamese fighting fish is now the national aquatic animal. [Online]. Available https://www.khaosodenglish.com/news/2019/02/05/the-siamese-fighting-fish-is-now-the-national-aquatic-animal/ (23 October 2020).

Sermwatanakul, A. 2018. Developing of Siamese fighting fish (Betta splendens) to Thai National aquatic animal. Electronic Thai Fisheries Gazette. 1: 160-198. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-04-2022