ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกร ที่เป็นสมาชิกของมูลนิธิโครงการหลวงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย

ผู้แต่ง

  • กิตติพงศ์ บุญธิ สาขาส่งเสริมการเกษตรและการพัฒนาชนบท คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย 50290
  • พุฒิสรรค์ เครือคำ สาขาส่งเสริมการเกษตรและการพัฒนาชนบท คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • นคเรศ รังควัต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและการพัฒนาชนบท คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย 50290
  • สายสกุล ฟองมูล สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและการพัฒนาชนบท คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย 50290

คำสำคัญ:

การผลิตชา, ระบบการเพาะปลูกที่ดี, มูลนิธิโครงการหลวง, ส่งเสริมการเกษตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) ศึกษาการปฏิบัติในการผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกร 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกร และ 4) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตชาในระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกร โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีที่เป็นสมาชิกของมูลนิธิโครงการหลวงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายจำนวน 153 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์พหุถดถอย

ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ เฉลี่ย 53 ปี จบการศึกษาสูงสุดในระดับประถมศึกษา มีสถานภาพสมรส มีรายได้จากการปลูกชาเฉลี่ย 49,740.79 บาทต่อปี มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย  4 คน  มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน และ มีจำนวนหนี้สินในครัวเรือนเฉลี่ย 67,486.84 บาท ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับระบบการเพาะปลูกที่ดีเฉลี่ย 4 ครั้ง ต่อเดือน มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี มีการติดต่อกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกชาโดยเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี มีการเข้าร่วมการอบรมระบบมาตรฐาน

การเพาะปลูกที่ดีเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม มีประสบการณ์การปลูกชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีเฉลี่ย 7 ปี มีความรู้และมีการปฏิบัติในการผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทางบวก ได้แก่ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ตำแหน่งทางสังคม และความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติการผลิตชาในระบบการเพาะปลูกที่ดี ส่วนปัจจัยทางลบ ได้แก่ จำนวนแรงงานในครัวเรือน สำหรับปัญหาในการผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกรพบว่า เกิดข้อจำกัดในการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชและวัชพืช ในแปลงปลูกชา เช่น สารเคมีที่สามารถใช้ได้ตามข้อกำหนดมีราคาแพง ลานที่ใช้ในการตากชามีไม่เพียงพอ และขาดแรงงานที่มีทักษะในการแปรรูปชา รวมทั้งยังขาดความต่อเนื่องในการรับซื้อผลผลิตชาของตลาดต่าง ๆ ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่เสนอแนะว่า ควรมีการสนับสนุน  องค์ความรู้ด้านการตลาด และการพัฒนาฐานข้อมูลแหล่งรับซื้อผลผลิตชาที่มีความหลากหลาย ตลอดจนควรมีการกำหนดราคาชาล่วงหน้า เพื่อให้เกษตรกรมีแรงจูงใจในการจัดการกระบวนการผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีให้เป็นไปตามมาตรฐานมากยิ่งขึ้น

References

Highland Research and Development Institute. 2017. Five-year Master Plan of Royal Project Development Center (2017-2021). Chiang Mai: Wanida Karnpim. 163 p. [in Thai]

Intaruccomporn, W. 2017. Principles of Agricultural Extension. Documentation of Teaching Principles of Agricultural Extension. Chiang Mai: Chiangmai University. 92 p. [in Thai]

Kanokhong, K., N. Rattanawan and P. Jeerat. 2018. Adoption of crop growing methods under the standards of good agricultural practice (GAP) of farmers, Mon Ngo Royal Project Development Center, Mae Tang District, Chiang Mai. Journal of Agricultural Research and Extension 36(1): 75-84. [in Thai]

Pettong, P. and J. Thanaphanyaratchawong. 2009. Adoption of good agricultural practices for rambutan of farmers in Ban Nasan District, Surat Thani Province. Suranaree Journal of Social Science 3(2): 109-126. [in Thai]

Phuproom, W. and S. Dangcham. 2011. Factors Affecting Adoption on Good Agricultural Practice of Vegetable Growers in Photharam District, Ratchaburi Province. pp. 1-11. In Proceedings of the 1st International Conference on Agricultural Science and Technology, 21-22 July 2011. Maha Sarakham: Rajabhat Maha Sarakham University. [in Thai]

Prasitratsin, S. 2003. Social Research Methodology. Bangkok: Sam Lada. 711 p. [in Thai]

Royal Project Foundation. 2012. Principles and policies. [Online]. Available http://www.royalprojectthailand.com/vision_mission (January 17, 2021). [in Thai]

Sagarik, D. and P. Chansukree. 2018. The impact of socio-economic, institutional, and climate change factors on agricultural income and expenditure of Thai farmers. Thai Journal of Public Administration 16(2): 57-85. [in Thai]

Saipatthana, U. and C. Piyapimonsit. 2004. Collinearity. Parichart Journal 17(1): 55-62. [in Thai]

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row Publication. 1130 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-04-2024