ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชัง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • เฉลิมชนม์ วงศ์โสภา ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
  • กุลภา กุลดิลก ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
  • เออวดี เปรมัษเฐียร ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
  • บวร ตันรัตนพงศ์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ

คำสำคัญ:

การปรับตัว , ความสามารถในการปรับตัว , การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ , การเลี้ยง ปลานิลในกระชัง , อุบลราชธานี

บทคัดย่อ

จังหวัดอุบลราชธานีเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีการเพาะเลี้ยงปลานิลจำนวนมาก ซึ่งได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งจากภัยแล้งและอุทกภัย การศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลานิลในกระชัง จะมีส่วนสำคัญในการวางแผนและเตรียมการอย่างเหมาะสมต่อเกษตรกร ทั้งนี้ข้อมูลการศึกษาได้มาจากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 200 ราย โดยใช้ Tobit regression ในการวิเคราะห์

ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชังมีการรับรู้และเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศค่อนข้างมาก เกษตรกรมีความกังวลหากฝนตกหนักมากขึ้น และเกิดภาวะภัยแล้งมากขึ้นว่าจะส่งผลต่อการเลี้ยงปลานิลในกระชัง  ซึ่งทำให้เกิดการปรับตัวต่าง ๆ เช่น กรณีฝนตกหนักมากเกินไปหรือน้ำท่วม เกษตรกรจะปรับตัวโดยการเคลื่อนย้ายกระชังให้ปลอดภัย และปรับตัวโดยการวัดคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอ กรณีแห้งแล้งเกษตรกรจะปรับตัวโดยการเคลื่อนย้ายกระชังไปบริเวณ ที่มีน้ำ และปรับความหนาแน่นของการปล่อยปลาในกระชัง ทั้งนี้ไม่ว่ากรณีที่เกิดน้ำท่วมหรือแห้งแล้ง พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชังจะมีการวางแผนหารายได้เสริมเพื่อลดความเสี่ยง สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
พบว่า ในช่วงของฤดูฝนหรือภาวะน้ำท่วม และในช่วง ฤดูร้อนหรือการเกิดภาวะแห้งแล้ง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการปรับตัวเพิ่มขึ้นเหมือนกันทั้งสองช่วงฤดูกาล ได้แก่ อายุของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชัง ที่เพิ่มขึ้น การรับรู้และตระหนักถึงสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงที่มากขึ้น การเข้าอบรมการเลี้ยงปลานิล ความรู้สึกกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่มากขึ้น การเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อความรู้ด้านการเลี้ยงปลานิล ปัจจัยที่ต่างกันที่ส่งผลเฉพาะในช่วงฤดูร้อนแห้งแล้ง ได้แก่ การรวมกลุ่ม และการทำเกษตรพันธสัญญา  สำหรับปัจจัยที่ส่งผลในทางตรงกันข้ามของทั้งสองฤดูกาลนั้นไม่แตกต่างกัน ได้แก่ การมีหนี้สินที่เพิ่มขึ้น การประกอบอาชีพเลี้ยงปลานิลเป็นหลัก

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย สำหรับเกษตรกร      ผู้เลี้ยงปลานิลในกระชังในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียง ควรมีการประกอบอาชีพที่หลากหลายเพื่อลดความเสี่ยงหรือกระจายความเสี่ยงจากต้นทุนและรายได้ การลดการเป็นหนี้เพื่อเพิ่มระดับความสามารถในการปรับตัว การเพิ่มความสามารถในการปรับตัวให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชังในรายอื่น ๆ ควรมีการเพิ่มความรู้ความเข้าใจ และเพิ่มความตระหนักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจจะส่งผลต่อการเลี้ยงปลานิลในกระชัง การมีทักษะในการค้นหาข้อมูลด้าน การเลี้ยงปลาจากอินเตอร์เน็ตที่ทันสมัยทันต่อการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการผลักดันให้เกษตรกรสามารถรวมกลุ่มได้มากขึ้น

References

Amusa, T.A. and J.B. Simonyan. 2017. Ordered probit analysis of factors influencing farmers' contributions to climate change adaptation decisions in Southwest Nigeria. Trends in Agricultural Economics 10(1): 1-11.

Aryal, J.P., M.L. Jat, T.B. Sapkota, D.B. Rahut M. Rai, H.S. Jat, P.C. Sharma and C. Stirling. 2020. Learning adaptation to climate change from past climate extremes: evidence from recent climate extremes in Haryana, India. International Journal of Climate Change Strategies and Management 12(1): 128-146.

Charles, N. 2007. Micro-level Analysis of Farmers' Adaptation to Climate Change in Southern Africa. 41 p. In Research Report. Washington, DC: International Food Policy Research Institute.

Cohen, J. 1977. Statistical Power for the Behavioral Sciences. 2nd Edition. New York: Academic Press. 567 p.

Department of Environmental. 2009. Environmental Impact Assessment from Flood and Drought by Climate Change (2008 – 2009). Bangkok: Department of Environmental. 162 p. [in Thai]

Department of Fisheries. 2017. Roi Kao Chao Pra Mong. Thai Fisheries Gazette 5(1): 3-12. [in Thai]

Department of Fisheries. 2021. Fisheries Statistics of Thailand 2019. Bangkok: Department of Fisheries. 80 p. [in Thai]

Franklin, N.M., S. Gifty and A.D. Samuel. 2014. Determinants of choice of climate change adaptation strategies in Northern Ghana. Research in Applied Economics 6(4): 75-94.

Kasetsart University. 2003. Flood coping advice for aquaculturists. KU e-Magazine. [Online]. Available https://www.ku.ac.th/th/e-magazine/december46/agri/fish.html (April 1, 2019). [in Thai]

Label, L., C. Chitmanat, S. Ganjanapan M. Potapohn, N. Whangchai A. Uppanunchai, P. Label and C. Apirumanekul. 2015. Climate Change and Aquaculture in Northern Thailand: An Assessment of Risks and Adaptation Options. 44 p. In Research Report. Chiang Mai: Chiangmai University. [in Thai]

Mohammed, N.U., B. Wolfgang and S.E. Jason. 2014. Factors affecting farmers' adaptation strategies to environmental degradation and climate change effects: a farm level study in Bangladesh. Climate 2(1): 223-241.

Nguyen, N.H. 2014. Farmer's Perceptions and Strategies Towards a Changing Climate in Peri-Urban Aquaculture: A Case Study of Thanh Tri District, Hanoi, Vietnam. Master Thesis. Chulalongkorn University. 117 p.

Solomon, B., A. Jones and A. Stephen. 2014. Determinants of adoption choices of climate change adaptation strategies in corp production by small scale farmers in some regions of Central Ethiopia. Journal of Natural Sciences Research 4(4): 78-93.

Thailand Climate Change Network. 2020. Climate change awareness survey. [Online]. Available www.tccnclimate.com/รวมลิงค์เว็บไซด์/item/3170-แบบสอบถามความตระหนักด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (August 20, 2020). [in Thai]

Thailand Science Research and Innovation. 2013. The Project of Local Communities’ Flood Management in the Repeatedly Flooded Areas. Ubon Ratchathani: Thailand Science Research and Innovation. 135 p. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-04-2024