คุณลักษณะทางเคมีกายภาพและเจลแป้งเปียกของแป้งข้าวสาลีพื้นเมืองปลูกในภาคเหนือประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่ ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เชียงใหม่
  • พรสุดา สุริยวงศ์ ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เชียงใหม่
  • อรวรรณ ปัญญาเพลินพิศ ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เชียงใหม่
  • สายบัว เข็มเพ็ชร ภาควิชาเทคโนโลยีและพัฒนาการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เชียงใหม่
  • สุพรรณิการ์ กล่อมจอหอ ภาควิชาเทคโนโลยีและพัฒนาการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

สมบัติเคมีกายภาพ, เจลแป้งเปียก, รีโอโลยี, แป้งสาลีพื้นเมือง, ภาคเหนือประเทศไทย

บทคัดย่อ

การศึกษาคุณลักษณะทางเคมีกายภาพและเจล    แป้งเปียกของแป้งข้าวสาลีสายพันธุ์ภาคเหนือปลูกในเชียงใหม่ (CM) ลำพูน (LP) และแม่ฮ่องสอน (MH)  จำนวนรวม 21 สายพันธุ์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ค่าทางเคมีคิดเป็นร้อยละ (โปรตีนทั้งหมด สตาร์ช กลูเตน) ค่าทางกายภาพ (การดูดซับน้ำและความแข็งของแป้งโด) และค่าทางรีโอโลยีจากการเกิดเจลแป้งเปียก (ความหนืดสูงสุด ความหนืดสุดท้าย และการคืนตัวแป้ง) และวิเคราะห์สถิติด้วยการจัดกลุ่มและองค์ประกอบหลักที่สัมพันธ์ด้วยเทคนิก Principle Component Analysis (PCA) ผลการทดลองพบว่า แป้งข้าวสาลีพื้นเมืองทุกตัวอย่างมีโปรตีนกลูเตนช่วยในการสร้างโครงสร้างโด และมีสตาร์ชแป้งที่เกิดเจลแป้งเปียกได้ ปริมาณโปรตีนกลูเตนในแป้งสาลีที่มากขึ้นส่งผลต่อความหนืดที่ลดลง การวิเคราะห์ PCA พบว่าสตาร์ชและโปรตีนกลูเตนเป็นองค์ประกอบที่สัมพันธ์กับการเกิดเจลแป้ง กลูเตนเกี่ยวข้องกับโครงสร้างร่างแหในก้อนโด ปริมาณโปรตีนที่มากส่งผลต่อความหนืดเจลแป้งเปียกที่ลดลง กลูเตนเกี่ยวข้องกับโครงสร้างร่างแหในก้อนโดโดยการนวดผสมแป้งสาลีพื้นเมืองกับน้ำจนได้โดที่ยืดเป็นสายยาวและรีดเป็นแผ่นได้ ผลของโปรตีนกลูเตนและสตาร์ชที่ผสมกันตามธรรมชาติส่งผลต่อการจัดคุณภาพโดยรวมของแป้งสาลีพื้นเมือง แป้งข้าวสาลีสายพันธุ์ภาคเหนือมีโปรตีนปานกลางจำนวน 11 สายพันธุ์ ได้แก่ CMS2, CMS4, CMF1, CMF3, CMF4, LP2, LP3, LP5, MH1, MH3,  และ MH4 และแป้งข้าวสาลีสายพันธุ์ภาคเหนือที่มีโปรตีนต่ำจำนวน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ CMR1, CMS1, LP4, และ MH2 มีคุณภาพทางเคมีกายภาพและการเกิดเจลแป้ง     ข้าวสาลีไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเปรียบเทียบกับแป้งข้าวสาลีในระดับอุตสาหกรรมไทย (p>0.05) แต่ยังไม่มีข้าวสาลีสายพันธุ์ภาคเหนือที่นำมาศึกษามีคุณภาพเทียบเท่ากับแป้งสาลีชนิดโปรตีนสูง ผลการวิจัยนี้เป็นข้อมูลส่งเสริมการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวสาลีพื้นเมืองเพื่อใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์อาหารไทยได้

References

Balet, S., A. Guelpa, G. Fox and M. Manley. 2019. Rapid Visco Analyzer (RVA) as a tool for measuring starch-related physicochemical properties in cereals: a review. Food Analytical Methods 12: 2344-2360.

Causgrove, P. 2004a. AACC Method 38-12A, Wet Gluten, Dry Gluten, Water-binding Capacity and Gluten Index in Wheat and Flour Testing Methods. Minnesota: Cereals & Grains Association. 6 p.

Causgrove, P. 2004b. AACC Method 44-15A, Moisture-air Oven Methods in Wheat and Flour Testing Methods. Minnesota: Cereals & Grains Association. 4 p.

Chammek, C., P. Sawangsak and O. Naivikul. 1998. Quality of various triticale varieties grown in Thailand. Kasetsart Journal (Natural Science) 22(3): 193-199. [in Thai]

Chen, J., Z. Deng, P. Wu, J. Tian and Q. Xie. 2010. Effect of gluten on pasting properties of wheat starch. Agricultural Science in China 9(12): 1836-1844.

Ferrari, M.C., M.T.P.S. Clerici and Y.K. Chang. 2014. A comparative study among methods used for wheat flour analysis and for measurements of gluten properties using the Wheat Gluten Quality Analyser (WGQA). Food Science and Technology Campinas 34(2): 235-242.

Komchadluck. 2017. Growing wheat on a high land. [Online]. Available https:// www.komchadluek.net/news/agricultural/255731 (November 8, 2022). [in Thai]

Ortolan, F. and C.J. Steel. 2017. Protein characteristics that affect the quality of vital wheat gluten to be used in baking: a review. Compressive Reviews in Food Science and Food Safety. 16(3): 369-381.

Statista. 2022. Wheat consumption worldwide in 2020/2021. [Online]. Available https://www.statista.com/statistics/10940 (May 18, 2021).

Thai Industrial Standards Institute. 1981. Industrial Standards of All-purpose Wheat Flour. Bangkok: Ministry of Industry. 5 p. [in Thai]

Veraverbeke, W.S. and J.A. Declcour. 2002. Wheat protein composition and properties of wheat glutenin in relation to breadmaking functionality. Critical Review in Food Science and Nutrition 42(3): 179-208.

Wessa, P. 2017. Hierarchical clustering (v1.0.5) in free statistics software (v1.2.1), office for research Development and Education. [Online]. Available https://www.wessa.net/rwasp_hierarchicalcl (November 8, 2022).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-04-2024