ความผิดปกติของดอกเพศเมียที่มีการบานในฤดูและก่อนฤดูของลำไยพันธุ์อีดอและพวงทอง

ผู้แต่ง

  • วินัย วิริยะอลงกรณ์ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • วัชรินทร์ จันทวรรณ์ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

โพแทสเซียมคลอเรต, ยอดเกสรเพศเมีย , ก้านชูเกสรเพศเมีย, อุณหภูมิ

บทคัดย่อ

ลำไยเป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย ปัจจุบันเกษตรกรมีการใช้โพแทสเซียมคลอเรตสำหรับชักนำการออกดอกทั้งในและนอกฤดู ลำไยนอกฤดูช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคงขึ้น เนื่องจากมีความผันผวนของราคาน้อยกว่าลำไยในฤดู อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา พบว่า การผลิตนอกฤดูในช่วงก่อนฤดูในภาคเหนือ มักได้ผลผลิตต่ำกว่าลำไยในฤดู  ทั้งนี้อาจเนื่องจากมีการพัฒนาที่ผิดปรกติของดอกที่ออกก่อนฤดูและบานในช่วงอุณหภูมิต่ำสุดของฤดูหนาว ส่งผลให้ให้ติดผลน้อยลง  การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผิดปกติที่อาจเกิดกับดอกลำไยก่อนฤดู เปรียบเทียบกับดอกลำไยในฤดูของลำไยพันธุ์อีดอและพันธุ์พวงทอง  ดำเนินการศึกษา  ในแปลงลำไยของสาขาไม้ผล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้ให้โพแทสเซียมคลอเรตเพื่อชักนำการออกดอกก่อนฤดูเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2563 และในฤดูเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน  ผลการศึกษาพบว่าการออกดอกของพันธุ์พวงทอง (ในฤดู) มีค่าน้อยที่สุดเพียง 51 เปอร์เซ็นต์ ส่วนพันธุ์พวงทอง (ก่อนฤดู) พันธุ์อีดอทั้งในและนอกฤดูมีการออกดอกถึง 84-97 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะของช่อดอก ช่อดอกล้วนและช่อดอกปนใบ ขนาดของช่อดอก ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนพันธุ์อีดอ (ก่อนฤดู) มีความกว้างและความยาวของช่อดอกมากกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง และพันธุ์อีดอ (ในฤดู) มีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกเพศเมียกว้างมากที่สุด 6.07 มิลลิเมตร ยอดเกสรเพศเมียกว้างมากที่สุด คือ 2.60 มิลลิเมตร และความยาวของก้านชูเกสรเพศเมีย 5.60 มิลลิเมตร อย่างไรก็ตามพันธุ์พวงทอง (ก่อนฤดู) และพันธุ์อีดอ (ก่อนฤดู) ก้านเกสรเพศเมียมีลักษณะสั้นและงอ โดยเฉพาะพันธุ์อีดอมีความกว้างยอดเกสรเพศเมียน้อยมากคือ 1.08 มิลลิเมตร และพันธุ์พวงทองเท่ากับ 1.10 มิลลิเมตร ขณะที่สัดส่วนเพศดอกระหว่างเพศผู้ : เพศเมีย เท่ากับ 1 : 5.39-15.68 นอกจากนี้ยังพบว่าการออกดอกในฤดูของลำไยทั้งสองสายพันธุ์มีเปอร์เซ็นต์การติดผลมากกว่าการออกดอก ก่อนฤดู พิจารณาถึงระยะเวลาการให้โพแทสเซียมคลอเรต ต่อการออกดอกโดยเฉพาะก่อนฤดูหนาว ซึ่งจะมีผล   กระทบต่ออาการผิดปกติของเกสรเพศเมีย และมีผลต่อการติดผลได้

References

Huang, J.H., W.H. M.A. G.L. Ling, L.Y. Zhang, W.X. Wang, Z.J. Cai and S.X.E. Wer. 2010. Effect of low temperatures on sexual reproduction of Tainong 1 Mango (Mangifera indica L.). Scientia Horticulturae 126: 109-119.

Jantawan, W. 2016. Viability and Germination Ability of Pollens on Longan Fruit Settings. Master Thesis. Maejo University. 67 p. [in Thai]

Manochai, P. 2001. Subtropical Fruit. Chiang Mai: Department of Horticulture, Faculty of Agricultural Production, Maejo University. 173 p. [in Thai]

Manochai, P., Y. Khaosumain, C. Sritontip and S. Changieraja. 2004. Technology of Longan Production. Bangkok: . Kahakankaset J. 126 p. [in Thai]

Manochai, P., P. Sruamsiri, W. Wiriya-Alongkorn, D. Naphrom, M. Hegele and F.Bangerth. 2005. Year around off season flower induction in longan (Dimocarpus longan Lour) trees by KClO3 applications: potentials and problems. Scientia Horticulturae 104(4): 379-390.

Sritontip, C., P. Tiyayon, D. Naphrom, P. Sruamsiri, P. Manochai, M. Hegele and J.N. Wunsche. 2010. Effects of temperature and potassium chlorate on leaf photosynthesis and flowering in longan. Acta Horticulturae (ISHS) 863: 323-328.

Sritontip, C. 2013. Off-season Longan Production. Lampang: Rajamangala University of Technology Lanna Lampang. 124 p. [in Thai]

Sruamsiri, P., P. Manochai, A. Chattrakul D. Naphrom, R. Roygrong and K. Sringarm. 2003. Reducing Alternation and Production of Off-season Fruit in Lychee Longan and Mango. 231 p. In Research Report. Chiang Mai: Chiangmai University. [in Thai]

Suknvibul, N., A.W. Whiley, M.K. Smith, S.E. Hetherington and V. Vithanase. 1999. Effect of temperature on inflorescence and floral development in four mango (Mangifera indica L.) cultivars. Scientia Horticulturae 82: 67-84.

Suknvibul, N. and M. Thasanonta. 2004. Longan. Bangkok: Department of Agriculture. 96 p. [in Thai].

Suthon, W., P. Manochai, W. Wiriya-Alongkorn P. Sutigoolabud, S. Ussahatanonta and N. Jarassamrit. 2003. Study of litchi pollen viability. Agriculture Science Journal 33(4-5): 243-246. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-04-2024