การประเมินคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมของชุมชนประมงชายฝั่งจังหวัดสงขลา จากโครงการอนุรักษ์เพาะฟักลูกปู ของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

ผู้แต่ง

  • จรีวรรณ จันทร์คง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นครศรีธรรมราช
  • บุญรัตน์ บุญรัศมี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, มูลค่าทางสังคม, มูลค่าทางเศรษฐกิจ, การอนุรักษ์เพาะฟักลูกปู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพชีวิต ประเมินมูลค่าทางสังคม และประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของชุมชนประมงชายฝั่ง ที่มีผลจากโครงการอนุรักษ์เพาะฟักลูกปูที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โดยทำการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างชาวประมง  ที่เป็นสมาชิกในชุมชนประมงชายฝั่ง 9 ชุมชน ในพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอสิงหนคร อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา จำนวน 137 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า ปริมาณผลผลิตสัตว์น้ำเฉลี่ยและราคาผลผลิตสัตว์น้ำเฉลี่ย ซึ่งประกอบด้วย ปูม้า ปลา และกุ้งก้ามกราม เมื่อมีโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ผลผลิตสัตว์น้ำ มีปริมาณเพิ่มขึ้นทั้ง 3 ชนิด ส่งผลให้ชาวประมงชายฝั่ง   มีรายได้เพิ่มสูงขึ้นจากเดิม ส่วนอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ของชาวประมงเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ส่วนการประเมินผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม พบว่าโครงการส่งผลดีด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}=4.28)  ผลดีด้านสังคมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} =4.22)  และผลดีด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}=4.01) ส่งผลโดยรวมให้ชาวประมงชายฝั่งในพื้นที่จังหวัดสงขลามีคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ดีขึ้น

References

Boonprakarn, K., W. Dhammsaccakarn, A. Chantawong, J. Sangkapan and P. Chomthong. 2012. Small-scale fishermen's negotiation tactics in a time of scarcity in Songkhla lake. [Online]. Available http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15041 (July 19, 2020). [in Thai]

Chankong, J., J. Romyen, B. Boonradsamee, W. Thavaroj, S. Chaipech and A. Songrak. 2022. Cost and benefit analysis of economic aquatic animals of inshore fishing in Trang province. Journal of Agricultural Research and Extension 39(1): 150-164. [in Thai]

Damrongchai, N. 2018. A model for sustainable development in Thai Communities under the Sufficiency Economy Concept. Sukhothai Thammathirat Open University Journal 31(1): 92-107. [in Thai]

Fisheries Development Policy and Strategy Division, Department of Fisheries. 2017. Fisheries Statistic. [Online]. Available https://www.fisheries.go.th/strategy-stat/ (June 10, 2019). [in Thai]

Niumnut, N. and R. Purisumpun. 2014. Supply Chain of Aquatic Animals from Ao Ban Don (Ban DonBay): Case Study of Blue Crab, Black Crab and Mangrove Crab. In Research Report. Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF). 93 p. [in Thai]

Promjun, P. 2021. Blue economy management by participation of artisanal fisheries in Ban Pak Nam Tha Muang village, Wang sub-district, Tha Chana district, Suratthani province. Journal of MCU Nakhondhat 8(10): 30-43. [in Thai]

Sirichai-Ekawat, W. 2014. Facts, problems, obstacles and solutions to the entire system of Thai marine fisheries. [Online]. Available https://thaipublica.org/wp-content/uploads/2015/07/ (June 10, 2020). [in Thai]

Srisa–ard, B. 2002. Preliminary Research. 7th ed. Bangkok: Suviriyasan. 171 p. [in Thai]

Sukwiboon, T. 2009. Considerations for Creating a Rating Scale for Research. [Online]. http://www.ms.src.ku.ac.th (January 15, 2020). [in Thai]

Wungchamnong, V. 2004. Rate of Returns of Traditional Fishing in Bangsaphan Bay Prachuapkirikhan. Master Thesis. Srinakharinwirot University. 198 p. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-04-2024