ผลของวัสดุปรับปรุงดินต่อสมบัติทางกายภาพของดินบางประการใต้ทรงพุ่มมะม่วง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • สุทธิภัทร แซ่ย่าง สาขาวิชาปฐพีศาสตร์ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • จีราภรณ์ อินทสาร สาขาวิชาปฐพีศาสตร์ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

วัสดุปรับปรุงดิน, คุณสมบัติทางกายภาพของดิน, มะม่วง

บทคัดย่อ

ศึกษาผลของวัสดุปรับปรุงดินต่อสมบัติทางกายภาพของดินบางประการใต้ทรงพุ่มมะม่วง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มลงในบล็อกอย่างสมบูรณ์ประกอบด้วย 6 ตำรับการทดลอง จำนวน 4 ซ้ำ ดังนี้ 1) ตำรับควบคุม 2) ถ่านชีวภาพ 3) มูลไก่ 4) มูลวัว 5) พัมมิซ และ 6) ทรายหยาบ ในอัตรา 10 กก./ต้น ทุกตำรับทดลอง พบว่าการใส่มูลไก่และมูลวัวที่ระยะเวลา 6 และ 12 เดือน ทำให้ความหนาแน่นรวมของดินลดลงที่ระดับบน (0-15 ซม.) คือ 1.49 และ 1.50 กรัม/ลบ.ซม. ตามลำดับ ในดินระดับล่าง (15-30 ซม.) พบว่าพัมมิซสามารถลดความหนาแน่นรวมเหลือเพียง 1.52 กรัม/ลบ.ซม. หลังจากการใส่ 6 เดือน ขณะที่ถ่านชีวภาพทำให้ความหนาแน่นรวมลดน้อยที่สุดคือ 1.54 กรัม/ลบ.ซม. หลังจากการใส่ 12 เดือน การใช้พัมมิซทำให้ความหนาแน่นอนุภาคน้อยที่สุด ทั้งในดินระดับบนและดินระดับล่างคือ 2.20 และ 2.22 กรัม/ลบ.ซม.ตามลำดับ (P<0.01) หลังจากการใส่ 6 เดือน อย่างไร     ก็ตาม พบว่าการใส่มูลไก่ 12 เดือน สามารถทำให้ความหนาแน่นอนุภาคในดินระดับบนลดลงได้มากที่สุด และ พัมมิซทำให้ความหนานแน่นอนุภาคในดินระดับล่างลดลงได้มากที่สุด ขณะที่ความพรุนของดินระดับบนและระดับล่างจะเพิ่มขึ้น หลังจากการใส่ถ่านชีวภาพและมูลวัว ที่ระยะ 12 เดือน ตามลำดับ นอกจากนี้มูลวัวยังทำให้ความชื้นของดินเพิ่มสูงขึ้น ทั้งในดินระดับบนและดินระดับล่าง หลังจากการใส่ 6 เดือน อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ส่วนการใส่ถ่านชีวภาพทำให้การเพิ่มขึ้นของเม็ดดินสูงขึ้น      ทั้งในระยะ 6 และ 12 เดือน คือ 46.7 และ 41.8% ตามลำดับ

อย่างไรก็ตามจะพบว่าการใส่วัสดุปรับปรุงดิน ทุกชนิดไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของเนื้อดิน        ทั้ง 2 ระดับ โดยสามารถสรุปได้ว่า การใช้มูลไก่และพัมมิซสามารถปรับปรุงความหนาแน่นรวม ความหนาแน่นอนุภาค และความพรุนของดินให้ดีขึ้น และการใช้ถ่านชีวภาพมีผลทำให้ความชื้นในดิน และความคงทนเม็ดดินเพิ่มสูงขึ้น

References

Agbede, T.M., A.O. Adekiya and E.K. Eifediyi. 2017. Impact of poultry manure and NPK fertilizer on soil physical properties and growth and yield of carrot. Journal of Horticultural Research 25(1): 81-88.

Aslam, Z., M. Khalid and M. Aon. 2014. Impact of biochar on soil physical properties. Scholarly Journal of Agricultural Science 4(5): 280-284.

Awal, R., A. Fares, S. Woldesenbet, P. Ampim, R. Griffin, H. Habibi, A.A. ElHassan, R.L. Ray and E. Risch. 2018. Soil Moisture and Nutrient Dynamics in the Root Zone of Collard Greens in Different Organic Amendment Types and Rates. pp. 1-11. In Irrigation Show and Education Conference. Long Beach: Irrigation Association.

Blanco-Canqui, H. 2017. Biochar and soil physical properties. Soil Science Society America Journal 81: 687-711.

Beretta, A.N., A.V. Silbermann, L. Paladino, D. Torres, D. Bassahun, R. Musselli and A. Garcia-Lamohte. 2014. Soil texture analyses using a hydrometer: modification of the Bouyoucos method. Cien. Inv. Agr. 41(2): 263-271.

Bouajila, K. and M. Sanaa. 2011. Effects of organic amendments on soil physico-chemical and biological. Journal of Materials and Environmental Science 2(1): 485-490.

Boyraz, D. and H. Nalbant. 2015. Comparison of zeolite (clinoptilolite) with diatomite and pumice as soil conditioners in agricultural soils. Pak. J. Agri. Sci. 52(4): 923-929.

Cooperband, L. 2002. Building Soil Organic Matter with Organic Amendments: A Resource for Urban and Rural Gardeners, Small Farmers, Turfgrass Managers and Large-scale Producers. Bangkok: Center for Integrated Agricultural Systems. 16 p.

Duangpatra, P. 2010. Soil Conditioners. 1st. Bangkok: Kasetsart University Press. 256 p. [in Thai]

Ewulo, B.S., S.O. Ojeniyi and D.A. Akanni. 2008. Effect of poultry manure on selected soil physical and chemical properties, growth, yield and nutrient status of tomato. African Journal of Agricultural Research 3(9): 6.

Klodpeng, T. 1985. Method of Soil Physical Analysis. 1st. Chiang Mai: Chiang Mai University. 240 p. [in Thai]

Namtip, C., S. Anusontpornperm, S. Thanachit and S. Rungmekarat. 2014. Effect of soil conditioners on soil moisture and growth of Manila grass (Zoysia matrella) on fairway of Bangpoo golf country club. KHON KAEN AGR. J. 42(1): 25-38. [in Thai]

Nichols, K.A. 2011. Building Sustainable Soil Trunk Water Stable Aggregate. Mandan: USDA-ARS-Northern Great Plains Research Laboratory. 33 p.

Nwite, J.N. and M.O. Alu. 2018. Evaluation of different rates of poultry manure on soil properties and grain yield of maize (zea mays l.) in a typic haplustult in abakaliki, southeastern Nigeria. Global Journal of Agricultural Research 6(4): 24-35.

Ouyang, L., F. Wang, J. Tang, L. Yu and R. Zhang.2013. Effects of biochar amendment on soil aggregates and hydraulic properties. Journal of Soil Science and Plant Nutrition 13(4): 991-1002.

Radanachaless, T., W. Kumpoun and T. Jarenkit. 2013. Mango: Production and Post-Harvest Technology. 1st. Chiang Mai: Postharvest Technology Innovation Center. 836 p. [in Thai]

Sahin, U. and O. Anapali. 2006 Addition of pumice affects physical properties of soil used for container grown plants. Agriculturae Conspectus Scientificus. 71(2): 59-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2020