การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนสัตว์น้ำเศรษฐกิจของชุมชนประมงชายฝั่ง จังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
ประมงชายฝั่ง, สัตว์น้ำเศรษฐกิจ, ต้นทุน, ผลตอบแทนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนสัตว์น้ำเศรษฐกิจของชุมชนประมงชายฝั่ง จากการสำรวจชาวประมงชายฝั่งในพื้นที่อำเภอหาดสำราญ และอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง รอบการผลิตระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 30 กันยายน พ.ศ. 2562 จำนวน 220 ราย พบว่าสัตว์น้ำที่ชาวประมงส่วนใหญ่จับมากที่สุด ประกอบด้วย ปูม้า กุ้งแชบ๊วย หมึกหอม ปลาทราย และหอยตะเภา ตามลำดับ โดยชาวประมงชายฝั่งมีรายได้รวมเฉลี่ยต่อปีสูงสุดจากการทำประมงปูม้า จำนวน 259,855.83 บาทต่อราย รองลงมาคือ กุ้งแชบ๊วย จำนวน 234,293.75 บาทต่อราย และน้อยที่สุดคือ หอยตะเภา จำนวน 34,950.00 บาทต่อราย ทั้งนี้เนื่องจากหอยตะเภาสามารถเก็บผลผลิตได้เฉพาะช่วงฤดูกาล เมื่อพิจารณาในส่วนของต้นทุนรวมเฉลี่ยต่อปีในการทำประมงชายฝั่ง ประกอบด้วยต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร สำหรับต้นทุนผันแปรที่สำคัญในการทำประมงชายฝั่ง ประกอบด้วย ค่าแรงงาน ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าซ่อมแซมเครื่องมือและอุปกรณ์ประมง ซึ่งพบว่าต้นทุนรวมเฉลี่ยต่อปีของชาวประมงปูม้าสูงที่สุด จำนวน 214,266.81 บาทต่อราย ทั้งนี้เนื่องมาจากต้นทุนผันแปรในส่วนของค่าซ่อมแซมเครื่องมืออุปกรณ์ประมงและค่าจ้างแรงงานสูง ส่งผลให้กำไรสุทธิเฉลี่ยต่อปีในการทำประมงปูม้า เป็นจำนวน 45,589.02 บาทต่อราย รองลงมาจากการทำประมงกุ้งแชบ๊วย ซึ่งมีกำไรสุทธิเฉลี่ยต่อปีสูงสุด จำนวน 47,268.78 บาทต่อราย และมีอัตราส่วนผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) คิดเป็น ร้อยละ 25.27 มากที่สุดในผลผลิตสัตว์น้ำทั้ง 5 ชนิด ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการทำประมงชายฝั่งมากที่สุด คือปัญหาความแปรปรวนของสภาพอากาศ ส่งผลต่อการออกทะเล รองลงมาคือ ปัญหาเรือประมงผิดกฎหมาย การใช้อวนรุน อวนลาก และขโมย และปัญหาต้นทุนวัตถุดิบในการทำประมงราคาสูง โดยเฉพาะเรื่องของราคาน้ำมัน ดังนั้นภาครัฐควรส่งเสริมและเอื้ออำนวยให้กับชาวประมงชายฝั่งด้านเทคนิควิชาการ ด้านการวางแผน การผลิต ทั้งนี้ชาวประมงควรมีการเตรียมแผนรองรับ ในการป้องกันความผันผวนของราคาสัตว์น้ำ ตลอดจนวางแผนเรื่องของต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มและทิศทางของราคาที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
References
Fisheries Development Policy and Strategy Division, Department of Fisheries. 2017. Fisheries statistic. [Online]. Available https://www.fisheries.go.th/strategy-stat/. (10 June 2019). [in Thai]
Niumnut, N. and R. Purisumpun. 2014. Supply chain of aquatic animals from Ao Ban Don (Ban Don bay): case study of blue crab, black crab and mangrove crab. 93 p. In Research Report. Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF). [in Thai]
Pornratanachotsakul, M. 2016. Analysis of Cost and Return of Local Fisheries along Artificial Reef Areas in Langsuan District, Chumphon Province. Master Thesis. King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. 107 p. [in Thai]
Singsunjit, S. 2016. Production system, marketing system, cost and returns of oriental hard clam case study: fishermen in Bandon bay, Surat Thani province. Journal of Southern Technology 9(2): 69-76. [in Thai]
Sirichai-Ekawat, W. 2014. Facts, problems, obstacles and solutions to the entire system of Thai marine fisheries. [Online]. Available https://thaipublica.org /wp-content/uploads/2015/07/ (10 June 2020). [in Thai]
Trang Provincial Fisheries Office. 2015. Fisheries economic data of Trang province. [Online]. Available https://www4. fisheries.go.th/local/index.php/main/site2/fpo-trang (1 June 2019). [in Thai]
Trang Provincial Agricultural Office. 2017. Information on gross agricultural product of Trang province. [Online]. Available http://www.trang.doae.go. th/web58/index.html (25 May 2019). [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร