ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจและพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษาหมู่บ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • สมชาย ไชยมูลวงศ์ สาขาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • สายสกุล ฟองมูล สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • นคเรศ รังควัต สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พหล ศักดิ์คะทัศน์ สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร, แรงจูงใจ, พฤติกรรมการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของนักท่องเที่ยวชาวไทย เพื่อศึกษาแรงจูงใจและพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยวชาวไทย และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม กับแรงจูงใจและพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยว       ชาวไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนบ้าน        แม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จำนวน 366 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ และการถดถอยพหุ

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 38 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพสมรส มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือ อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 28,599 บาท ได้รับข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวจากสื่อประเภทออนไลน์ เคยมีประสบการณ์ท่องเที่ยวเชิงเกษตรมาก่อนเฉลี่ย 1 ครั้ง แรงจูงใจในการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีพฤติกรรมการมาท่องเที่ยวเชิงเกษตรพร้อมกับครอบครัว ท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดเทศกาล/ประเพณี ใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทางท่องเที่ยว มีจำนวนสมาชิกร่วมเดินทางเฉลี่ย 7 คน ใช้ระยะเวลาในการท่องเที่ยวต่อครั้งเฉลี่ย 1 วัน พักค้างแรมที่โรงแรม เคยมายังแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรมาก่อนเฉลี่ย 1 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวต่อครั้งเฉลี่ย 1,103 บาท เลือกซื้อสินค้าประเภทสินค้าเกษตรแปรรูป กิจกรรมการท่องเที่ยว           ที่นิยม คือ การพักผ่อนตามอัธยาศัย การถ่ายรูป/ชมวิวทิวทัศน์ และการเลือกซื้อของฝาก/ที่ระลึก ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม กับแรงจูงใจและพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยวชาวไทยพบว่า อายุ ภูมิลำเนา และรายได้ต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยวชาวไทยในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Sig.<0.01)

References

Jutarat, P. 2018. Tourists’ motivations for traveling in Muang district, Songkhla province. Parichart Journal 31(3): 183.

Natthanan, K. 2010. Guidelines for community potential development to increase the value of agricultural products of Mae Jam village, Mueang Pan district, Lampang province. 75 p. In Research Report. Bangkok: The Thailand Research Fund. [in Thai]

Peerachai, K. and K. Kallayanee. 2005. Relation of Study Factors to Decision Making in Agro-tourism. pp. 1-7. In Proceedings of 43rd Kasetsart University Annual Conference Education, Agricultural Extension and Communication, Social Sciences, Economics, Business Administration. Bangkok: Kasetsart University. [in Thai]

Sirilak, K. 2003. Factors Related to Risk Behaviors of Work Accidents of Rubber Wood Processing Plant Workers in Rayong. Master Thesis. Burapha University. 120 p. [in Thai]

Yamane, T. 973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition. New York: Harper and Row Pulication. 886 p. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2020